Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

มอบทุนวิจัยแกนนำ 20 ล้านบาท ให้นักวิจัยผู้พัฒนาวัสดุนาโนไฮบริดและยาต้านมาลาเรียดื้อยา  

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอบทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2560 จำนวน 20 ล้านในระยะเวลา 5 ปี แก่ ศ.ดร.มาโกโตะ โอกาวะ สถาบันวิทยสิริเมธี ในโครงการวิจัย “วัสดุนาโนไฮบริดและการออกแบบปฏิกิริยาการสังเคราะห์แสงประดิษฐ์” และ ดร.สุมาลี กำจรวงศ์ไพศาล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. จากโครงการวิจัย “โครงการค้นหาเป้าหมายยาใหม่และการพัฒนายาต้านมาลาเรียดื้อยา” เมื่อ 7 ธันวาคม 2560 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
การมอบทุนดังกล่าวเป็นการให้ทุนวิจัยขนาดใหญ่ เพื่อสนับสนุนนักวิจัยที่มีขีดความสามารถสูงทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์และมีผลกระทบสูงต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมหรือข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เลขานุการโครงการทุนนักวิจัยแกนนำ ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงานของผู้รับทุน ได้แก่ ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล อธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี และ ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการไบโอเทค สวทช. ร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้รับทุน
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ในการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการขับเคลื่อนการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้เป็นรูปธรรม ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้แสดงให้เห็นว่า กลไกการสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการขนาดใหญ่ที่ให้นักวิจัยได้ทำงานเป็นกลุ่มวิจัยและเครือข่ายอย่างเต็มศักยภาพ เป็นแนวทางที่ได้ผลดีอย่างยิ่ง ทำให้คล่องตัวในการทำงาน และได้มีโอกาสแสดงผลงานและความสามารถ เพื่อก้าวจากการเป็นนักวิจัยระดับแนวหน้าของประเทศ กลายเป็นนักวิจัยระดับแนวหน้าของโลก เพื่อสร้างบุคลากรวิจัยมืออาชีพ และผลิตกำลังคนระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพให้กับประเทศต่อไป”
ด้าน ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปัจจุบันจำนวนนักวิจัยของประเทศไทยยังมีไม่มากนัก เมื่อเทียบกับประเทศที่มีความก้าวหน้าและเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้โอกาสนักวิจัยได้แสดงศักยภาพอย่างแท้จริง รวมทั้งพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศและนำสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยโครงการทุนนักวิจัยแกนนำ เป็นกลไกหนึ่ง ที่ สวทช. เห็นว่าจะสามารถสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยที่มีศักยภาพสูง สร้างสรรค์และถ่ายทอดผลงานที่เป็นประโยชน์ให้กับประเทศในหลากหลายมิติ ทั้งในด้านสาธารณสุข เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม โดยหวังให้เกิดผลกระทบระดับสูงในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ช่วยพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพให้กับประเทศ
จาก 17 โครงการที่ส่งเข้ามา คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรมอบทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2560 ให้กับกลุ่มวิจัยของนักวิจัยแกนนำ 2 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.มาโกโตะ โอกาวะ สถาบันวิทยสิริเมธี จากโครงการวิจัย เรื่อง “วัสดุนาโนไฮบริดและการออกแบบปฏิกิริยาการสังเคราะห์แสงประดิษฐ์” ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.มาโกโตะ โอกาวะ เป็นนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานวิจัยโดดเด่นหลากหลายด้าน เช่น เคมีเชิงวัสดุ เคมีเชิงแสง วัสดุไฮบริด เป็นต้น มีศักยภาพด้านการวิจัยสูง เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงสำหรับปฏิกิริยาการสังเคราะห์แสงประดิษฐ์ วัสดุใหม่ที่ได้จะมีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงในการเร่งปฏิกิริยา และเพิ่มผลผลิตจากปฏิกิริยาให้มากขึ้นตามต้องการได้ นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานเชื้อเพลิงทางเคมี และพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์
“ผู้ได้รับทุนฯ ท่านที่สอง คือ ดร.สุมาลี กำจรวงศ์ไพศาล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. จากโครงการวิจัย เรื่อง “โครงการค้นหาเป้าหมายยาใหม่และการพัฒนายาต้านมาลาเรียดื้อยา” ซึ่ง ดร.สุมาลี กำจรวงศ์ไพศาล เป็นนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์สูง อยู่ในวงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนายาต้านมาลาเรียมาเป็นเวลานาน มีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ โครงการที่ได้รับทุน มีเป้าหมายที่จะค้นหายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่และออกแบบยาต้านมาลาเรียดื้อยาจากเอนไซม์สำคัญทั้งสองในวิถีโฟเลตของเชื้อมาลาเรีย ดังที่ทราบมาลาเรียเป็นโรคที่สำคัญในประเทศเขตร้อน มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมียาใหม่ที่สามารถควบคุมการติดเชื้อและป้องกันการแพร่ของเชื้อได้ โครงการนี้จะนำไปสู่การสร้างมิติใหม่ในการพัฒนายาของไทย สร้างรากฐานสำคัญสำหรับการวิจัยพัฒนายารักษาโรคอื่นๆ ต่อไป” ดร.ณรงค์ระบุ
ด้าน ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เลขานุการโครงการทุนนักวิจัยแกนนำ กล่าวเพิ่มเติมว่า สวทช. ดำเนินโครงการทุนนักวิจัยแกนนำ ตั้งแต่ปี 2552 โดยให้การสนับสนุนทุนนักวิจัยแกนนำรวมทั้งสิ้น 15 โครงการ แต่ละโครงการมีผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพในระดับสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร การผลิตบุคลากรในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และหลังปริญญาเอก อีกทั้งยังมีการนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะแล้ว โดยในปี 2560 สวทช. ได้รับข้อเสนอโครงการจำนวน 17 โครงการของนักวิจัยชั้นแนวหน้าของประเทศจากหลากหลายสถาบัน ทุกโครงการได้ผ่านการพิจารณาอย่างเข้มข้น จากผู้เชี่ยวชาญและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการมาเป็นเวลานาน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของหัวหน้าโครงการ และศักยภาพที่จะนำทีมวิจัย ให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านวิชาการเข้ากับภาคการผลิตและบริการ ให้นำไปพัฒนาต่อยอดในเชิงสาธารณประโยชน์ หรือเชิงพาณิชย์ได้

 

Manager online 07.12.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร