Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สกว.จับมือจุฬาฯตั้ง “ศูนย์ความเสี่ยงอาหาร”  

          สกว. ผนึกกำลังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัย “ศูนย์ความเสี่ยงอาหาร” มุ่งเน้นบทบาทการประเมินความเสี่ยง ให้ข้อเสนอแนะด้านการจัดการความเสี่ยงให้แก่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสื่อสารความเสี่ยง และเชื่อมโยงความรู้ทั้งในส่วนวิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม
          ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกอง    ทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงหน่วยปฏิบัติการวิจัย “ศูนย์ความเสี่ยงอาหาร” เมื่อ 14 กันยายน 2560 ระหว่าง สกว. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ. น.สพ. ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นหัวหน้าหน่วยฯ
          ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวถึงทิศทางในการสนับสนุนการวิจัยของ สกว. ว่า สกว.เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นการวิจัยเรื่อง “ความปลอดภัยอาหาร” จึงได้ร่วมหารือกับคณะนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัย “ศูนย์ความเสี่ยงอาหาร” ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งที่ผ่านมา สกว. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยในประเด็นความเสี่ยง “ด้านอาหารและน้ำ” มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญในการสร้างผลงานวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่หลากหลาย เป็นองค์กรที่มีศักยภาพและพร้อมในทุกด้าน และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การขยายผลให้มหาวิทยาลัยได้เป็นแหล่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยอาหาร เพื่อสนับสนุนการวางนโยบาย การออกกฎระเบียบให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประสานภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งในส่วนวิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัย และ สกว. ต่อไป
การดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติการวิจัย “ศูนย์ความเสี่ยงอาหาร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สนับสนุนให้มีการพัฒนางานวิจัยด้านความเสี่ยงอาหาร ที่มุ่งเน้นบทบาทการประเมินความเสี่ยง และให้ข้อเสนอแนะด้านการจัดการความเสี่ยงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภค และการสื่อสารความเสี่ยงแก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง (2) สนับสนุนให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางทางวิชาการ รับผิดชอบ และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านความเสี่ยงอาหาร รวมทั้งเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการด้านความเสี่ยงและความปลอดภัยอาหารระดับประเทศและภูมิภาค (3) สนับสนุนการพัฒนานักวิจัย และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงอาหาร เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความเสี่ยงอาหารให้กับผู้เกี่ยวข้อง (4) สนับสนุนให้มีกิจกรรมการสื่อสารด้านความเสี่ยงอาหารในรูปแบบที่เหมาะสมและถูกต้องไปสู่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมถึงการประสานภาคีเครือข่ายความร่วมมือ และเชื่อมโยงความรู้ด้านความเสี่ยงอาหารทั้งในส่วนวิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม
เป้าหมายของบันทึกข้อตกลงนี้เพื่อให้มีกลไกและการสนับสนุนการประสานงานระหว่างหน่วยงาน องค์กร และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการด้านความเสี่ยงอาหาร และมีวิธีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และกำหนดนโยบายของประเทศไทย โดย สกว.และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะให้การสนับสนุนงบประมาณการวิจัยให้แก่หน่วยปฏิบัติการวิจัย “ศูนย์ความเสี่ยงอาหาร” เป็นระยะเวลา 3 ปี ในวงเงินรวม 30 ล้านบาท ภายใต้การพัฒนาโจทย์วิจัยและความร่วมมือทางวิชาการที่สอดคล้องกับกรอบภารกิจของหน่วยปฏิบัติการวิจัย “ศูนย์ความเสี่ยงอาหาร” ตลอดจนการพัฒนาโจทย์วิจัยเพิ่มเติมตามสถานการณ์และความต้องการของประเทศ อีกทั้งองค์ความรู้ และขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

 

ผู้จัดการออนไลน์ 14.09.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร