Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยเผยแพร่เทคนิคเพาะเห็ดเพิ่มมูลค่าหลังทำนา  

          นักวิจัยช่วยเกษตรกรหนองปรือ จ.ขอนแก่น หลังฤดูทำนา สร้างรายได้เสริมจากการเพาะเห็ด เผย 3 เทคนิคเพาะเห็ดให้ได้ผลผลิตดี ทั้งการเพาะจากเศษวัสดุไร่นา ทั้งการเพาะในถุง และการเหนี่ยวนำให้เห็ดเกิดเองตามธรรมชาติ นอกจากสร้างงานแล้ว ยังช่วยเกษตรกรจัดการที่ดินทำกิน
          ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ติดตามคณะจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เศษวัสดุในไร่นาเพื่อปรับปรุงบำรุงดินโดยผ่านกระบวนการเพาะเห็ดและเหนี่ยวนำให้เกิดเห็ดในธรรมชาติ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นหลังงานวิจัยที่ช่วยตอบโจทย์ความต้องการของชาวบ้านในชุมชน
"โครงการวิจัยนี้เกิดจากการที่ชาวบ้านในอำเภอหนองเรือต้องการจะประกอบอาชีพเสริมในช่วงเวลาว่างหลังฤดูกาลเพาะปลูก เพื่อเพิ่มพูนรายได้ อีกทั้งชาวบ้านยังมีความสนใจในเรื่องการจัดการดินและเพาะเห็ด เนื่องจากช่วงเวลาหลังจากการเพาะปลูก ชาวบ้านบางคนมีการเพาะเห็ดขอนและเห็ดนางฟ้าขายแต่ยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นทางทีมวิจัยจึงได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ พบว่าเกษตรกรนั้นต้องการความรู้ด้านการจัดการดินในพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูกและการจัดการเศษวัสดุในไร่นาอย่างพวก ฟางข้าว อ้อย มันสำปะหลัง" ดร.อรทัย ศุกรียพงศ์ จากกรมพัฒนาที่ดิน กล่าว
เศษวัสดุจากการเกษตรเหล่านี้มีธาตุอาหารที่เป็นรูปอินทรีย์ อย่างไนโตรเจนในรูปโปรตีนจากพืช ซึ่งเป็นสารอาหารที่เห็ดนั้นต้องการเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งทางทีมวิจัยก็ได้นำองค์ความรู้จากการศึกษาคุณลักษณะของเศษวัสดุไร่นาพร้อมเรื่องธาตุอาหารที่เห็ดต้องการและการเพาะเห็ดมาเผยแพร่ให้แก่ชุมชน โดยใช้ชุมชนตำบลหนองเรือซึ่งต้องการเพิ่มมูลค่าของเศษวัสดุไร่นาและสร้างรายได้จากการปลูกเห็ดเป็นชุมชนต้นแบบ
ในการเผยแพร่องค์ความรู้ในการเพาะเห็ดนั้น แยกวิธีการเพาะออกเป็นสามวิธีใหญ่ๆ คือ การเพาะเห็ดฟางแบบบล็อกจากเศษวัสดุไร่นา การเพาะเห็ดในถุงและเลี้ยงในโรงเรือน และการเพาะเห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า และเห็ดตีนแรด โดยใช้กระบวนการเหนี่ยวนำให้เห็ดเกิดขึ้นเองในธรรมชาติ
ตัวอย่างการเพาะเห็ดฟางแบบบล็อกจากเศษวัสดุไร่นา เช่น ใช้เปลือกมันสำปะหลังเพาะเห็ดฟาง โดยการนำเปลือกมันสำปะหลังไปใส่ลงในพิมพ์กองละประมาณ 1 ปี๊บ แล้วราดน้ำให้แน่น จากนั้นเอาออกจากพิมพ์ นำมูลสัตว์แห้งหว่านลงพื้นดินหรือบนหลังกองมันสำปะหลังแล้วรดน้ำจนชุ่ม พรวนดินระหว่างกอง จากนั้นนำเห็ดที่อายุพอดีมาขยี้ให้ละเอียด หว่านลงไปบนดินโดยเน้นโรยบนพื้นดินมากกว่าโรยบนกองมันสำปะหลัง หลังจากนั้นรดน้ำและอาหารเสริมเห็ดอีกครั้ง ขั้นตอนสุดท้ายทำหลังคาและปิดคลุมด้วยพลาสติกใสและฟางเพื่อพรางแสง
ส่วนการเพาะเห็ดในถุงและเลี้ยงในโรงเรือนนั้น ใช้สำหรับเพาะเห็ดขอน เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า โดยวิธีการเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดในโรงเรือนทั่วๆ ไป และการเพาะเห็ดโดยใช้กระบวนการเหนี่ยวนำให้เห็ดเกิดขึ้นเองในธรรมชาติ ในการเพาะเห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า และเห็ดตีนแรด ซึ่งไม่สามารถเพาะในถุงและเลี้ยงในโรงเรือนได้
“สำหรับการเหนี่ยวนำให้เกิดเห็ดในธรรมชาตินั้น สามารถทำได้โดยการ นำสปอร์ของเห็ดนั้นมาปั่นและใส่น้ำ จากนั้นเอาไปฉีดพ่นที่ต้นกล้าของต้นยางนาอายุ 8 เดือน เพียง 1 ครั้งในกรณีที่ต้องการเหนี่ยวนำให้เกิดเห็ดเผาะ แต่ถ้าเป็นเห็ดตีนแรดใช้วิธีแยกเชื้อบริสุทธิ์ลงวุ้นอาหารและนำไปใส่ในเม็ดข้าวฟ่างและขี้เลื่อย แล้วนำลงดินในแปลงผัก ส่วนเห็ดตับเต่าใช้วิธีเอาตัวดอกมาผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ต้นกล้าของต้นแค” รองศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วินิจสานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อธิบายขั้นตอนการเหนี่ยวนำเห็ดให้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
จากการสอบถามชาวบ้านบางส่วนที่ได้รับถ่ายทอดงานวิจัยนี้ พบว่าสามารถทำให้ชาวบ้านมีรายได้เข้ามาเพียงพอที่จะเลี้ยงชีพและยังสามารถส่งขายไปตามตลาด โรงงานหรือร้านอาหารได้อีกด้วย
สำหรับผู้สนใจการเพาะเห็ดถุง ติดตามได้ที่
https://www.ifarm.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=115%3Amushroom-cultivation

ผู้จัดการออนไลน์ 14.09.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร