Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สวทน. ดัน 6 แผนงานหลักขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0  

          สวทน.สนองนโยบาย รมว.วิทย์คนใหม่  ดัน 6 แผนงานหลักขับเคลื่อน ไทยแลนด์  4.0  ชี้เป็นกลไกกำหนดอนาคตประเทศ
          ดร.กิติพงค์   พร้อมวงค์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ตามที่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับสวทน. โดยมองว่า สวทน.เป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่ จัดทำยุทธศาสตร์และปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นกลไกหลักในการกำหนดอนาคตประเทศ  ดังนั้นจึงต้องมีความรอบคอบในการจัดสรรงบประมาณลงในโปรแกรมหรือในโครงการที่เกี่ยวข้องกับ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นลำดับต้น ๆ
โดย สวทน.ได้ตั้งเป้า 6 แผนงานหลักในการขับเคลื่อนประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0  คือ 1. การจัดสรรงบประมาณแผนงานสเปียเฮด  สำหรับโครงการนำร่องขนาดใหญ่ที่มีระดับความพร้อมของเทคโนโลยีในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในระดับ 5 ขึ้นไป ซึ่งหมายถึง เป็นโครงการที่งานวิจัยนั้นมีการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีการทดสอบในสภาพการใช้งานจริง ทั้งนี้เพื่อให้งานวิจัยเกิดเป็นผลงานที่ใช้ในอุตสาหกรรมได้จริง ซึ่ง รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ได้ให้นโยบายว่าให้มองกลไกตลาดเป็นหลักเพื่อขยายผลในเชิงพาณิชย์ 
 2. โครงการนวัตกรรมประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการที่จะส่งเสริมการขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมของกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี โดยการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี การให้คำปรึกษา รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณภาพและมาตรฐานของประเทศไทย (เอ็นคิวไอ) ที่เป็นระดับสากล เพื่อที่จะยกระดับ เอสเอ็มอี ให้สามารถแข่งขันระดับโลกได้ โครงการนี้จะได้รับการสนับสนุนเงินกู้ผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เอสเอ็มอี ประมาณ 10,000 ราย
 “เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ท่าน รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ให้นโยบายว่าควรทำให้แผนดำเนินงานโครงการนวัตกรรมประเทศไทย เกิดการประสานสอดคล้องกับโครงการสเปียเฮดและผลักดันเอสเอ็มอีที่มีความพร้อมก่อน นอกจากนี้ การขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าวจะต้องอาศัยความต้องการของตลาดเป็นหลักเพื่อให้สามารถขยายผลในเชิงพาณิชย์ได้จริง อย่างไรก็ตาม ท่านยังให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมฉับพลันมากยิ่งขึ้น ผ่านการสร้างแพลตฟอร์มใหม่ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอี มีช่องทางในการเข้าถึงและสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการจากการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมแบบฉับพลันได้” ดร.กิติพงค์ กล่าว
ส่วนแผนงานที่ 3 คือ การปฏิรูประบบวิจัย และ การผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบนิเวศน์ของการวิจัย  โดย สวทน.ได้รับมอบหมายให้ ศึกษาและผลักดันกฎหมายส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการให้ทุนวิจัยของเงินงบประมาณภาครัฐโดยเปิดโอกาสให้มีความยืดหยุ่นในการนำผลงานวิจัยที่เกิดจากเงินงบประมาณของภาครัฐไปใช้ได้ง่ายขึ้น  ซึ่งจะช่วยให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างหน่วยงานวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมและยังส่งเสริมให้นวัตกรสามารสร้างสรรค์นวัตกรรมออกมาได้มากขึ้น
4. การจัดงาน ซีอีโอ อินโนเวชั่น ฟอรั่ม เพื่อประกาศข้อมูล สถิติ และความก้าวหน้าของการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความตื่นตัวด้านการทำวิจัยให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยเชิญซีอีโอ ของบริษัทใหญ่ของประเทศไทยเข้าร่วมงาน ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมา ภาคเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งภาครัฐยังได้ออกมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนในด้านวิจัยและพัฒนาเพิ่มมากขึ้น และหากสามารถรักษาระดับของการเพิ่มขึ้นของการลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนา และการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนการลงทุนของภาคเอกชนได้ ประเทศไทยก็จะสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมได้ในที่สุด
 5. การส่งเสริมให้เกิดกลุ่มความร่วมมือด้านนวัตกรรมในด้านอุตสาหกรรม โดยมุ่งเป้าไปที่ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย  (S-Curve) และสร้างแพลตฟอร์ม ที่จะทำให้ชุดของนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เช่น โครงการสเปียเฮด หรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณภาพและมาตรฐานลงสู่การปฏิบัติได้
 และ  6. การขยายผลโครงการสำคัญเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0 อาทิ การขับเคลื่อนโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ ฟู้ดอินโนโพลิส ซึ่ง รมว.วิทยาศาสตร์ ได้แนะนำให้ทำงานเชิงรุกโดยการชักจูงให้บริษัทที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมจากประเทศชั้นนำ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ให้มาตั้งฐานในด้านอาหารที่ประเทศไทย เพื่อดึงดูดให้บริษัทอื่น ๆ ตามมาลงทุนต่อเนื่องในประเทศไทย ซึ่งหากสามารถขับเคลื่อนเมืองนวัตกรรามอาหาร ได้สำเร็จ ก็จะสร้างความมั่นใจว่า โครงการอย่าง เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จในอนาคตอันใกล้

 

Dailynews online 11.12.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร