Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สุดยอด นักวิจัย มช.ค้นพบ “เห็ดทรัฟเฟิล” ชนิดใหม่ของโลก รับนามพระราชทาน “ขาวเทพสุคนธ์”  

          วันนี้ (4 ก.ย. ) ที่ห้องประชุมพระยาศรีวิสารวาจา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ปฏิบัติการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดแถลงข่าว “ครั้งแรกในเมืองไทยกับการค้นพบเห็ดทรัฟเฟิลขาวเทพสุคนธ์ ชนิดใหม่ของโลก นามพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ซึ่งเป็นผลงานของคณะนักวิจัยแห่งห้องปฏิบัติการวิจัยการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดยศาสตราจารย์ ดร.สายสมร ลำยอง พร้อมด้วย ดร.นครินทร์ สุวรรณราช และ ดร.จตุรงค์ คำหล้า
         ทั้งนี้ การค้นพบดังกล่าวเริ่มจากในปี 2557 ทีมวิจัยได้พบเห็ดทรัฟเฟิลขาวครั้งแรกในประเทศไทย ที่บริเวณป่าในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเห็ดทรัฟเฟิลขาวชนิดใหม่ของโลก ชื่อว่า Tuber thailandicum (ทูเบอร์ไทยแลนดิคัม) ซึ่งทีมวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อสามัญของเห็ดดังกล่าวจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า เห็ดทรัฟเฟิลขาวเทพสุคนธ์ เมื่อเดือนมีนาคม 2560
          ขณะที่ในปี 2558 นักวิจัยกลุ่มนี้ได้พบเห็ดทรัฟเฟิลชนิดที่สองที่เป็นชนิดใหม่ของโลกเช่นกัน คือ Tuber Lannaense (ทูเบอร์ลานนาเอนเซ) และล่าสุดยังได้ค้นพบทรัฟเฟิลขาวอิตาเลียน หรือ Tuber magnatum (ทูเบอร์แม็กนาตัม) ซึ่งเป็นชนิดที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยเช่นเดียวกัน ถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่และหักล้างทฤษฎีที่เคยมีมา จากก่อนหน้านี้นักวิจัยเห็ดราทั่วโลกเชื่อมาว่าเห็ดทรัฟเฟิลจะพบได้ในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชียในเขตหนาวหรือเขตอบอุ่นเท่านั้น โดยการค้นพบครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พบในเขตร้อนอย่างพื้นที่ของประเทศไทย
          สำหรับเห็ดทรัฟเฟิลนั้นเป็นราที่จัดอยู่ในสกุล Tuber ซึ่งขึ้นอยู่ใต้ดินบริเวณรากไม้ของต้น เป็นเห็ดที่มีกลิ่นหอมและราคาแพงตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสนต่อกิโลกรัม แล้วแต่ชนิดของเห็ด กลิ่นยิ่งแรงจะยิ่งมีราคาแพง ขณะนี้ทางทีมนักวิจัยได้แปรรูปด้วยการสกัดกลิ่นของเห็ดมาเก็บไว้ในเกลือ และน้ำมันมะกอก เพื่อนำไปใช้ในการปรุงอาหาร นอกจากนี้ยังค้นพบวิธีการเพาะพันธุ์เห็ดดังกล่าวด้วยการนำสปอร์ของเห็ดไปเพาะกับรากต้นไม้ในระดับความสูงและอุณหภูมิที่เหมาะสม เตรียมต่อยอดทำฟาร์มเห็ดทรัฟเฟิลในประเทศไทย โดยหวังว่าหากสามารถผลิตเห็ดชนิดนี้ได้จริงจะสร้างมูลค่าเศรษฐกิจที่ก่อรายได้ให้จังหวัดเชียงใหม่ได้อย่างมหาศาล
ศาสตราจารย์ ดร.สายสมร ลำยอง กล่าวว่า การค้นพบเห็ดทรัฟเฟิลทั้ง 3 ชนิดในประเทศไทยครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง และเป็นการหักล้างทฤษฎีที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ที่เชื่อมาว่าเห็ดทรัฟเฟิลจะพบได้ในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชียในเขตหนาวหรือเขตอบอุ่นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นพบครั้งนี้ในประเทศไทยยังเป็นการค้นพบเห็ดทรัฟเฟิลชนิดใหม่ของโลกด้วย ซึ่งพบขึ้นอยู่ใต้ดินบริเวณรากไม้ของต้นกำลังเสือโคร่งในเขตป่าของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ขึ้นอยู่ในระดับสูงกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
          ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่อาจจะพบในจุดอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้เช่นกัน ทั้งนี้ จากการค้นพบครั้งนี้ทางทีมนักวิจัยเตรียมต่อยอดการศึกษาด้วยการพัฒนาทำฟาร์มเห็ดทรัฟเฟิลเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อไป

Manager online 4.09.17

 

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร