Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

กล้วยผง-สีจากดิน วิทย์สร้างโอทอปอัจฉริยะ  

          กล้วยผงเพิ่มโปรไบโอติกของสมุทรสงครามแก้ปัญหากล้วยราคาต่ำ หรือผงสีย้อมธรรมชาติจากดินนาคาของอุดรธานี นอกจากเพิ่มมูลค่าให้สินค้าพื้นบ้านแล้วยังเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตของชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นได้ด้วย เป็นตัวอย่างความสำเร็จในการสร้างเอสเอ็มอีและโอทอปอัจฉริยะ จากโครงการทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรมของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช.
          วิทยาศาสตร์เพื่อสังคมและเศรษฐกิจฐานราก ได้ผลิดอกออกผลจากการผลักดันวิสาหกิจชุมชนให้ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาท้องถิ่น เกิดเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สร้างรายได้และเพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นหนึ่งในนโยบายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ตอบรับนโยบายรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำ
กล้วยผงแก้ปัญหาเกษตรกร
ในพื้นที่สมุทรสงครามเริ่มส่งเสริมการปลูกกล้วยน้ำว้าเขียวเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น มีลักษณะสีเขียว ปลายจุกแหลม รสชาติเหมาะแก่การบริโภคทั่วไป แต่เมื่อชาวบ้านจากวิสาหกิจชุมชนบ้านสบายใจ สมุทรสงครามที่ปลูกกล้วยน้ำว้าเขียวเป็นรายได้หลักของท้องถิ่นพบว่า เริ่มมีการปลูกกล้วยเพิ่มทำให้มีโอกาสที่จะราคาตกและล้นตลาด อีกทั้งกล้วยสดมีอายุการเก็บรักษาสั้นเพียง 1 สัปดาห์ จึงมองหาวิธีที่จะเพิ่มมูลค่า
ในช่วงแรกวิสาหกิจชุมชนบ้านสบายใจ เข้าร่วมโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีอาจารย์พิสุทธิ์ บุตรสุวรรณ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา โจทย์คือ เครื่องดื่มในลักษณะกล้วยผงชงสำเร็จรูป ที่ใช้กล้วยเป็นวัตถุดิบหลักและให้คงกลิ่นกล้วยไว้เป็นเอกลักษณ์
แต่ปัญหาสำคัญของการผลิตกล้วยผง ด้วยวิธีการอบแห้งและบดแบบเดิมๆ คือ ละลายน้ำได้ยาก มีรสขม มีสีน้ำตาล และมีกลิ่นเหม็นหืน จึงขอรับทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรมของ สนช. นำเทคโนโลยีด้านอาหารนำมาปรับปรุงการละลายของผงกล้วย ทีมวิจัยใช้แป้งจากธัญพืช (มอลโทเดกซ์ทริน) ร่วมกับการออกแบบสูตรในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์กล้วยผงชนิดละลายทันทีหรือละลายดีที่สุดไม่ต่ำกว่า 85%
จุดเด่นของกล้วยผงคือ คุณค่าทางโภชนาการสูงจากอินนูลินและโอลิโกฟรุกโตส สารสำคัญที่ทำให้มีดัชนีน้ำตาลต่ำ และคุณสมบัติเป็นแป้งทนการย่อย ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก เสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โพรไบโอติกช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ผลิตเอนไซม์ย่อยสารอาหารและสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
ปัจจุบัน เครื่องดื่มกล้วยผงถูกต่อยอดเชิงพาณิชย์ภายใต้แบรนด์ ดีปาษณะ และนำไปทดลองตลาดเบื้องต้นในร้านขายของฝากที่ตลาดน้ำอัมพวาและห้างสรรพสินค้า พบว่า ผู้บริโภคตอบรับดีทั้งรสชาติ คุณค่าทางโภชนาการและราคาที่ยอมรับได้ นับเป็นการนำสินค้าท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์และเรื่องราวสร้างธุรกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน
สีย้อมผ้าจากดิน
ขณะที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมสีครามธรรมชาติจากอุดรธานี ก็เป็นอีกหนึ่งแห่งที่ขอรับทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรม เมื่อต้องเผชิญปัญหาแข่งขันสูง จึงต้องปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้แข่งขันได้โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนการผลิตโดยมี รศ.สุพรรณี ฉายะบุตร ศูนย์วิจัยวัสดุเพื่องานศิลปะและออกแบบ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นที่ปรึกษา
คณะวิจัยมองเห็นจุดแข็งจากภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ปัญหาคือ กระบวนการผลิตใช้เวลานาน จากขั้นตอนการย้อมและเทคนิคที่ซับซ้อนและสีไม่สม่ำเสมอ จึงไม่ตอบความต้องการลูกค้าที่มีอยู่จำนวนมาก ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมสีครามธรรมชาติ จึงมีแนวคิดในการนำดินนาคา ซึ่งเป็นดินที่อยู่ในท้องถิ่นมาใช้เป็นสีย้อมให้เกิดความสม่ำเสมอ
การพัฒนาในครั้งนี้ เป็นการออกแบบระบบการผลิตสีผงธรรมชาติดูดซับด้วยดินนาคาสำหรับตกแต่งสิ่งทอ โดยใช้เทคโนโลยีการดูดซับสารให้สีธรรมชาติลงบนพื้นผิวของดินนาคา ได้เป็นสีย้อมธรรมชาติที่ละลายน้ำได้กว่า 20 เฉดสี สามารถใช้วิธีการย้อมเย็นไปประยุกต์ใช้ในงานย้อมและงานพิมพ์สิ่งทอได้หลากหลาย
ผลการทดลองการนำดินนาคามาเป็นตัวดูดซับสีย้อม ทำให้ผ้าที่ผ่านการย้อมให้สีสม่ำเสมอและคงทน เนื่องจากมีโครงสร้างที่ช่องว่างในการดูดซับสีได้ และสามารถปลดปล่อยออกมาในการย้อมสี ถือเป็นนวัตกรรมการผลิตผงสีดินที่เกิดเป็นธุรกิจใหม่ให้กับชุมชน

Bangkokbiznews 10.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร