Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

คอกาแฟเฮ!นักวิจัยพบสารลดไขมันในเนื้อกาแฟสู่ 2ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  

          มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รับโจทย์เอกชนวิจัยเพิ่มมูลค่าเนื้อกาแฟ ซึ่งเข้มข้นด้วยสารสำคัญช่วยลดการดูดซึมไขมันในตับ ส่งต่อองค์ความรู้ให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนา 2 ผลิตภัณฑ์รับเทรนด์สุขภาพ หวังต่อยอดวิจัยเชิงคลินิกต่อยอดเชิงพาณิชย์ในตลาดโลกด้วย วทน.
          เนื้อกาแฟ (Coffee Pulp) เป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตกาแฟ ที่บางรายนำไปทิ้งเป็นขยะหรือนำไปเป็นปุ๋ย แต่บางครั้งก็ใช้ไม่ได้เพราะมีกรดมากเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมอย่าง “ฮิลล์คอฟฟ์” ธุรกิจกาแฟครบวงจรรายใหญ่ในภาคเหนือซึ่งครอบคลุมถึงบริการฝึกอบรมการชงเครื่องดื่มรวมถึงบริการซ่อมเครื่องชงกาแฟด้วย มุ่งมองหางานวิจัยที่จะมาตอบโจทย์โดยในช่วงแรกพัฒนาเป็นกาแฟเชอร์รี่และยังต้องการพัฒนาต่อในเชิงลึก
สารยับยั้งคลอเลสเตอรอล
“โครงการวิจัยเชิงลึกเพิ่มมูลค่าเนื้อกาแฟ ได้รับทุนวิจัยอินโนเวชั่นฮับจากโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) พบว่า ในเนื้อกาแฟอุดมด้วยสารโพลีฟีนอลที่ชื่อว่า คลอโรเจนิก แอซิด (Chlorogenic Acid) มีฤทธ์ที่น่าสนใจในการลดคลอเลสเตอรอล” ผศ.ชุติมา ศรีมะเริง อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงที่มาของงานวิจัย
ขณะเดียวกันในเนื้อกาแฟยังมีสารสำคัญอีกหลายตัว อาทิ สารอิพิคาเซซินที่พบในชาเขียว ทีมวิจัยจึงศึกษาเชิงลึกในเซลล์เพาะเลี้ยงของมนุษย์ ซึ่งเป็นเซลล์ตับ เซลล์ลำไส้และสัตว์ทดลอง ตามลำดับ ผลการศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยงพบฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการดูดซึมคลอเลสเตอรอลในลำไส้ ที่จะช่วยลดภาวะไขมันพอกตับที่มักพบในคนอ้วนและผู้ป่วยเบาหวาน
ในขณะที่ผลการทดลองในสัตว์ทดลอง ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ยาลดไขมันมาตรฐาน กลุ่มที่ใช้สารคลอโรเจนิก แอซิดจากเนื้อกาแฟ และกลุ่มที่ใช้สารออกฤทธิ์จากเนื้อกาแฟร่วมกับยาลดไขมันมาตรฐาน
ผลการทดลองพบว่า ใน 2 กลุ่มแรก สามารถลดไขมันได้ราว 50% ในขณะที่สัตว์ทดลองกลุ่มที่ใช้สารคลอโรเจนิก แอซิดร่วมกับยาลดไขมันมาตรฐานนั้นสามารถลดไขมันได้ถึง 70% นอกจากนี้ เมื่อทดสอบในหนูที่เป็นโรคอ้วนและมีภาวะดื้ออินซูลิน พบว่า สารนี้มีฤทธิ์ในการลดภาวะดื้ออินซูลินอีกด้วย
เมื่อพบสารสำคัญที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อยอด ผศ.ชุติมา จึงส่งต่อโจทย์ให้กับนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำสารสำคัญพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ โดยคงฤทธิ์ของสารให้มากที่สุด
“เราพัฒนากระบวนการผลิต และสูตรของผลิตภัณฑ์ โดยใช้กระบวนการทำแห้งออกมาเป็นผงชงดื่ม และเครื่องดื่มสกัดเข้มข้นแบบพร้อมดื่ม โดยต้องแก้ปัญหาของเนื้อกาแฟที่มีรสเปรี้ยว เฝื่อน ไม่อร่อย” กาญจนา นาคประสม นักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อธิบาย พร้อมชี้ว่า หลังจากลองผิดลองถูกสูตรต่างๆ กระทั่งพบสูตรที่สารสำคัญยังอยู่ครบ รสชาติดีโดยอาสาสมัครทดสอบแล้วได้รับการยอมรับที่สุด
หวังขยายทดสอบทางคลินิก
จากผลผลิตที่ได้ในอุตสาหกรรมกาแฟที่ไม่มีมูลค่าเลย กระทั่งพบคลอโรเจนิกแอซิดที่มีถึง 11 กรัมในเนื้อกาแฟ 1 กิโลกรัมนั้น จะตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการลดการดูดซึมคลอเลสเตอรอลหรือลดเสี่ยงไขมันพอกตับ ทำให้มีโอกาสที่จะต่อยอดเชิงพาณิชย์สำหรับตลาดในประเทศในรูปของอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ
“หากแต่ผู้ประกอบการอย่างฮิลล์คอฟฟ์ ไม่ได้มองแค่ตลาดในประเทศ แต่ต้องการที่จะส่งออก เพราะตัวผลิตภัณฑ์มีโอกาสบนเวทีโลก โดยเฉพาะในยุคที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ จึงต้องการต่อยอดสู่การทดสอบทางคลินิกแบบครบวงจร เพื่อศึกษาสารคลอโรเจนิก แอซิดแกับไขมันและคลอเลสเตอรอลทั้งระบบ คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 10 เดือน แม้จะต้องใช้งบวิจัยสูงแต่มีโอกาสที่จะสร้างรายได้ในตลาดโลก เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างมาก” นักวิจัย กล่าว
โครงการวิจัยนี้ดำเนินการแล้วเสร็จและอยู่ระหว่างขั้นตอนจดอนุสิทธิบัตร 4 ชิ้น ทีมวิจัยยังมีแผนการที่จะต่อยอดแตกไลน์จากสารคลอโรเจนิกแอซิด ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็มีโจทย์วิจัยอีกมากจากเมล็ดกาแฟเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตทางการเกษตร สร้างรายได้ สร้างโอกาสทางการตลาดทั้งในไทยและตลาดโลก

Bangkokbiznews 20.12.17

 

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร