Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สุดมหัศจรรย์! “เห็ดเยื่อไผ่” ซินโครตรอนวิจัยพบอุดมด้วยสารคุณประโยชน์สูง-เป็นยาโด๊ปขนานเอก  

          ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - นักวิจัยไทยเจ๋งใช้เทคโนฯ แสงซินโครตรอนวิจัยพบ “เห็ดเยื่อไผ่” สุดมหัศจรรย์ อุดมด้วยสารคุณประโยชน์สูง ทั้งสารต้านอนุมูลอิสระยับยั้งมะเร็ง ป้องกันโรคสมองเสื่อม มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวเสื่อมสภาพ ลดริ้วรอย และเร่งผลิตเซลล์ผิวใหม่ อีกทั้งพบสารสำคัญผลิตยาโด๊ปขนานเอกได้ เผยเร่งต่อยอดผลิตอาหารเสริมและเวชสำอาง หนุนเกษตรกรเพาะเห็ดป้อน คาด 1 ปี คนไทยได้ใช้แน่
          วันนี้ ( 6 ธ.ค.) ดร.วรวิกัลยา เกียรติ์พงษ์ลาภ นักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)ร่วมกับ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) จ.นครราชสีมา นำโดย ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา หัวหน้าโครงการ วิจัยต้นแบบการผลิตเห็ดเยื่อไผ่ในสวนไผ่ครบวงจร ภายใต้ทุนสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ทำการศึกษาองค์ประกอบและสารสำคัญของเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์กระโปรงยาวสีขาว เพื่อนำความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ด้านต่าง ๆ
ทั้งนี้สืบเนื่องจาก เห็ดเยื่อไผ่ หรือ เห็ดร่างแห (Dictyophora indusiata) เป็นที่นิยมบริโภคในประเทศจีนมานาน เนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง และลดความดัน เป็นต้น ซึ่งประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการวิจัยพัฒนาเห็ดเยื่อไผ่มาเป็นเวลาหลายสิบปี จนสามารถผลิตเป็นการค้าได้เพียงประเทศเดียวในโลก เห็ดเยื่อไผ่นี้สามารถเติบโตได้เช่นกันในพื้นที่เขตร้อนชื้น เช่น เขตป่าไม้ไผ่ในประเทศไทย ซึ่งพบ มีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้ แก่ เห็ดเยื่อไผ่กระโปรงยาว เห็ดเยื่อไผ่กระโปรงสั้น เห็ดเยื่อไผ่สีชมพู และ เห็ดเยื่อไผ่สีส้ม
อย่างไรก็ตามเห็ดนี้ยังพบตามธรรมชาติได้น้อย ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยการเพาะปลูกรวมถึงสรรพคุณของเห็ดเยื่อไผ่ เพื่อให้ผู้บริโภคและนักวิจัยได้เข้าใจถึงเห็ดเยื่อไผ่มากขึ้น โดยมีรายงานว่าคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางทางยาของเห็ดเยื่อไผ่นี้ขึ้นกับสายพันธุ์ และจากสรรพคุณทางยาและความนิยมบริโภคที่มากขึ้นทำให้เห็ดเยื่อไผ่กลายเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกชนิดที่กำลังได้รับความสนใจเพาะเลี้ยงในปัจจุบัน
ดร.วรวิกัลยา กล่าวต่อว่า ทีมงานของ ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประสบความสำเร็จในการหาวิธีการเพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์จีนกระโปรงยาวสีขาว รวมถึงวิธีการเก็บรักษาและการดูแลหลังการเก็บเกี่ยว อีกทั้งได้ทำงานวิจัยร่วมกับทีมงานนักวิจัยของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2559โดยเก็บตัวอย่างเห็ดเยื่อไผ่แบบตูมมาจากแปลงวิจัยในเขตพื้นที่จังหวัดสระแก้วและนครราชสีมาเพื่อทำการศึกษาองค์ประกอบและสารสำคัญของเห็ดเยื่อไผ่ ในห้องปฏิบัติการแสงสยามสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
พบว่า เห็ดเยื่อไผ่ชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนร้อยละ 20 ไขมันร้อยละ 4-5 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 40-50 กรดอะมิโนมากกว่า 14 ชนิด และวิตามินอีกหลายชนิด ซึ่งเห็ดเยื่อไผ่นี้มีโปรตีนสูงกว่าเห็ดอื่นๆ เช่น เห็ดโคนมีโปรตีนร้อยละ 4.2 เห็ดฟางร้อยละ 3.4 เห็ดหอมสดร้อยละ 2.2 และเห็ดหูหนูร้อยละ 1.4 เป็นต้น ซึ่งเหมาะกับการนำมาบริโภคเป็นโปรตีนที่ทดแทนเนื้อสัตว์ได้ดังกล่าว
นอกจากคุณค่าทางโภชนาการ ในแต่ละส่วนของเห็ดเยื่อไผ่ยังมีสารสำคัญและฤทธิ์ทางชีวภาพที่แตกต่างกันไปโดยในส่วนปลอกหุ้มดอกและหมวกดอกจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อยู่ในปริมาณสูง สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นได้หลายรูปแบบ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้อย่างหลากหลาย เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมอง เป็นต้น
ส่วนเมือกหุ้มดอกเห็ด มีลักษณะเป็นเจลเข้มข้นที่อุดมไปด้วยกรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) และอัลลันโทอิน (Allantoin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดการระคายเคืองของผิว เพิ่มความชุ่มชื้นฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ และยังพบกรดกลูโคนิค (Gluconic Acid) ที่สามารถเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่ชั้นผิวหนังกำพร้า จะเสริมการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซึ่งทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น นุ่มนวล มีความยืดหยุ่นดี ลดริ้วรอยและช่วยเติมเต็มผิวที่หย่อนคล้อย โดยสารอัลลันโทอินจากเห็ดเยื่อไผ่นี้เป็นสารชนิดเดียวกับที่พบในเมือกหอยทากแต่จะมีความบริสุทธิ์และสามารถเก็บเกี่ยวได้ง่ายกว่า
ส่วนลำต้นและกระโปรงนั้น อุดมไปด้วยสารพอลิแซคคาไรด์พวกเบต้ากลูแคน (β-glucan) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ทั้งกระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นในส่วนลำต้นนี้ยังพบสารดิกทิโอฟอรีน เอ และบี (Dictyophorines A and B) ซึ่งเป็นสารที่พบยากมากในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ยับยั้งมะเร็ง และ ยังเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท และป้องกันโรคสมองเสื่อมนอกจากนั้นสปอร์เชื้อรา สีน้ำตาลเขียวขี้ม้า ที่มีกลิ่นค่อนข้างเหม็น ทีมวิจัย พบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อยู่ในปริมาณสูงและพบสารสำคัญที่สามารถนำไปทำยาโด๊ปได้
ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์จีนกระโปรงยาวสีขาวนี้อุดมไปด้วยสารสำคัญมากมาย เหมาะสำหรับการนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ทั้งในวงการอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม และรวมถึงวงการผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่สามารถพัฒนาให้มีคุณสมบัติทัดเทียมกับเยื่อเมือกหอยทาก ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเห็ดเยื่อไผ่อีกด้วย โดยประโยชน์ดังกล่าวสอดรับกับกระแสรักษ์โลกและรักสุขภาพที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลก
“ทีมงานจะต่อยอดงานวิจัยดังกล่าว ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเห็ดได้อย่างแท้จริง โดยขณะนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้เพาะเลี้ยงเห็ดเยื้อไผ่เพื่อเป็นต้นแบบไว้เป็นจำนวนมาก และเตรียมสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้เพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่แห่งประเทศไทย และนำเสนอต่อ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่จะทำแปลงเพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่ให้มีผลผลิตสูง เพื่อรองรับการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพอาหารเสริม และรวมถึงเวชสำอาง ที่นักวิจัยกำลังทดลอง คาดว่า อีก 1 ปีจะมีผลิตภัณฑ์จากเห็ดเยื่อไผ่ โดยทีมนักวิจัยนี้แน่นอน ” ผศ.ดร.นิภาพร กล่าวในตอนท้าย

Manager online 6.12.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร