Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

‘แล็บไบโอ-พลาส’วว.รับเทรนด์โลกเขียว  

           ห้องปฏิบัติการทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพ วว. ตอบดีมานด์เอกชนที่ต่อคิวรับบริการทดสอบบรรจุภัณฑ์สำหรับส่งออกตามกฎของประเทศคู่ค้าตามมาตรฐาน ISO 17088 ในราคาที่ถูกกว่า 50% ของการส่งตรวจต่างประเทศ เตรียมสร้างอาคารและเพิ่มบุคลากรในปี 2562 รองรับความต้องการใช้
          ห้องปฏิบัติการนี้ให้บริการตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานสากลไอเอสโอ 17088 ซึ่งมีเพียง 2 แห่งในประเทศไทย ให้บริการทั้งวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักและสารอันตราย ระดับการแตกเป็นส่วนของพลาสติกภายใต้กระบวนการหมักทางชีวภาพ ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดกิจกรรมการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ทั้งหมดใช้เวลาราว 6-7 เดือนขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวอย่าง ซึ่งสามารถนำผลไปขอการรับรองจาก DIN CERTCO ได้แบบครบวงจร
ตอบโจทย์เอกชนในราคา 50%
           นางสาวอัญชนา พัฒนสุพงษ์ รักษาการผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการทดสอบการย่อยสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์สำหรับการส่งออกมักประสบปัญหามาตรการกีดกันทางการค้า ถึงแม้ไทยเราจะส่งออกผักผลไม้หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่างๆ แต่หลายประเทศคู่ค้ามีกฎระเบียบให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และหากเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ก็ต้องมีตราสัญลักษณ์รับรอง
          หากเป็นพลาสติกหรือโฟมอาจต้องรอเวลากว่า 100 ปีจึงจะย่อยสลาย แต่สำหรับพลาสติกย่อยสลายได้หรือ Biodegradable Plastic นั้น ใช้เวลาราว 6 เดือนเท่านั้น ทั้งนี้ การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ในการส่งออกต้องมีการรับรองจากหน่วยงานในระดับสากลเพื่อความน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้ประกอบการต้องส่งตัวอย่างไปตรวจสอบยังต่างประเทศ ที่มีราคาสูงถึง 1 ล้านบาทต่อตัวอย่าง
วว. จึงจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบการสลายตัวได้ทางชีวภาพในปี 2553 โดยศึกษาและพัฒนางานด้านทดสอบวิเคราะห์ตามมาตรฐานสากลไอเอสโอ 17088 ซึ่งเป็นการทดสอบการสลายตัวได้ทางชีวภาพในสภาวะการหมักปุ๋ย ก่อนที่จะได้รับการยอมรับและขึ้นทะเบียนกับสถาบัน DIN CERTCO เยอรมนีในปี 2557 รวมถึงได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานเลขที่ 17025-2548 สาขาพลาสติกสลายตัว จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เป็นแห่งแรกของไทย
“ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการที่ห้องปฏิบัติการฯของเราได้ โดยมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการส่งตรวจในต่างประเทศถึงครึ่งหนึ่งหรือราว 5 แสนบาทต่อตัวอย่าง” อัญชนา กล่าวและว่า ทีม วว. ยังได้พัฒนากระบวนการทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพในเบื้องต้น ที่รวดเร็ว แม่นยำ และค่าใช้จ่ายน้อย สำหรับอาจารย์ นักวิจัย หรือผู้ประกอบการที่ต้องการทดสอบสมบัติการสลายตัวทางชีวภาพในเบื้องต้นของวัสดุ
ขยายบริการรับเทรนด์เขียว
“เรามีกำลังคนและพื้นที่จำกัด ทำให้การบริการตามมาตรฐานสากลไอเอสโอ 17088 ทำได้เพียงปีละประมาณ 10 ตัวอย่าง แต่ความต้องการของผู้ประกอบการมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และต้องเข้าคิวรอ ทำให้ผู้บริหาร วว. มองเห็นโอกาสและแนวโน้มโลกสีเขียว จึงมีแผนที่จะขยายห้องปฏิบัติการฯ ให้เป็นอาคารปฏิบัติการ” นางสาวอัญชนา กล่าว
อาคารปฏิบัติการทดสอบการย่อยสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ อยู่ระหว่างก่อสร้าง และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมให้บริการที่มากขึ้นในช่วงปี 2562 ซึ่งจะสามารถให้บริการทดสอบได้มากกว่าพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ อาทิ น้ำมันหล่อลื่น น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวอ้างว่า ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยบรรดาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยพร้อมอยู่แล้ว แต่ขาดบุคลากรที่จำเป็นต้องมีเข้ามาเสริมอีกเท่าตัว เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของภาคเอกชนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ตลาดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพมีมูลค่าสูงมาก ในประเทศไทยมีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้มากกว่า 50 บริษัท จึงเป็นโอกาสที่จะเข้ามาใช้บริการของเรา ด้วยสามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการได้กว่า 50% เพิ่มความสะดวกคล่องตัว ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีบริการทดสอบเบื้องต้นและงานบริการวิจัยอีกด้วย” นางสาวอัญชนา กล่าว
///// ล้อมกรอบ ////
ความสำคัญของการทดสอบ
การใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ อาทิ บรรจุภัณฑ์หลากหลายประเภทที่มีการใช้งานในปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการย่อยสลายก็ยังแตกต่างกัน ขึ้นกับวัตถุดิบในการผลิต ขนาดของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนลักษณะการใช้งาน
และที่สำคัญยังขึ้นกับพื้นที่ที่นำไปทิ้งหรือฝังกลบด้วย ถ้านำผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาใช้ประโยชน์แต่มีการจัดการหลังการใช้งานที่ไม่เหมาะสม ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจยังคงสภาพเป็นขยะพลาสติกที่ไม่ต่างจากผลิตภัณฑ์พลาสติกโดยทั่วไป
ดังนั้น การตรวจสอบการสลายตัวได้ทางชีวภาพในระดับภาคสนามหรือในห้องปฏิบัติการก็ตาม เป็นทางหนึ่งที่ประเมินการสลายตัวของผลิตภัณฑ์ใดๆในธรรมชาติได้ การที่จะได้มาซึ่งวิธีทดสอบที่ได้มาตรฐานสากลต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการเตรียมความพร้อม จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับงานวิจัยและผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ รวมไปถึงการได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพที่ได้มาตรฐานต่อไป

 

Bangkokbiznews 31.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร