Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“ดอลลี่” แกะโคลนตัวแรกไม่ได้ "แก่ก่อนวัย" ก่อนถูกฉีดยาตาย  

          ข่าวนี้อาจทำให้การตายของ “ดอลลี่” แกะที่เกิดจากการโคลนตัวแรกของโลกกลายเป็นความไม่ชอบธรรม เพราะนักวิทยาศาสตร์เพิ่งออกมาเผยว่า ความกังวลเรื่องแกะโคลนนิ่งจะทุกข์ทรมานจากการ “แก่ก่อนวัย” ตามอายุต้นแบบที่นำมาโคลนนั้นเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากโรคข้อกระดูกอักเสบที่พบในแกะดอลลี่นั้นเป็นโรคปกติ
          ย้อนกลับไปเมื่อปี 2003 นั้น “แกะดอลลี่” (Dolly the sheep) แกะโคลนนิ่งตัวแรกของโลกถูกวางยาให้หลับไปชั่วนิรันดร์ ก่อนที่จะมีโอกาสได้ฉลองวันเกิดปีที่ 7 เพราะได้รับการวินิจฉัยว่า เธอจะต้องทนทุกข์ต่อโรคข้อกระดูกอักเสบ (osteoarthritis) ที่สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น ซ่งเป็นสัญญาณเตือนว่า แกะโคลนตัวนี้อาจจะแก่เร็วเกินไป
ทว่านักวิทยาศาสตร์เพิ่งออกมาเผยว่า ความกลัวเรื่องการแก่เกินวัยและอายุที่สัมพันธ์กับต้นแบบในการโคลนนั้นดูจะเป็นความเข้าใจผิด เพราะในความจริงแล้วโรคข้ออักเสบที่พบในแกะดอลลี่นั้นค่อนข้างเป็นเรื่องที่พบได้ปกติ และเอเอฟพีได้นำเรื่องนี้มารายงานต่อ
ข้อมูลที่เผยออกมาใหม่นี้ได้จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ในสก็อตแลนด์และอังกฤษ ที่สรุปผลการศึกษาที่ใช้รังสีเอกซ์ตรวจสอบโครงกระดูกของแกะดอลลี่ที่ดูแลรักษาโดยพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสก็อตแลนด์ (National Museums Scotland: NMS) ในเอดินบะระ สก็อตแลนด์
ก่อนที่จะได้รับการการุณยฆาตนั้นแกะดอลลี่มีอาการกะโผลกกะเผลกที่ขาข้างหนึ่ง แต่จากการตรวจสอบ้วยวิธีสแกนพบว่าอาการดังกล่าวไม่ใช่เรื่องผิดปกติของแกะที่ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ โดยทีมวิจัยสรุปว่าไม่พบว่าการโคลนนั้นเป็นสาเหตุของอาการข้ออักเสบก่อนวัยในแกะดอลลี่ และงานวิจัยนี้ก็เกิดจากความปรารถนาที่จะบันทึกหลักฐานอย่างตรงไปตรงมา โดยได้ตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยในวารสารไซแอนทิฟิกรีพอร์ตส์ (Scientific Reports)
แกะดอลลี่ถูกฉีดยาให้หลับตลอดกาลขณะอายุได้ 6 ปี 8 เดือนขณะที่เริ่มเป็นโรคปอดด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วแกะพันธุ์ฟินน์-ดอร์เซต (Finn-Dorset sheep) เช่นเดียวกับดอลลี่นั้นจะมีชีวิตประมาณ 10-12 ปี
ทีมวิจัยระบุว่า งานของพวกเขานั้นได้รับการรองรับจากการใช้รังสีเอกซ์เช่นเดียวกันศึกษากระดูกของบอนนี่ (Bonnie) ลูกแกะเพศเมียของดอลลี่ที่เกิดตามธรรมชาติ รวมถึงกระดูกของเมแกน (Megan) และมอแรก (Morag) แกะที่เกิดจากการโคลนด้วยวิธีที่แตกต่างจากดอลลี่ โดยกระดูกแกะเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสก็อตแลนด์เช่นเดียวกัน
ทีมวิจัยระบุอีกว่า บันทึกอาการโรคข้อกระดูกอักเสบของแกะดอลลี่ยังเป็น “การกล่าวถึงสั้นๆ” ในการประชุมย่อยระหว่างการประชุมวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ แต่ไม่มีบันทึกการวินิจฉัยโรคดั้งเดิมหรือผลสแกนที่เก็บรักษาไว้
ทีมวิจัยทีมเดียวกันนี้ยังได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาไว้เมื่อปีที่ผ่านมา โดยรายงานการศึกษาดังกล่าวระบุว่า สำเนาพันธุกรรมของแกะดอลลี่ 4 ชุดนั้นแก่ขึ้นอย่างปกติโดยไม่มีอาการของโรคข้อกระดูกอักเสบ
เดบบี (Debbie) ดีไนส์ (Denise) ไดแอนนา (Dianna) และ เดซี (Daisy) น้องสาวแฝดอีก 4 ตัวของแกะดอลลี่นั้นเกิดตามหลังพี่สาวในอีก 11 ปีต่อมา โดยเกิดขึ้นจากการกระบวนการโคลนด้วยเซลล์ต่อมเต้านมชุดเดียวกัน ทว่าไม่มีตัวไหนที่มีอาการขากะเผลกเหมือนพี่สาว และไม่มีตัวไหนที่มีอาการโรคข้อกระดูกอักเสบอย่างผิดปกติในช่วงอายุของตัวเอง
สำหรับโรคข้อกระดูกอักเสบนั้นเป็นอาการที่เจ็บปวดทรมาน ซึ่งเกิดจากการติดขัดและฉีกขาดของข้อกระดูก กำเนิดของโรคนี้อาจจะมาจากพันธุกรรม แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นด้วย เช่น อายุที่มากขึ้น อาหารบาดเจ็บและโรคอ้วน
เมื่ออายุ 9 ปีเป็นช่วงปีที่มีความกังวลต่อเรื่องแก่ก่อนในสัตว์โคลนหรือย่างน้อยก็ในแกะ แต่น้องสาวแฝดทั้ง 4 ตัวของแกะดอลลี่ ไม่มีอาการของเบาหวาน และทุกตัวล้วนมีความดันเลือดปกติ ขณะที่การศึกษาหนูโคลนในห้องปฏิบัติการก่อนหน้านั้นพบว่า หนูโคลนแสดงแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และตายตั้งแต่อายุยังน้อย
ทีมวิจัยยังสรุปอีกว่า งานวิจัยของพวกเขานั้นมีข้อจำกัดเล็กน้อย ตรงที่มีแค่กระดูกของแกะโคลนเท่านั้นเหลือให้ศึกษา ขณะที่โรคข้อกระดูกอักเสบนั้นเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเส้นเอ็นและกระดูกอ่อนด้วย อีกทั้งหลักฐานผลเอกซเรย์โรคข้อกระดูกอักเสบก็ไม่ได้สะท้อนถึงอาการขอโรคที่เกิดกับสัตว์เสมอไป
สำหรับแกะดอลลี่นั้นเกิดขึ้นด้วยเทคนิคย้ายฝากนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย (somatic-cell nuclear transfer: SCNT) ซึ่งเป็นเทคนิคย้ายนิวเคลียสออกจากเซลล์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่เซลล์ไข่หรือเซลล์สเปิร์ม อย่างเช่นเซลล์ผิวหนัง และฉีดนิวเคลียสที่บรรจุดีเอ็นเอไว้เข้าไปในไข่ที่ยังไม่ได้รับการผสมและถูกนำเอานิวเคลียสออกไป
เมื่อย้ายฝากนิวเคลียสเข้าไปในไข่แล้ว ไข่นั้นจะออกคำสั่งให้ดีเอ็นเอที่เจริญเติบโตแล้วจากนิวเคลียสกลับไปเป็นระยะตัวอ่อน โดยอาศัยการกระตุ้นของไฟฟ้าเข้าช่วย จากนั้นไข่จะเริ่มแบ่งตัวไปเป็นตัวอ่อนของสัตว์ที่เกือบจะเป็นแฝด กับสัตว์ที่เป็นเจ้าของนิวเคลียสที่มีดีเอ็นเอตั้งต้น
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันโรสลิน (Roslin Institute) ของมหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh) สร้างดอลลี่ขึ้นในหลอดทดลอง หลังจาdหาทางออกได้ว่า0tเก็บเซลล์ไข่ของแกะอย่างไร ย้ายนิวเคลียสออกจากไข่อย่างไร และใส่ดีเอ็นเอที่สกัดจากเซลล์หนังแกะตัวอื่นให้เซลล์ไข่ที่ย้ายนิวเคลียสออกได้อย่างไร จากนั้นนำเซลล์ที่หลอมรวมดีเอ็นเอขึ้นใหม่ไปฝากไว้กับ “แม่แกะอุ้มบุญ” ซึ่งตกลูกเป็นดอลลีเมื่อ 5 ก.ค.1996
กว่าที่นักวิทยาศาสตร์จะเผยตัวดอลลีให้โลกรู้จักนั้นต้องรอเวลากว่า 6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าแกะโคลนตัวแรกจะมีชีวิตรอดต่อไป หลังจากที่ล้มเหลวอยู่หลายครั้ง โดยแกะดอลลี่เป็นแกะโคลนตัวเดียวที่รอดชีวิตจนเกิดเป็นตัว จากตัวอ่อนทั้งหมด 30 ตัวที่ย้ายฝากให้แม่แกะอุ้มบุญ และมีตัวอ่อนแกะโคลนอีก 250 ตัวที่ไม่สามารถพัฒนาไปจนถึงย้ายฝากตัวอ่อนได้
เอเอฟพีระบุอีกว่า การโคลนสัตว์นั้นนำไปใช้ในการเกษตร ซึ่งหลักๆ คือการเพิ่มจำนวนปศุสัตว์ และใช้ในธุรกิจ “การสร้างใหม่” สำหรับสัตว์เลี้ยงที่ตายแล้วของมนุษย์

Manager online 25.11.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร