Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เร่งทบทวนข้อมูล “วัคซีนไข้เลือดออก” ใช้คุมโรคในไทย หลังฟิลิปปินส์ระงับฉีดใน นร.  

          คณะอนุฯ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันเตรียมประชุมทบทวนข้อมูล “วัคซีนไข้เลือดออก” มาใช้ป้องกันควบคุมโรคในไทย หลัง สธ. ฟิลิปปินส์ ระงับให้บริการฉีดใน นร. กรมควบคุมโรคย้ำหากเคยเป็นแล้ว วัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโรค หากไม่อน่ใจให้ปรึกษาแพทย์ ย้ำมาตรการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยังต้องทำ
          วันนี้ (5 ธ.ค.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีข่าวกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประเทศฟิลิปปินส์ ระงับการให้บริการวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกในนักเรียนชั่วคราว ว่า จากการติดตามข้อมูลดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และต้องมีการพิจารณาข้อมูลต่างๆ อย่างถี่ถ้วนและรอบคอบ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ทบทวนข้อมูลเพื่อการพิจารณานำวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกมาใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรคในประเทศไทย
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สำหรับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อไวรัสมีชีวิตที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ ประกอบด้วย เชื้อไวรัส 4 สายพันธุ์ สามารถป้องกันการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ร้อยละ 65 อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการป้องกันไข้เลือดออกจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ประวัติการติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อนหน้าที่จะได้รับวัคซีน และอายุของผู้ได้รับวัคซีน ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย เมื่อ 30 กันยายน 2559 โดยผ่านการพิจารณาและการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ปัจจุบันวัคซีนนี้ยังไม่ได้บรรจุในรายการวัคซีนพื้นฐานที่ภาครัฐให้บริการแก่ประชาชน เนื่องจากยังมีข้อจำกัดบางประการในการป้องกันไข้เลือดออก จำเป็นต้องพิจารณาจากข้อมูลทางระบาดวิทยา การประเมินผลกระทบทางสาธารณสุข ความคุ้มค่าในการนำวัคซีนมาใช้เพื่อลดอัตราป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลและลดค่าใช้จ่าย ความสามารถในการเข้าถึงวัคซีน และงบประมาณ
นพ.สุวรรณชัย  กล่าวว่า ขณะนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) อยู่ระหว่างเตรียมประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อหารือเกี่ยวกับข้อแนะนำเรื่องวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกให้เหมาะสม และในระหว่างที่ยังรอให้ถึงกำหนดการประชุม นั้น กรมควบคุมโรค ขอแนะนำว่า ในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้เลือดออกตามธรรมชาติมาก่อนแล้ว หากฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจะสามารถป้องกันการเกิดโรคที่รุนแรงและป้องกันการนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ แต่สำหรับคนที่ไม่ทราบว่าตนเองเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจรับวัคซีน เพื่อให้แพทย์พิจารณาความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการได้รับวัคซีน ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป
“แม้ว่าขณะนี้ ประเทศไทยเริ่มมีการให้บริการวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกในสถานพยาบาลโดยเฉพาะในภาคเอกชน แต่การใช้วัคซีนเป็นเพียงมาตรการหนึ่งในการควบคุมโรค ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมยุงพาหะ การเฝ้าระวังโรค และการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วย  ประชาชนยังต้องดูแลและป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด และร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเริ่มจากบ้านของตนเอง ชุมชน และสถานที่สาธารณะต่างๆ” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า ขอให้เน้นมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1. เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 2. เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3. เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย  รวมทั้งกำจัดและควบคุมยุงตัวแก่ เช่น การพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด เช่น ทายากันยุง ใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า จุดสมุนไพรหรือยาจุดไล่ยุง หรือใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ประชาชนสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

 

Manager online 5.12.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร