Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไม่ธรรมดา...แก้ปัญหาสี “มะม่วงมหาชนก” ได้สารต้านมะเร็งเพิ่มขึ้นอีก  

          นักวิจัย ม.นเรศวรปรับปรุงสีเปลือก “มะม่วงมหาชนก” ให้แดงโดนใจตลาด แล้วยังมีผลพลอยได้เป็น “แบตาแคโรทีนอยด์” สารต้านมะเร็งเพิ่มขึ้นอีก แต่เป็นผลที่พบได้เฉพาะมะม่วงพันธุ์นี้เท่านั้น
          จากค่านิยมว่ามะม่วงพันธุ์มหาชนกนั้นต้องมีลูกสีแดง หากไม่ใช่สีแดงไม่ถือว่าเป็นมะม่วงมหาชนก ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) จังหวัดพิษณุโลก จึงวิจัยเพื่อปรับปรุงรูปลักษณ์ดังกล่าว ซึ่งทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์มีโอกาสได้เยี่ยมชมระหว่างเข้าร่วมเวที 'ความมั่นคงด้านสุขภาพ 4.0' ที่จักขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ มน.
“แรกเริ่มนั้นต้องการวิจัยเพียงเพื่อทำให้เปลือกของมะม่วงมหาชนนั้นเป็นสีแดง เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของมะม่วงให้แก่เกษตรกร เพราะจากปัญหาที่ว่าความแดงของเปลือกมะม่วงชนิดนี้ ขึ้นอยู่กับแสงแดดที่โดนมะม่วงในช่วงออกผล หากผลใดไม่โดนแสงเมื่อผลสุข มะม่วงจะเป็นสีเหลือง และขายไม่ได้ราคา เนื่องจากผู้บริโภคนั้นติดภาพว่า มะม่วงมหาชนกต้องเปลือกแดง” ผศ.ดร.พีระศักดิ์ระบุ
ผศ.ดร.พีระศักดิ์และทีมใช้เวลาประมาณ 3 ปีวิจัยปรับปรุงสีเปลือกมะม่วงมหาชนก โดยใช้ทั้งวิธีเปิดไฟ LED ตัดแต่งกิ่งเพื่อลดใบที่จะมาบังผลมะม่วง แต่สุดท้ายมาสำเร็จที่การใช้แสงอาทิตย์ ร่วมกับการใช้ “เมทิลจัสโมเนต” (Methyl jasmonate) ผสมน้ำในอัตราส่วน 80 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ต่อน้ำ 1 ลิตร แล้วฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มของต้นมะม่วงในอัตรา 5 ลิตรต่อต้น เมื่อถึงระยะเวลา 90 วันหลังจากดอกบาน
ผลของการฉีดพ่นเมทิลจัสโมเนตที่ผลมะม่วงมหาชนกนั้น ทำให้เปลือกของมะม่วง มีสารแอนโธไซยานินเพิ่มขึ้น 1.31 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของน้ำหนักสด และเมทิลจัสโมเนตนี้ยังไปเพิ่มเบตาแคโรทีนอยด์ในเนื้อมะม่วงเท่ากับ 1.43 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของน้ำหนักสด เมื่อเปรียบเทียบกับมะม่วงมหาชนกที่ไม่ได้ฉีดพ่น ซึ่งเบตาแคโรทีนอยด์นี้เป็นสารที่ช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งในมนุษย์
“เมทิลจัสโมเนตนั้นช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในส่วนของแอนโธไซยานินได้เฉพาะในมะม่วงมหาชนกเท่านั้น เนื่องจากในมะม่วงสายพันธุ์อื่นไม่มีสารแอนโธไซยานินเป็นสารพื้นฐานเหมือนในมะม่วงมหาชนก” ผศ.ดร.พีระศักดิ์แจกแจง
หลังจากนี้ ผศ. ดร. พีระศักดิ์ จะมีการจัดอบรมในปี 2561 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยเพิ่มพื้นที่สีแดงบนพื้นผิวเปลือกมะม่วงมหาชนกให้แก่ชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้นำไปทดลองใช้ในพื้นที่สวนของตัวเอง

Manager online 06.09.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร