Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เช็ก 5 สัญญาณเสี่ยง “ต้อกระจก” เลี่ยงภาวะตาบอด  

          การเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณด้วยการดูแลและตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ นับเป็นสิ่งที่จำเป็นและส่งผลดีอย่างยิ่ง เนื่องจากภาวะเสื่อมถอยของร่างกายก็อาจเป็นบ่อเกิดของภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพที่มากมาย รวมไปถึงโรคต้อกระจกซึ่งเป็นปัญหาทางสายตาที่พบได้มากในกลุ่มวัยเกษียณ หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นสาเหตุของภาวะตาบอดได้ จากการสำรวจพบว่ามีจำนวนถึง 42% ของผู้มีภาวะตาบอดมีสาเหตุมาจากภาะวะต้อกระจก
          พ.ต.อ.นพ.คำนูณ อธิภาส จักษุแพทย์ กล่าวว่า โรคต้อกระจก มักมาพร้อมกับอายุมากที่ขึ้น นับเป็นความเสื่อมอย่างหนึ่งเกี่ยวกับร่างกายเรา โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงของเลนส์แก้วตาที่ช่วยในการมองเห็นซึ่งจะมีลักษณะตัวเลนส์ที่นิ่มมากเมื่ออยู่ในวัยเด็ก แต่เมื่อเริ่มมีอายุที่มากขึ้น เลนส์แก้วตาจะค่อยๆ แข็งขึ้น เกิดความไม่สม่ำเสมอ จนเกิดความขุ่นมัวในเนื้อเลนส์และส่งผลต่อการมองเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ได้ เช่น ผลข้างเคียงจากการใช้ยา สารสเตียรอยด์ สารพิษ ประสบอุบัติเหตุ และ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาทิ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และไทรอยด์
โรคต้อกระจกจะค่อยๆ เกิดขึ้น โดยใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาจนกระทั่งตาขุ่นมัว จึงอาจทำให้คนทั่วไปไม่ทันได้ตระหนักถึงอาการเริ่มต้นของโรคต้อกระจก ซึ่งส่งผลร้ายต่อการมองเห็นได้ ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอย่างผู้ที่เข้าสู่วัยเกษียณ หรือบุคคลใกล้ชิด จึงควรตรวจสอบตนเองรวมถึงบุคคลใกล้ตัวถึงอาการ 5 สัญญาณเสี่ยงโรคต้อกระจก ดังนี้
1. ตาค่อยๆ มัวลง อย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ อาจเริ่มมีอาการที่มัวลงภายในช่วงเวลาสั้นเพียง 2-3 เดือน หรือถึงมากกว่า 10 ปีในบางราย
2. สายตากลับ มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านการมองเห็นอย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น จากเดิมสายตายาวแล้วเปลี่ยนเป็นสายตาสั้น หรือเกิดสายตาเอียงขึ้น
3. เห็นแสงแตกกระจาย เมื่อใช้สายตามองแสงแล้วจะเห็นมีลักษณะเป็นเส้นๆ เป็นแฉกๆ หรืออาจดูมีภาพซ้อน
4. ความสามารถในการมองเห็นในที่มืดลดน้อยลง ต้องการแสงสว่างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะพบบ่อยๆ ในกลุ่มคนสูงวัยมากๆ
5. ต้อกระจกบางชนิดจะมองเห็นในที่มืดชัดกว่าที่สว่าง เนื่องจากมีความขุ่นมัวเฉพาะส่วนกลางของเลนส์ตา ซึ่งในที่สว่างนั้นรูม่านตาจะมีขนาดเล็ก เวลาใช้สายตาก็จะมองผ่านเฉพาะส่วนที่ขุ่นมัวนั้น แต่ในที่มืดรูม่านตาจะขยายกว้างขึ้นการมองเห็นก็จะดีขึ้น มักพบในคนที่ป่วยเป็นโรคต้อกระจกจากผลกระทบของโรคเบาหวาน ใช้ยาสเตียรอยด์ด้วยการรับประทาน หรือหยอดตามาเป็นเวลานานๆ
หากมีอาการน่าสงสัยเพียงข้อใดๆ ข้อหนึ่งก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็กอย่างละเอียด และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากความก้าวหน้าในทางการแพทย์ปัจจุบันที่สามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ทั้งการสวมแว่นตา การใช้ยาหยอดตาในกรณีที่ยังไม่มีอาการรุนแรงมาก รวมไปถึงการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตา ที่ทำได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น ดังเช่นการสลายต้อกระจกด้วยระบบอัลตราซาวนด์ที่ช่วยทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 2-3 มิลลิเมตร ผู้ป่วยจึงไม่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน แผลสามารถสมานตัวเองได้อย่างรวดเร็ว แตกต่างจากเดิมที่จะรักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อกระจก ทำให้มีแผลใหญ่และยาวเกือบ 1 เซนติเมตร จนส่งผลให้แผลหายได้ช้าลง หรือมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เฟมโตเซคเคินเลเซอร์ และนาโนเซคเคินเลเซอร์เข้ามาช่วยในการผ่าตัดร่วมด้วย
นอกเหนือจากการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้น การเลือกใช้เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับการผ่าตัดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้ป่วยควรให้ความสำคัญและมีความรู้เบื้องต้น เนื่องจากเลนส์แก้วตาเทียมมีหลากหลายชนิด ซึ่งผู้ป่วยสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันหรือแม้แต่เหมาะกับปัญหาทางสายตาเดิมของตนเอง เช่น หากมีสายตาสั้นมากๆ เมื่อมีการผ่าตัด ก็จะสามารถใช้โอกาสนั้นเลือกใช้เลนส์แก้วตาเทียมชนิดหลายโฟกัส ที่คำนวณค่าให้แสงตกโฟกัสให้ตรงจอประสาทตาพอดี จึงสามารถช่วยแก้อาการสายตาสั้นให้ดียิ่งขึ้นได้ หรือสายตาเอียงมากๆ อันมาจากผิวกระจกตาไม่กลม ก็สามารถใช้โอกาสการผ่าตัดนี้ในการเลือกเลนส์แก้วตาเทียม ที่สามารถชดเชยและแก้สายตาเอียงได้อีกด้วย
“ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญต่อโรคเกี่ยวกับสายตาได้ง่าย จึงควรรับการการตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง หรืออาจเข้ารับการตรวจที่เร็วขึ้นหากว่าอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงอื่นๆ เช่น เป็นผู้ป่วยเป็นเบาหวาน และไทรอยด์ หรือใช้ยาสเตียรอยด์บ่อยครั้ง เป็นต้น ซึ่งหากรู้ปัญหาทางสายตาได้เร็ว รักษาได้ทันเวลา ก็จะช่วยให้ทุกคนสามารถถนอมสายตาให้อยู่คู่ไปกับเราได้อย่างยาวนานยิ่งขึ้น” พ.ต.อ.นพ.คำนูณกล่าว

Manager online 30.11.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร