Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิทย์เผยอาคันตุกะจากนอกระบบสุริยะปกคลุมไปด้วยวัตถุอินทรีย์  

          นักดาราศาสตร์เผย “โอมูอามูอา” ดาวเคราะห์น้อยรูปซิการ์จากนอกระบบสุริยะที่เราตรวจพบได้เป็นครั้งแรกนั้น ปกคลุมไปด้วยวัตถุอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบดาวฤกษ์ที่ดาวเคราะห์น้อยจากมา ซึ่งช่วยปกป้องชั้นน้ำแข็งภายในไม่ให้ระเหยเมื่อได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์
          เอเอพีรายงานว่านักดาราศาสตร์ได้เผยผลการอ่านค่าสเปกตรัมของ “โอมูอามูอา” (Oumuamua) ดาวเคราะห์น้อยจากนอกระบบสุริยะที่ตรวจจับได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์บนโลกเป็นครั้งแรกเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โดยข้อมูลสเปกตรัมแสดงให้เห็นว่าวัตถุอวกาศดังกล่าวมีชั้นวัตถุอินทรีย์หนาถึงครึ่งเมตร ซึ่งสามารถปกป้องน้ำแข็งที่อยู่ภายในวัตถุไม่ให้ระเหยเมื่อได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ได้
ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์ได้เปิดเผยว่าไม่พบสัญญาณสิ่งมีชีวิตต่างดาวหรือเอเลี่ยนจากหินอวกาศลูกนี้ แต่การวิเคราะห์อาคันตุกะจากต่างระบบครั้งนี้ยังดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โดยนักดาราศาสตร์มีสันนิษฐานมาอย่างยาวนานว่า วัตถุจากระบบดาวฤกษ์อื่นนั้นจะมีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดาวหางและมีส่วนประกอบเป็นน้ำแข็งเป็นหลัก ทว่าดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอาต่างไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าว
ดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอาซึ่งเป็นชื่อในภาษาฮาวายนั้นมีความหมายว่า “ผู้ส่งสาร” ถูกตรวจพบด้วยกล้องโทรทรรศน์บนโลกหลายตัวเมื่อเดือน ต.ค.2017 ที่ผ่านมา ซึ่งวิถีโคจรที่แปลกได้สร้างความประหลาดใจให้แก่นักดาราศาสตร์ ซึ่งสรุปในทันทีว่าเป็นวัตถุที่มาจากนอกระบบสุริยะของเราอย่างแน่นอน
โอมูอามูอาที่มีความยาว 400 เมตร และกว้างเพียง 40 เมตร จนดูเหมือนแท่งซิการ์นั้นไม่ได้ปลดปล่อยที่คล้าย “หาง” ของดาวหาง ซึ่งเป็นฝุ่นและน้ำแข็งที่หลอมละลายเมื่อผ่านดวงอาทิตย์ไปเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา บ่งบอกว่าผิวของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ไม่ใช่น้ำแข็ง และอาจจัดอยู่ในจำพวกดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีองค์ประกอบหลักๆ เป็นโลหะและหิน
สำหรับธรรมชาติที่แท้จริงของดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอานั้นยังคงเป็นปริศนา แต่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ยังไม่สามารถตัดคุณสมบัติการเป็นดาวหางของวัตถุต่างระบบดาวฤกษ์ดวงนี้ได้ โดยทีมวิจัยได้ระบุในวารสารวิชาการเนเจอร์แอสโตรโนมี (Nature Astronomy) ว่า ไม่สามารถตัดประเด็นองค์ประกอบน้ำแข็งภายในวัตถุอวกาศต่างถิ่นนี้ได้
ขณะนี้นักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบว่าวัตถุอวกาศรูปร่างแปลกประหลาดและไม่เคยเห็นมาก่อนนี้มีกำเนิดจากที่ใด แต่ได้ประเมินว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้น่าจะท่องอวกาศมาเป็นเวลาหลายพันล้านปีก่อนที่จะมาถึงระบบสุริยะของเรา โดยมีความเร็วอยู่ที่ 95,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
หากมองมุมด้านข้างในแนวระนาบที่ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเห็นว่าโอมูอามูอาเข้ามาในระบบของเราจากด้านบนด้วยมุมเกือบๆ 90 องศา แล้วตัดข้าไปด้านในของวงโคจรดาวพุธ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงในสุดของระบบสุริยะ และเหวี่ยงตัวกลับคืนเมื่อผ่านดวงอาทิตย์
อลัน ฟิตซ์ซิมมอนส์ (Alan Fitzsimmons) จากมหาวิทยาลัยควีนส์เบลฟาสต์ (Queen's University Belfast) สหราชอาณาจักร ผู้ร่วมวิจัยในครั้งนี้เผยแก่เอเอฟพีว่า ชั้นปกคลุมที่เสมือนเป็น “เสื้อตัวนอก” ของดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอานั้นมีองค์ประกอบที่เป็นคาร์บอนเป็นหลัก ซึ่งเกิดขึ้นจากวัตถุที่อุดมน้ำแข็งและคาร์บอน ซึ่งมีอยู่ในระบบดาวฤกษ์ที่เป็นถิ่นฐานเดิมของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้
“ชั้นปกคลุมนั้นสร้างขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างพื้นผิวเดิมของดาวเคราะห์น้อยและการกระหน่ำระเบิดโอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศด้านนอกระบบสุริยะเป็เวลาหลายล้านปีหรือหลายพันล้านปี มันยากที่จะรู้ได้ว่ามันประกบด้วยอะไรบ้าง แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเผ็นผงถ่านไปจนถึงกราไฟต์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไส้ดินสอ” ฟิตซ์ซิมมอนส์กล่าว ซึ่งคาร์บอนนั้นเป็นหนึ่งในธาตุที่พบได้ทั่วไปในเอกภพ
ฟิตซ์ซิมมอนส์ระบุว่า การค้นพบนี้น่าสนใจเพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า ดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอานั้นคล้ายวัตถุอุดมน้ำแข็งที่ถูกดีดออกจากระบบสุริยะของเราตลอดเวลาที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะนัยยะว่า แนวคิดทั่วไปของเราเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบดาวฤกษ์เมื่อตอนที่ระบบเริ่มก่อกำเนิดนั้น อาจจะถูกต้อง
นักวิทยาศาสตร์ยังระบุอีกว่าพวกเขาเชื่อว่า ดาวเคราะห์น้อยจากนอกระบบนั้นผ่านเข้ามาในระบบสุริยะของเราโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตประมาณปีละครั้ง สำหรับดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอานี้ได้ผ่านดาวอังคารไปเมื่อเดืน พ.ย.ที่ผ่านมา และจะผ่านดาวพฤหัสบดีในเดือน พ.ค.2018 ก่อนที่จะพ้นจากวงโคจรของดาวเสาร์ในเดือน ม.ค.2019

 

Manager online 19.12.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร