Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พัฒนา “ไบโอเซรามิกส์” ตกแต่งสวนได้ กำจัดยาฆ่าแมลงด้วย  

          นักวิจัย สกว. พัฒนา “ไบโอเซรามิกส์” นวัตกรรมงานตกแต่งสวนชนิดใหม่ที่สามารถกำจัดสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ ‘พาราควอต’ ได้หมดภายในเวลา 6 ชั่วโมง ราคาถูก ผลิตได้จำนวนมาก และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ตลอด
          รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล นักวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า การปนเปื้อนของสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในแหล่งน้ำ และตกค้างในพืชผัก ผลไม้ จัดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยสารเคมีปราบศัตรูพืชที่มีการใช้งานหลายชนิดในเมืองไทยและนำมาซึ่งอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต คลอร์ไพริฟอส ซึ่งสารเหล่านี้มีความเป็นพิษสูง
“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘พาราควอต’ เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทเผาไหม้ ออกฤทธิ์เร็ว ไม่เลือกทำลาย มีความเป็นพิษเฉียบพลันสูงแม้ได้รับสัมผัสเพียงปริมาณน้อย ค่าความเป็นพิษที่ระดับ 113.5 มก./กก. ของพาราควอต นั่นหมายถึงการได้รับพาราควอตทางปากเพียง 6.15 มก./ล. หรือประมาณมากกว่า 1 ช้อนชาเล็กน้อย ก็สามารถทำให้ผู้ได้รับสารพิษมีโอกาสเสียชีวิตได้ ค่าความเข้มข้นดังกล่าวคำนวณจากค่าเฉลี่ยการได้รับสารของผู้ชายไทยที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 68 กก. อัตราการตายของผู้ป่วยในประเทศไทยที่ได้รับสารพิษนี้สูงถึง 10.2% ในกรณีที่ผู้ป่วยสัมผัสทางผิวหนัง และ 14.5% ในกรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือไม่ตั้งใจในการได้รับสารพาราควอตโดยตรง" รศ.ดร.พวงรัตน์ระบุโดยอ้างอิงองค์การอนามัยโลก ปี 2002
ทั้งนี้ การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชและแมลง ทำให้เกิดการตกค้างของสารเคมีเหล่านี้ในแหล่งน้ำการเกษตร แหล่งน้ำในลำน้ำ รวมถึงสวนน้ำ หรือบ่อน้ำที่ใช้ในการตกแต่งสวนสวยงามได้ สกว. โดยโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) จึงให้ทุนสนับสนุนแก่นักวิจัย และ น.ส.มานี จินดาการะเกด นักศึกษาปริญญาเอก ในการพัฒนาไบโอเซรามิกส์กำจัดสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างนวัตกรรมงานตกแต่งสวนที่เรียกว่า “ไบโอเซรามิกส์” ซึ่งมีความสามารถในการกำจัดสารเคมีปราบศัตรูพืชด้วยกลไกทางกายภาพเคมีร่วมกับทางชีวภาพ และยังสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างของผลิตภัณฑ์ให้เป็นรูปร่างหลากหลายชนิด เพื่อใช้ในการตกแต่งสวน หรือใช้ในการกำจัดสารเคมีเหล่านี้ในลำน้ำได้อีกด้วย โดยมีบริษัท อิฐภราดร จำกัด ร่วมสนับสนุนงบประมาณในส่วนของภาคเอกชน
นักวิจัย สกว.ระบุว่า เซรามิกส์ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด ไม่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุตรึงได้ เนื่องจากมีพื้นที่ผิวและรูพรุนต่ำ ทำให้แบคทีเรียเกาะติดภายในโครงสร้างเซรามิกส์ได้น้อย นักวิจัยและโรงงานจึงร่วมกันพัฒนาเซรามิกส์ชนิดใหม่ขึ้นมา โดยเริ่มจากการพัฒนาสูตรเซรามิกส์และสภาวะในการขึ้นรูปใหม่ ซึ่งต้องผ่านการทดสอบหลายครั้งจนนำมาขึ้นรูปได้ และผ่านการทดสอบคุณสมบัติในเบื้องต้น เพื่อให้ได้เซรามิกส์ที่มีคุณสมบัติตามที่นักวิจัยต้องการและสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายได้จริง
คณะนักวิจัยได้สังเคราะห์ไบโอเซรามิกส์สำหรับกำจัดพาราควอต ซึ่งเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง มีโครงสร้างทางเคมีที่มีความซับซ้อน และย่อยสลายได้ยากกว่าสารเคมีอื่นๆ ด้านการตรึงเซลล์และเทคนิคในการเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย บนอาหารแข็ง เซรามิกส์ที่พัฒนาขึ้นทุกสูตรต้องนำมาทดสอบการตรึงแบคทีเรียที่ผ่านการคัดสายพันธุ์แล้ว โดยสูตรไบโอเซรามิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีหลายสูตร
ขณะที่วิธีตรึงแบคทีเรียมีอยู่หลายวิธีสำหรับใช้กับแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ ทำให้ต้องทดสอบหลายสภาวะเงื่อนไขในห้องปลอดเชื้อ จึงใช้เวลานานและอุปกรณ์ที่สะอาดจำนวนมาก เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำและชัดเจนในการคัดเลือกชนิดไบโอเซรามิกส์ที่เหมาะสมที่สุด และวิธีตรึงที่ดีที่สุดสำหรับไบโอเซรามิกส์นั้น ๆ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์
ไบโอเซรามิกส์ทั้งหมด 8 ผลิตภัณฑ์ โดยนักวิจัยกำลังจะจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรจำนวน 6 สิทธิบัตร จากนั้นนักวิจัยจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเอกชนและพัฒนาการตลาดร่วมกับ สกว. ต่อไป
“ไบโอเซรามิกส์ทั้งหมดนี้สามารถใช้ในการกำจัดสารเคมีที่ปนเปื้อนในน้ำได้ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่ตั้งไว้ คือ สามารถกำจัดสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอตได้ 100% ภายในเวลา 6 ชั่วโมง จุดเด่นของไบโอเซรามิกส์ที่พัฒนาขึ้นนี้ นอกจากจะสามารถย่อยสลายสารเคมีปราบศัตรูพืชอย่างสมบูรณ์แล้ว จุลินทรีย์ที่ใช้ยังมีราคาถูกและผลิตได้จำนวนมากในปริมาณที่ต้องการ รวมถึงสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ตลอด โดยผลิตภัณฑ์นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายชนิดเพื่อใช้ในการตกแต่งสวน นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับน้ำที่ปนเปื้อนมลพิษอินทรีย์อื่น ๆ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ลำน้ำทั่วไปที่มีสารปนเปื้อนและสามารถกำจัดสารเคมีปราบศัตรูพืชให้หมดไปจากน้ำได้” นักวิจัย สกว.ระบุ

Manager online 28.11.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร