Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ก.วิทย์ฯ โชว์ 3 นวัตกรรมพันธุ์ไทยแท้ โดรนพ่นสารเคมี-แขนกล-โรงเรือนอัจฉริยะ  

          กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นำคณะสื่อบุกพิสูจน์ความสำเร็จงานพัฒนานวัตกรรม “โดรนพ่นสารเคมีการเกษตรความแม่ยำสูง-ระบบควบคุมโรงเรือนการเกษตรอัจฉริยะ” ตอบโจทย์การเกษตรสมัยใหม่ พร้อมโชว์ “หุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรม” สัญชาติไทยแท้ ราคาประหยัดแต่คุณภาพระดับโลก ผลงานความร่วมมือระหว่าง “อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” กับภาคเอกชน ย้ำเป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว
          ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ปัจจุบันการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นกุญแจสำคัญที่จะสามารถนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้ประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วน เกิดความตื่นตัวต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตรกรรมในระดับประเทศ โดย กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ ดำเนินการจัดตั้ง “อุทยานวิทยาศาสตร์” ในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นฐานสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ทั้งด้านกำลังคน การวิจัยพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ไปสู่ระดับท้องถิ่น โดยปัจจุบันมีผลดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จมากมาย
          ดังนั้น เพื่อเป็นติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค รวมทั้งเผยแพร่ผลงานความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาและประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้จัดโครงการสื่อสัญจรโดยนำสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมและทำข่าว “โดรนอัจฉริยะเพื่อการเกษตร ลดสารพิษสู่มนุษย์” และและชมความก้าวหน้าของ “หุ่นยนต์แขนกล สัญชาติไทย” รวมทั้งนวัตกรรมอื่นๆ ณ “อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2560 นี้
สำหรับ “อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” นั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาค 4 แห่ง ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดำเนินการจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นฐานสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาผลการดำเนินงานมีความคืบหน้าอย่างมาก โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ จะมีการนำสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมผลงาน 3 โครงการสำคัญ คือ
โครงการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตรสมรรถนะสูง ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ บริษัท ไลลา เอวิเอชั่น จำกัด ในการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน มาใช้งานด้านการเกษตร โดยอาศัยการออกแบบทางวิศวกรรมของโครงสร้างลำตัวเครื่อง ให้สามารถพ่นของเหลวไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง ปุ๋ย หรือสารเคมีทางการเกษตร โดยแบกน้ำหนักได้ถึง 15 กิโลกรัม ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าคนถึง 40 เท่า สามารถทำงานได้ถึง 15-20 ไร่ต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการควบคุมตำแหน่งความสูงที่ถูกต้องแม่นยำในการฉีกพ่น ช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสหรือลดผลกระทบจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ลดต้นทุนให้เกษตรกร ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Thailand 4.0 เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming)
ระบบควบคุมโรงเรือนอัจฉริยะผ่านสมาร์ทโฟน หรือ Smart think เป็นโครงการพัฒนาร่วมกับ บริษัท สมาร์ทติ๊งคอนโทล (Smart Think Control) จำกัด ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมสำหรับควบคุมโรงเรือนและสวนการเกษตรอัจฉริยะ มีความสามารถในการควบคุมและตัดสินใจในการสั่งงานแบบอัตโนมัติแทนมนุษย์ หรือให้ผู้ใช้งานสมารถสั่งงานจากทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ภายในโรงเรือนและสวนยังจะมีเช็นเซอร์ที่คอยทํางานตรวจสอบค่าต่างๆ เช่น ความเป็นกรด-ด่าง วัดค่าปุ๋ย อุณภูมิ เพื่อนำข้อมูลกลับมาคำนวณและสั่งการทำงานตามระบบที่ตั้งไว้ให้ทำงานได้ตามความต้องการ รวมถึงมีระบบวางแผนการปลูก วางแผนการตลาด ผ่านแอปพลิเคชั่น ซึ่งทั้งหมดจะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนจากค่าปุ๋ย ค่าน้ำ รวมถึงเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตและการตลาดได้อย่างสอดคล้องไปพร้อมๆกัน
“หุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรม สัญชาติไทย” เป็นความร่วมมือกับ บริษัท RST ROBOTICS จำกัด ในการพัฒนาหุ่นยนต์แขนกล จนสามารถยกระดับไปสู่การผลิตโดยการใช้องค์ความรู้ เครื่องมืออุปกรณ์และแรงงานที่อยู่ในพื้นที่ พร้อมทั้งการนำเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมอิเลคทรอนิคส์ และวิศวกรรมซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับสมรรถนะของหุ่นยนต์ให้มีความสามารถเทียบเท่ากับหุ่นยนต์นำเข้าจากต่างประเทศ แต่มีราคาไม่แพง พร้อมกันนี้ยังมีฟังชั่นการใช้งานเป็นภาษาไทย ใช้งานง่าย ซึ่งตอบโจทย์แก่ผู้ประกอบการไทยได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันมีหุ่นยนต์แขนกล 3 ประเภท คือ 1.หุ่นยนต์แขนกลประเภท Welding (เชื่อม) 2.หุ่นยนต์แขนกลประเภท Pallet (ยกวาง) และ 3.หุ่นยนต์แขนกลประเภท Painting (พ่นสี) ซึ่งถือเป็นการพัฒนาทักษะแรงงานขั้นสูงในการช่วยเหลือแรงงานมนุษย์ เตรียมการเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0
“ทั้ง 3 โครงการ นับเป็นผลงานความก้าวหน้าที่สำคัญของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นตัวอย่างได้ดีถึงการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำพาประเทศชาติให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนในอนาคต” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าว

 

Manager online 27.09.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร