Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

‘แป้งมันไซยาไนด์ต่ำ’ จากแล็บสู่ตลาดเบเกอรี  

          ซาว่า (SAVA) แป้งมันอเนกประสงค์ไร้สารก่อภูมิแพ้ ปริมาณไซยาไนด์ต่ำและเส้นใยสูง ผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเริ่มต้นจากแล็บไบโอเทคร่วมกับเกษตรศาสตร์ หลังจากค้นคว้าวิจัยนาน 5 ปีจึงส่งต่อองค์ความรู้ให้ "ชอไชยวัฒน์” โรงงานแป้งมันสำปะหลังนำไปพัฒนาต่อยอด
          สู่่ผลิตภัณฑ์สู่ตลาด หวังทดแทนแป้งสาลี 30-100% ในผลิตภัณฑ์เบเกอรีและขนมขบเคี้ยวต่างๆ
“การจะนำไปใช้ทดแทนแป้งสาลีในสูตรเบเกอรีนั้นจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสม จึงมีความร่วมมือกับเชฟทำการพัฒนา 12 สูตรนำร่อง อาทิ เค้ก บราวนี่ วาฟเฟิล ฯลฯ เป็นตัวอย่างให้กับผู้บริโภคผ่านเฟซบุ๊ค savaflour และเว็บไซต์ http://savaflour.com ทั้งยังเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในแง่การให้ความรู้เรื่องฟลาวแป้งมัน สูตรอาหารและเป็นช่องทางการซื้อขายอีกด้วย” พันธวุฒ กาญจนประภาส ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท ชอไชยวัฒน์อุตสาหกรรม จำกัด กล่าว
เพิ่มค่ามันสำปะหลัง
โดยทั่วไปแล้ว แป้งมันปลอดกลูเตนหรือสารก่อภูมิแพ้มีคำเฉพาะเรียกว่า ฟลาวมันสำปะหลัง ทั้งยังมีปริมาณเส้นใยและโปรตีนสูงกว่าแป้งมันสําปะหลัง ผลิตจากหัวมันชนิดหวานซึ่งมีไซยาไนด์ต่ำ แต่เป็นพันธุ์ที่ไม่นิยมปลูกและมีราคาแพง ส่งผลให้ราคาฟลาวแป้งมันสูงตามไปด้วย
ขณะที่เทรนด์รักสุขภาพและอาหารปลอดภัย ส่งผลให้ความต้องการฟลาวแป้งมันเพิ่มขึ้น ทางศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค สวทช.) จึงร่วมกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (KAPI) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาวิจัยการใช้มันสำปะหลังชนิดขมที่มีไซยาไนด์สูงอาจเป็นพิษต่อผู้บริโภค ซึ่งปลูกกันทั่วไปมาเป็นวัตถุดิบ เพื่อให้ราคาฟลาวแป้งถูกลง และเพิ่มมูลค่าให้กับมันสำปะหลังชนิดขม
สุนีย์ โชตินีรนาท นักวิจัยห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีแปรรูปมันสำปะหลังและแป้ง ศูนย์ไบโอเทค กล่าวว่า ทีมงานได้ศึกษาวิจัยกว่า 5 ปีกระทั่งประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการผลิตฟลาวมันสำปะหลังในระดับอุตสาหกรรม โดยใช้เครื่องจักรกลที่ประยุกต์มาจากการผลิตแป้งมัน จึงช่วยลดต้นทุนการผลิตและให้ปริมาณที่มากเพียงพอต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ปริมาณไซยาไนด์ในฟลาวแป้งมันอยู่ในระดับต่ำกว่า 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักแห้ง ตามที่องค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (WHO/FAO) ระบุไว้ในมาตรฐานโคเด็กซ์ ต่อมาภาคเอกชนสนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว และได้ร่วมวิจัยขยายสเกลการผลิตในระดับอุตสาหกรรม รวมถึงการพัฒนาสูตรเบเกอรีที่ใช้ฟลาวแป้งมันทดแทนแป้งสาลีอีกด้วย
พันธวุฒ กาญจนประภาส ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา ชอไชยวัฒน์อุตสาหกรรม กล่าวว่า บริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับแป้งมันนานกว่า 60 ปี สังเกตเห็นการเติบโตของอุตสาหกรรมเบเกอรีเฉลี่ยปีละกว่า 6.5% ขณะที่ไทยต้องนำเข้าฟลาวสาลีเพื่อนำมาทำเบเกอรี ประกอบกับปัญหาการแพ้ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี (แพ้กลูเตน) มีเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสที่จะผลักดันให้ฟลาวแป้งมันเป็นที่รู้จัก เพื่อลดการนำเข้าฟลาวแป้งสาลี
ซาว่า (SAVA) แป้งมันอเนกประสงค์ไร้กลูเตน เจ้าแรกในประเทศไทยจึงเกิดขึ้น นอกจากจะผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรมแล้ว ยังสามารถควบคุมความหนืดให้มีคุณสมบัติที่สม่ำเสมอได้แม้ว่าวัตถุดิบหัวมันเริ่มต้นจะมาจากพันธุ์ที่แตกต่างกัน
นวัตกรรมไทยบุกตลาดโลก
“กลุ่มลูกค้านำร่องของแป้งซาว่าคือ คุณแม่ที่มีลูกแพ้แป้งสาลี ต่อไปจะมุ่งกลุ่มคนรักสุขภาพ โดยเริ่มติดต่อและส่งตัวอย่างให้ร้านสุขภาพต่างๆ อย่างไรก็ตาม ลูกค้าของเรายังเป็นกลุ่มเฉพาะที่มีขนาดเล็ก จึงต้องมองตลาดต่างประเทศควบคู่ไปด้วย โดยส่งตัวอย่างสินค้าไปทดลองตลาดในหลายประเทศ และยังอยู่ระหว่างเจรจากับเยอรมนีที่ให้ความสนใจมาก"
ปัจจุบันโรงงานสามารถผลิตแป้งซาว่า 16 ตันต่อเดือน มีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตให้ได้ 100 ตันต่อวัน เพื่อตอบความต้องการของตลาด โดยราคาแป้งซาว่าประมาณ 200 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งถูกกว่าแป้งปราศจากกลูเตนในท้องตลาดที่ราคา 250-500 บาทต่อกิโลกรัม
"หากมีออเดอร์จากหลายประเทศก็จะสามารถสร้างยอดขายจำนวนมากได้ สอดรับกับการขยายโรงงานผลิตไปที่นครราชสีมาที่จะผลิตทั้งแป้งมันและฟลาวแป้งมัน” พันธวุฒ กล่าวและว่า ฟลาวแป้งมันนับเป็นนวัตกรรมไทยที่เพิ่มมูลค่าให้มันสำปะหลัง ลดปัญหาหัวมันล้นตลาดและราคาตกต่ำ รวมถึงเป็นการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบของไทยอีกด้วย

Bangkokbiznews 19.09.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร