Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

วิธีสร้าง “แหล่งอาหาร” ในแบบไทยแลนด์ 4.0  

          อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ ยารักษาโรค สี่ปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของเผ่าพันธุ์มนุษย์ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลจนมาถึงปัจจุบัน ในอดีตมนุษย์ใช้แรงเพื่อให้ได้ปัจจัย 4 จากนั้นเราก็เรื่องรู้จักการใช้เครื่องมือเพื่อทุนแรง ใช้เครื่องจักรเพื่อเร่งการผลิต ใช้การแลกเปลี่ยนด้วยสิ่งของและเงินตราเพื่อได้สิ่งที่สำคัญต่อชีวิตเรา จนมาถึงยุคปัจจุบันยุคที่มนุษย์พัฒนาและใช้เทคโนโลยีในการจัดการและตอบสนองต่อชีวิต
          เข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เทคโนโลยีไม่เพียงทุ่นแรงแต่ยังช่วยคิดแทนเรา ซึ่งทำให้การเข้าถึงแหล่งอาหารที่เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 นั้นอัจฉริยะมากขึ้น ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์จะพาไปรู้จักนวัตกรรมที่เป็นผลผลิตจากนักวิจัยไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของ “เมืองอัจฉริยะ” (Smart City) ที่จะช่วยให้เราเข้าถึงอาหารได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น
เริ่มที่การทำเหษตรแบบอัจฉริยะ Smart Farm เพราะ ‘อาหาร’ ปัจจัยอันดับแรกในบรรดาปัจจัย 4 ซึ่งก่อนที่จะได้พืชอาหารหรือสัตว์อาหารมาก็ต้องมีพื้นที่สำหรับเพาะปลูก แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพื้นที่ไหน เหมาะแก่การเพาะปลูก เรื่อนี้นับเป็นปัญหา "ปวดสมอง" สำหรับเกษตรกรหลายๆ คนว่า ในพื้นที่ตัวเองครอบครองอยู่นั้นควรปลูกพืชชนิดไหนดีจึงจะเหมาะสม
ปัญหาดังกล่าวแก้ได้ด้วยงานวิจัยของ ธีรวิช ว่องทวี ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งได้สร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน Agi-Map และ Agi-Mobile เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกให้เกษตรและเจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลเชิงภูมิสารสนเทศด้านการเกษตรเพื่อจัดการบริหารพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"เว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นดังกล่าวเป็นระบบที่มีฐานของมูลที่ได้จากกระทรวงการเกษตรและกรมพัฒนาที่ดินครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งจะช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และสามารถช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดใจได้ว่า ในที่ดินของเกษตรกรนั้นควรจะปลูกพืขเศรษฐกิจชนิดใด หรือหากต้องการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นจะมีความเหมาะสมต่อพื้นที่หรือไม่ นอกจากนี้เมื่อเปิดเข้าไปในหน้าต่างของพืชที่แนะนำให้ปลูก จะบอกระดับความเหมาะสมให้ของพื้นที่ต้องการปลูก รายละเอียดการเพาะปลูกว่าต้นทุนและกำไรจากการเพาะปลูกเฉลี่ยเท่าไหร่ และยังบอกถึงแหล่งรับซื้อพืชเศรษฐกิจชนิดนั้นที่อยู่ใกล้เคียง โดยแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตรในรูปแบบสถิตติ กราฟ ตัวเลข" ธีรวิชอธิบายแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์
ทว่าพืชผลทางการเกษตรจะไม่สามารถส่งถึงมือของผู้บริโภคได้อย่างสมบูรณ์หากขาดเทคโนโลยีทางด้านอาหาร (Smart Food) อย่างถุงหายใจได้ (ActivePAK) ซึ่งเป็นนวัตกรรมจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) โดย ชนิต วานิกานุกูล นักวิเคราะห์โครงการของทางเอ็มเทค เล่าให้ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ฟังว่า ถุงหายใจได้เป็นถุงพลาสติกที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของพลาสติก เพื่อให้มีช่องว่างให้ไอน้ำและอากาศสามารถผ่านเข้าออกจากถุงได้ ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผักผลไม้และคงความสดของผักที่วางจำหน่ายบนชั้นวางได้ยาวขึ้น 2-5 เท่า หรือเฉลี่ย 7-14 วัน ขณะที่ถุงพลาสติกเจาะรูทั่วไปที่ใส่ผักได้เพียง 3 วัน
"นั่นเป็นเพราะเมื่อเราทำการเก็บเกี่ยวพืชผักผลไม้ พวกพืชผักยังหายใจอยู่และถุงพลาสติกที่ใช้กับอยู่ก็ขัดขวางการไหลเข้าของออกซิเจนและการไหลออกของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้พืชผักมีรสชาติผิดปกติ หรือถ้าเป็นถุงที่เจาะรูใหญ่ผักผลไม้ก็จะเหี่ยวเนื่องจากออกซิเจนเข้ามามากเกินไป ดังนั้นถุงหายใจได้จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะถุงชนิดนี้สามารถสร้างสภาวะรักษาความสดภายในบรรจุภัณฑ์ผ่านเทคโนโลยีการสร้างบรรยากาศดัดแปลงแบบสมดุล (Equilibrium Modified Atmosphere หรือ EMA) ทำให้สามารถรักษาความสดหรือคงคุณค่าของผลิตผลให้นานยิ่งขึ้น ภายใต้การควบคุมอุณหภูมิที่ดีและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ทำให้ลดปริมาณของเสียที่เกิดจากผักสด และสามารถนำถุงกลับมาใช้ต่อภายในบ้านซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง"
อาหารเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสุขภาพที่ดี แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารที่รับประทานเข้าไปมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะต่อร่างกาย หรือโรงเรียนจะจัดอาหารอย่างไรให้มีสารอาหารครบถ้วนสำหรับสำหรับเด็กนักเรียน ดังนั้นจึงต้องมีเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Smart Health) ในการมาช่วยวิเคราะห์ ซึ่งทาง ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์ และทีมห้องปฏิบัติการวิจัยติดตามสุขภาพและรูปแบบการดำเนินชีวิต หน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวภาพการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จึงได้พัฒนาระบบแนะนำอาหารกลางวันแบบอัตโนมัติหรือ Thai School Lunch
ระบบดังกล่าวพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้เทคนิคทางปัญญาประดิษฐ์ เพื่อช่วยโรงเรียนในการจัดอาหารกลางวันที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีคุณภาพ ดร.สุปิยายกตัวอย่างเมื่อเลือกประเภทอาหาร เช่น เลือกข้าวผัดและแกงจืด ระบบจะทำการคำนวณออกมาเป็นคุณค่าทางโภชนาการว่ามื้อกลางวันมื้อนี้มีคุณค่าทางสารอาหารเพียงพอหรือไม่ หากไม่พอระบบจะทำการแนะนำให้เพิ่มประเภทอาหารเข้าไปอีก และสรุปคุณภาพอาหารสำหรับมื้อนั้นออกมา
"หากในเมนูที่ทางโรงเรียนทำไม่มีในสำรับของระบบ ทางโรงเรียนสามารถเข้าไปกรอกในระบบประเมิณตำรับอาหารสำหรับโรงเรียนได้ โดยใส่ชื่อ ใส่ประเภทของอาหารว่าเป็นข้าว เส้นหรือขนมปัง จากนั้นใส่ส่วนผสมของตำรับ ทางระบบจะทำการประเมิณคุณค่าทางโภชนาการออกมา" ดร.สุปิยาอธิบาย
นอกจากนี้ ดร.สุปิยา เพิ่มเติมว่าถ้าทางโรงเรียนมีการวางแผนเรื่องประเภทอาหารประจำเดือนไว้แล้ว ระบบสามารถคำนวณปริมาณวัตถุดิบที่จะต้องซื้อและปรับราคาได้ตามจริง พร้อมสรุปคุณค่าทางอาหารและรายงานงบประมาณสำหรับค่าวัตถุดิบในการจัดสำรับอาหารต่อหัวต่อวันของโรงเรียน โดยทางโรงเรียนสามารถร่วมกับชุมชนในการทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยปลูกพืชที่นำไปปรุงเป็นอาหารของโรงเรียนในพื้นที่นั้นมากที่สุด อย่างเช่นหอม ถั่วฝักยาวหรือถั่วงอก เพื่อเป็นการลดต้นทุนเรื่องการเดินทางไปซื้อวัตถุดิบของทางโรงเรียนและยังทำให้คนในชุมชนมีรายได้
สำหรับผลงานที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งแสดงเจตจำนงที่จะมุ่งตอบโจทย์ “ไทยแลนด์ 4.0” โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. เผยภายหลังเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. ครบ 1 ปี ว่า สวทช. มีบทบาทในการวิจัยและพัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2560 สวทช.มีผลงานวิจัยเด่นๆ ที่ตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 ทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ Smart Farm – ผลงานภาคเกษตร, Smart Food - ผลงานด้านอาหาร , Smart Health - ผลงานด้านสุขภาพ , Smart Energy - ผลงานภาคพลังงาน และSmart Industry - ผลงานภาคอุตสาหกรรม

Manager online 19.12.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร