Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ผุด "แผ่นฟิล์มสมุนไพรพญายอ" รักษาแผลในช่องปากผู้ป่วยมะเร็ง  

          นักวิจัย มทร.ธัญบุรี เจ๋ง คิด "แผ่นฟิล์ม" สมุนไพร "พญายอ" รักษาแผลในช่องปาก ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ชี้ช่วยลดอาการอักเสบ ฆ่าเชื้อไวรัส และ “แผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดใบพญายอ" บรรเทาอาการทางระบบผิวหนัง ใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบัน
          ภญ.เอมอร ชัยประทีป อาจารย์วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย นักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า ยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษากลุ่มอาการระบบผิวหนังส่วนใหญ่เป็นครีมยาที่มีส่วนผสมสารสเตียรอยด์ โดยถ้าใช้เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดผลข้างเคียง ทำให้ผิวหนังบางผิวแพ้ง่าย หรือยาที่ใช้ไม่ได้ผลเพราะว่าเกิดอาการดื้อยา (Rebound effect) ตลอดจนถ้าใช้ในกลุ่มของเด็กเล็ก เด็กๆ อาจเผลอเข้าปาก เป็นอันตรายต่อเด็ก จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยมีสารสกัดจากใบพญายอขึ้นมา โดยสมุนไพรพญายอปลูกได้ง่าย แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยมีสรรพคุณทางยารักษาอาการอักเสบ ฆ่าเชื้อไวรัส อาการแพ้อาการคัน โดยแผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดใบพญายอ เพื่อบรรเทาอาการทางระบบผิวหนัง สามารถใช้รักษางูสวัด อาการผดผื่นแพ้คัน แมลงสัตว์กัดต่อย วิธีใช้นำแผ่นมาแปะบริเวณที่มีอาการ โดยเปลี่ยนแผ่นแปะทุก 4 ชั่วโมง จากการทดลองใช้ในเด็กอายุ 13 ปี ที่มีผดผื่นที่แก้ม ประมาณ 1 อาทิตย์ อาการจะทุเลาและหายไป ซึ่งอยู่ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคลด้วย
          ภญ.เอมอร กล่าวว่า ส่วนแผ่นฟิล์มยืดติดเยื่อบุเมือกเพื่อรักษาแผลในช่องปาก ได้แนวคิดมาจาก “วุ้นชุ่มปาก” โครงการในพระราชดำริรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านต้องการช่วยผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก จึงอยากวิจัยและพัฒนาช่วยผู้ป่วยมะเร็งที่มีแผลในช่องปากจากการฉายแสง และเคมีบำบัด โดยคนไข้มะเร็งร้อยละ 70 ที่ได้รับการฉายแสง จะเกิดแผลในช่องปาก ทำให้คนไข้ทรมาน กินไม่ได้ จากการศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลพญายอเป็นสมุนไพรชนิดเดียวที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หมวดยาพัฒนาจากสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณรักษาแผลในช่องปาก สำหรับครีมยาที่ใช้รักษาแผลในช่องปากส่วนใหญ่มีส่วนผสมสเตียรอยด์ ถ้าทาเป็นเวลานานทำให้ช่องปากติดเชื้อรา เป็นฝ้าขาวในช่องปาก จึงได้วิจัยและพัฒนาแผ่นฟิล์มยึดติดเยื่อบุเมือกเพื่อรักษาแผลในช่องปาก สามารถใช้รักษาแผลในช่องปาก ลักษณะเป็นแผ่นฟิล์ม โดยส่วนประกอบที่ใช้เป็นเกรดอาหารสามารถกลืนได้โดยไม่เป็นอันตราย แปะในช่องปาก 1 ชั่วโมง จะละลาย ปัจจุบันได้วิจัยและพัฒนารสมิ้น เพื่อกลบกลิ่นและความขมของพญายอ โดยในอนาคตพัฒนาเป็นรสช็อกโกแลต
ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถนำมาใช้แทนยาแผนปัจจุบัน เพื่อลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบัน และส่งเสริมการนำสมุนไพรไทยมาใช้ประโยชน์ โดย“แผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดใบพญายอ เพื่อบรรเทาอาการทางระบบผิวหนัง” การันตีด้วยรางวัลชนะเลิศ ประเภทวิทยาศาสตร์ การประกวดสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยี งานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 (9 th RMUTNC) ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี แผ่นฟิล์มยึดติดเยื่อบุเมือกเพื่อรักษาแผลในช่องปาก ได้รับรางวัลชมเชย จากการประกวด The 6th RMUTT Young Talent Inventor Awards ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี ผลิตภัณฑ์ทั้งสองอยู่ในขั้นดำเนินการจดสิทธิบัตร ยังไม่มีวางจำหน่าย ผู้ประกอบการที่นำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี หรือโทรได้ที่ ภญ.เอมอร 0-2592-1999 ต่อ 1112

Manager online 04.09.17

 

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร