Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

โรคหายาก-สุขภาพกุ้ง วิจัยคว้าทุนนิวตัน 8.6 ล้าน  

          กองทุนนิวตันเฟ้นผลงานวิจัยเด่นปี 2560 มอบทุน 8.6 ล้านบาทเติมศักยภาพองค์ความรู้ไทย “จุฬาฯ-ไบโอเทค” ควงคู่รับทุนจากโครงการศึกษาพัฒนากระบวนการตรวจวินิจฉัยกลุ่มโรคหายากที่พบบ่อย และโครงการมุ่งบูรณาการเทคโนโลยีและองค์ความรู้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง
          กองทุนนิวตันหรือ Newton Fund เป็นโครงการที่มอบทุนวิจัยให้กับนักวิจัยของประเทศต่างๆ ที่ทำงานด้านการวิจัยและ/หรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสำคัญที่ประเทศร่วมทุนของกองทุนนิวตันกำลังเผชิญอยู่ ในแต่ละปี (ตั้งแต่ปี 2560-2564) มีนักวิจัยได้รับทุนนี้ิั 5 คนใน 5 ประเทศ ในปีนี้ก็มีมาเลเซีย เวียดนามและไทย ขณะที่อินเดียได้รับ 2 รางวัล รวมมีโครงการส่งมาชิงทุนทั้งหมด 150 โครงการ
องค์ความรู้เพื่อโรคหายาก
ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แม้จะมีชื่อเรียกว่ากลุ่มโรคหายากแต่ก็พบบ่อยหรือเฉลี่ย 8% ของประชากรไทยหรือมากกว่า 5 ล้านคน เนื่องจากเป็นกลุ่มโรคที่มีมากกว่า 7,000 อาการ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ แพทย์ประสบการณ์น้อยทำให้ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ มีรายงานว่า บางโรคนั้นใช้เวลา 7 ปีตรวจวินิจฉัยกว่าจะระบุชนิดของโรคได้ชัดเจน
โจทย์วิจัยจึงเกิดขึ้นด้วยความต้องการเทคนิคการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง โดยร่วมมือกับสถาบันสุขภาพเด็ก UCL Great Ormond Street Institute of Child Health ประเทศอังกฤษที่มีความเชี่ยวชาญและความพร้อมด้านเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยสารพันธุกรรม มาพัฒนากระบวนการตรวจวินิจฉัยให้กับไทย
“อังกฤษมีกระบวนการตรวจวินิจฉัยโรคหายากที่โดดเด่น มีเครื่องวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมและเทคโนโลยีในการตรวจหาสารพันธุกรรม แต่ไม่สามารถหยิบยกมาใช้กับสารพันธุกรรมคนไทย ทีมวิจัยจึงต้องศึกษาและสร้างฐานข้อมูลสารพันธุกรรมคนไทย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง”
การตรวจวินิจฉัยโดยการหาจากสารพันธุกรรมนั้น ต้องอาศัย 4 ปัจจัยหลักคือ เครื่องวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรม โปรแกรมตรวจวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรม ฐานข้อมูลสารพันธุกรรม และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทางอังกฤษจึงเข้ามาให้คำปรึกษาโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์แนะนำวิธีการตรวจ ขณะที่ไทยจัดซื้อเครื่องมือราคาหลายสิบล้านบาท และศึกษาเก็บข้อมูลสร้างฐานข้อมูลสารพันธุกรรม พัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ และสร้างบุคลากรเป็นทีมทำงานที่มีศักยภาพ
นอกจากนี้ โครงการวิจัยนี้ยังจะสร้างเครือข่ายโรงพยาบาลทั่วไทย นำร่องที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ในการส่งตัวอย่างหรือตัวผู้ป่วยมาตรวจที่ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้สามารถตรวจวินิจฉัยโรคที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน ศึกษาและหาพยาธิกลไก ที่จะนำไปสู่วิธีการรักษาที่ตรงกับสาเหตุของโรค
นวัตกรรมหนุนอุตฯเลี้ยงกุ้ง
สำหรับปีนี้กองทุนนิวตันได้เพิ่มรางวัลพิเศษหรือ Charity Award ให้โครงการวิจัยของไทยคือ "เครือข่ายวิจัยเพื่อสุขภาพกุ้ง” รับรางวัล 8.6 ล้านบาทเช่นกัน
กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ หัวหน้าห้องปฏิบัติการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกุ้งและเชื้อก่อโรค ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) กล่าวว่า เครือข่ายวิจัยเพื่อสุขภาพกุ้งหรือเครือข่าย INSH (International Networks for Shrimp Health) เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทย ได้แก่ ไบโอเทค, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรมประมง และสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กับ 3 หน่วยงานในสหราชอาณาจักร ได้แก่ ศูนย์สิ่งแวดล้อม ศูนย์วิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการประมง และมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์
จุดมุ่งหมายคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมทั้งจากภาครัฐและเอกชน ร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขและการเฝ้าระวังโรคกุ้งอย่างบูรณาการ เพื่อควบคุมและป้องกันโรคอุบัติใหม่ รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ยังมุ่งการวิจัยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพกุ้ง 4 โครงการ คือ งานวิจัยเพื่อหาพาหะหรือแหล่งสะสมเชื้อปรสิต EHP สาเหตุที่ทำให้กุ้งอ่อนแอและโตช้าอย่างรุนแรง, งานวิจัยเพื่อหาสาเหตุภาวะกุ้งขี้ขาว ซึ่งพบในหลายประเทศรวมถึงไทย, โครงการวิเคราะห์ผลกระทบจากการมีชิ้นส่วนไวรัสแทรกในจีโนมของกุ้งต่อวิธีการตรวจไวรัส IHHNV ที่ใช้ในการส่งออกกุ้งกุลาดำ และการพัฒนาชุดตรวจที่มีราคาถูก แสดงผลเร็วและเกษตรกรสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง

 

Bangkokbiznews 27.11.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร