Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เซนเซอร์ตรวจจับก๊าซต้นทุนต่ำ เพื่อความปลอดภัยในโรงงาน  

          นักวิจัยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หัวใสคิดต่อยอดงานวิจัยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซให้มีต้นทุนต่ำ ประหยัดพลังงานและพกพาสะดวกเพื่อตอบสนองเรื่องความปลอดภัยของพนักงานในโรงงาน
          นักวิจัยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คิดเทคโนโลยีการผลิตเซนเซอร์ตรวจจับก๊าวชนิดฟิล์มบางสารกึ่งตัวนำโลหะออกไซด์ (Metal oxide semi-conductor gas sensor : MOS gas sensor )ให้มีต้นทุนต่ำ ขนาดเล็กลงและประหยัดพลังงานภายใต้ชื่อ “GASSET” โดยเซนเซอร์มอส (MOS) นี้เป็นชนิดเซนเซอร์ถูกนำมาผลิตเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซมากที่สุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและมีการตอบสนองต่อก๊าซที่ดี
"ส่วนใหญ่แล้วเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซประเภทนี้จะถูกนำมาใช้ในเรื่องการควบคุมคุณภาพอากาศและหาสิ่งแปลกปลอมในอากาศ แต่มีข้อด้อยเรื่องความจำเพาะในการคัดแยกชนิดของก๊าซและใช้พลังงานสูง เนื่องจากในปัจจุบันชิปที่ใช้ในการตรวจวัดของเซนเซอร์ชนิดนี้มีขนาดใหญ่ และต้องการความร้อนในอุณหภูมิสูงที่ประมาณ 300 – 400 องศาขึ้นไปเพื่อประมวลผล ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการสิ้นเปลืองพลังงาน” ดร.คทา จารุวงศ์รังสี นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค หน่วยวิจัยอุปกรณ์และระบบอัจฉริยะ สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บอกทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์
เดิมนั้นทางห้องปฏิบัติการวิจัยนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาคนี้ ได้วิจัยเกี่ยวกับตัววัสดุรับรู้หรือเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซ ซึ่งเวลาทดสอบนั้นต้องนำไปวางไว้บนเครื่องทำความร้อนหรือฮีตเตอร์ขนาดใหญ่ ทำให้ลำบากต่อการนำไปทดสอบภายนอกห้องปฏิบัติการ ประกอบกับข้อจำกัดของเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซแบบมอสที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ทางทีมวิจัยจึงได้สร้างชิปของเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซชนิดฟิล์มบางสารกึ่งตัวนำโลหะออกไซด์ให้มีขนาดเล็กลง และใช้พลังงานต่ำเทียบเคียงเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซชนิดเมมส์ (Microelectromechanical systems gas sensor: MEMS gas sensor) ที่ใช้พลังงานต่ำแต่มีข้อจำจัดเรื่องการผลิตและเงินลงทุนที่สูง
สำหรับเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซที่ทีมวิจัยเนคเทคพัฒนาขึ้นมานี้ ใช้พลังงานเพียง 50 – 100 มิลลิวัตต์แต่มีประสิทธิภาพในการตรวจวัดก๊าซเทียบเคียงกับสินค้าประเภทเดียวกันที่ขายในท้องตลาดที่ใช้พลังงานประมาณ 200 – 300 มิลลิวัตต์ (คิดการใช้พลังงานเป็นประมาณ 1 ใน 3) นอกจากเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซชนิดมอสนี้ จะมีขนาดเล็กและประหยัดพลังงานแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ร่วมงานกับเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซชนิดอื่น เพื่อช่วยในการประมวลผลชนิดของก๊าซได้โดยไม่ต้องใช้ความซับซ้อนในการเดินระบบร่วม
“เครื่องตรวจวัดก๊าซที่มีเซนเซอร์ตรวจจับแก๊สชนิดนี้ติดตั้งไว้ จะมีการทำงานหลักๆ โดยเริ่มจากการตรวจวัดสภาพแวดล้อมอากาศแล้วจดจำเป็นค่าพื้นฐาน (Baseline) ซึ่งเป็นค่าของอากาศที่ยังไม่มีก๊าซปนเปื้อนเข้ามา เมื่อมีก๊าซจำพวกสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) สารในกลุ่มไฮโดรคาร์บอน และก๊าซพิษอย่างไนโตรเจนไดออกไซด์ ไนโตรเจนซัลไฟด์ แอมโมเนียและคาร์บอนมอนออกไซด์เป็นต้น ปนเปื้อนในอากาศจนมีความเข้มข้นถึงระดับที่ตั้งแจ้งเตือนไว้ ตัวเครื่องจะส่งเสียงดังออกมา” ดร.คทา กล่าวเสริม
อย่างไรก็ตามเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซจะไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ก๊าซที่ตรวจจับได้นั้นเป็นชนิดใดบ้าง แต่สามารถตั้งค่าเซนเซอร์ให้ตรวจจับความเข้มข้นของก๊าซที่ต้องการตรวจจับได้ เช่น หากนำไปให้พนักงานในโรงงานที่ใช้ก๊าซแอมโนเนียในการเดินระบบทำงานทดลองใช้ ก็ต้องตั้งค่าเซนเซอร์ให้วัดค่าความเข้มข้นของก๊าซแอมโมเนีย แต่ถ้าในกรณีที่มีก๊าซตัวอื่นรั่วไหลออกมานอกจากก๊าซแอมโมเนีย เครื่องตรวจวัดก๊าซก็สามารถแจ้งเตือนได้เช่นกัน
นอกจากนี้ทางทีมวิจัยยังได้ผลิตอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณก๊าซแบบต่อพวงแสดงผลบนสมาร์ทโฟน ซึ่งตัวอุปกรณ์นี้จะใช้พลังงานจากแบตเตอร์รีของโทรศัพท์มือถือและแสดงผลเป็นค่าร้อยละของความเข้มข้นของก๊าซที่ต้องการตรวจวัดเทียบกับอากาศผ่านทางหน้าจอมือถือ
"สำหรับเวลาที่ใช้ในการวิจัยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซนี้ ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 2 ปี และส่วนของต้นทุนในการผลิตเซนเซอร์รวมถึงตัวอุปกรณ์จะอยู่ประมาณ 1000 – 2000บาทต่อชิ้นซึ่งเทียบเท่าค่าแรงของคนงานในโรงงานประมาณ 1-2 คนต่อวัน ซึ่งคิดดูแล้วก็คุ้มค่าพอที่จะใช้ปกป้องชีวิตพวกเขาจากก๊าซพิษที่รั่วไหลในโรงงาน" ดร.คฑาบอกเล่าผ่านทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์
ในตอนนี้มีการทดลองเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซนี้เฉพาะภายในห้องปฏิบัติการเท่านั้น และยังไม่ได้นำไปทดสอบหรือจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ซึ่งผู้สนใจที่อยากรู้จักเทคโนโลยีมากขึ้นสามารถแวะไปเยี่ยมชมได้ภายงานมหกรรม Thai Tech Expo 2017 ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างวันที่ 20 – 24 กันยายน 2560 ณ ฮอลล์ 105 – 106 ไบเทค บางนา เวลา 9:00 – 19:00 น.

 

Manager online 20.09.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร