Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ชาวเลบานอนเสี่ยงสารพัดโรคจาก “วิกฤตขยะ”   

          การจัดการปัญหาขยะในเลบานอน ได้สร้างความวิตกกังวลถึงปัญหาสุขภาพของผู้คนที่นั่นเป็นอย่างมาก หลังจากมีรายงานฉบับล่าสุดของ Human Rights Watch ที่เปิดเผยว่า เริ่มมีชาวเลบานอนล้มป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและผิวหนัง ที่มีต้นตอจากการรับสารพิษจากการเผาขยะจำนวนมหาศาลทุกวัน
          ผ่านมากว่า 2 ปีหลังการประท้วง ‘You Stink’ ที่ชาวเลบานอนลุกฮือประท้วงกลางกรุงเบรุต เพื่อเร่งเร้าให้รัฐบาลเลบานอน หาทางจัดการกับปัญหาขยะที่เข้าขั้นวิกฤตในเมืองหลวง
แต่จนถึงวันนี้ ภูเขาขยะจำนวนมหาศาลไม่ได้มีแค่ในกรุงเบรุตอีกต่อไป แต่กลับขยับขยายไปยังชุมชนแออัดและพื้นที่ห่างไกลทั่วเลบานอน
รายงานจาก Human Rights Watch ที่เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เปิดเผยข้อมูลจากสำนักงานดับเพลิงของเลบานอน ที่รายงานว่า แรงกดดันของชาวเลบานอนในการจัดการปัญหาขยะในประเทศยังไม่สัมฤทธิ์ผล และมีการเผาขยะกลางแจ้งเกิดขึ้นมากกว่า 3,612 ครั้งที่กรุงเบรุตและปริมณฑล และยังมีการเผาขยะมากกว่า 814 ครั้งในพื้นที่อื่นๆทั่วเลบานอน
ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมของเลบานอนและข้อมูลจาก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ยืนยันว่าการแก้ปัญหาขยะของเลบานอน ยังย่ำอยู่กับที่ โดยการสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้ ระบุว่า มีพื้นที่ทิ้งขยะกลางแจ้งในเลบานอนทั้งสิ้น 941 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มขึ้น 271 จุดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น ในจำนวนนี้จะมีการเผาขยะเกิดขึ้นราว 150 จุด ทุกๆวันทั่วเลบานอน
ในการสำรวจล่าสุดของ Human Rights Watch สอบถามชาวเลบานอนในพื้นที่ใกล้จุดเผาขยะ และพบว่ามีผู้คนจำนวนมากประสบปัญหาด้านสุขภาพ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการเผาขยะที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง และการได้ยิน
Farouk Merhebi ผู้เชี่ยวชาญด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัย American University ในกรุงเบรุต แสดงความกังวลว่า ชาวเลบานอนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งมีการเผาขยะพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ มีโอกาสสูดดมสารก่อมะเร็งเข้าไปสะสมในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้มากขึ้นกว่าเดิม
Bassam Khawaja นักวิจัยของ Human Rights Watch ทิ้งท้ายไว้ว่า วิกฤตขยะในเลบานอน คือ ภัยเงียบมาหลายทศวรรษ แต่กลับไม่ได้รับการใส่ใจ และที่ผ่านมารัฐบาลกลางและท้องถิ่นไม่ได้จัดสรรงบประมาณและนโยบายในการบริหารจัดการขยะที่เหมาะสม
ก่อนหน้านี้ เลบานอนเคยได้รับเงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป 89 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3 พันล้านบาท เพื่อใช้ในการบริการจัดการขยะ ในระยะเวลา 15 ปี แต่กลับไม่มีการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงใดๆเกิดขึ้นเลย

 

Voice of America 5.12.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร