Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เปิดงาน EECi แฟร์ สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่  

          เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561 ที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี/ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และภาคเอกชนในพื้นที่จัดงาน “มหกรรมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” หรือ “EECi แฟร์”  ชึ้น โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นประธานเปิดงาน
          ดร.สุวิทย์  กล่าวว่า  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  เล็งเห็นว่าการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก จะเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และกำลังคนของประเทศและภูมิภาค ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการในการพัฒนาทุกมิติของประเทศได้อย่างแท้จริง  ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในส่วนของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน เพื่อส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการนำพาประเทศก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0
ทั้งนี้ ในการพัฒนาพื้นที่ EEC ไม่ได้จำกัดเป้าหมายแค่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ด้านกฎหมายกฎระเบียบ และสิทธิประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชนเพื่อให้เกิดการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเท่านั้น  หากแต่มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ ประชาชนในพื้นที่จะต้องมีวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการยกระดับรายได้และมีความเป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย ซึ่งประเด็นสำคัญที่ท้าทายในการพัฒนาพื้นที่ EEC คือการพัฒนาภาคการเกษตรและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะได้รับผลกระทบจากการพัฒนา EEC มากที่สุดทั้งในส่วนของการใช้ทรัพยากรน้ำ ดิน และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะส่งผลให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมจากการพัฒนา ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ EEC ให้มากที่สุดตั้งแต่เริ่มต้นการดำเนินงาน   เพื่อหาจุดร่วมที่สมดุลย์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
ด้าน ดร.อานนท์   สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการจิสด้า กล่าวว่า  การที่ EEC เป็นโครงการขนาดใหญ่ทำให้ภาคประชาชน ภาคอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดความวิตกกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อสังคมในเชิงเศรษฐกิจฐานรากหรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องทรัพยากรป่าไม้ ทะเล ชายฝั่ง ทรัพยากรน้ำ และอื่นๆ ดังนั้น การที่เราจะวิเคราะห์เรื่องต่างๆ เหล่านี้ได้ เราจะไม่ใช้กลไกเดิมๆ ได้อีกต่อไป เนื่องจากกลไกในรูปแบบเดิมนั้นจะเน้นที่การเชิญผู้เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมเป็นหลัก แต่โครงการนี้จะมีผู้เกี่ยวข้องมากมาย และอาจจะมีเป็นหมื่นโครงการ ดั้งนั้น เราจึงต้องมีระบบที่เป็นกลไกในการมาสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และหาผลกระทบในด้านต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ระบบที่ว่านี้ต้องมี intelligence..
“เพราะฉะนั้นสิ่งที่จิสด้าจะทำในวันนี้ คือเราจะพัฒนาระบบที่มี intelligence policy platform คือ เป็นระบบที่ใช้ปัญญาของมนุษย์ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาผสมผสานกัน เพื่อเสริมหรือทดแทนกลไกเดิมๆ ที่เราเคยใช้กัน เช่น การจัดประชุม เป็นต้น ระบบนี้นอกจากจะช่วยย่อยและสังเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังทำให้มนุษย์สามารถมองได้รอบด้านอย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการวางแผน และการตัดสินใจ เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงที่เราเรียกว่า actionable ดังนั้น สิ่งที่จิสด้าพยายามผลักดันร่วมกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(สกรส.) คือการทำให้พื้นที่ EEC มี actionable intelligence policy platform หรือ AIP platform นั่นเอง สิ่งที่เรากำลังทำเป็นสิ่งค่อนข้างใหม่ นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมเราต้องมี Thailand 4.0 “
ดร.อานนท์  กล่าวอีกว่า Thailand 4.0  เราต้องเดินหน้าโดยใช้นวัตกรรมของเราเอง เพราะฉะนั้น AIP platform จึงเป็นนวัตกรรมเชิงพื้นที่ ในระยะแรกๆ อาจจะมีการพึ่งพาเทคโนโลยีของต่างประเทศด้วยแต่จะเป็นการเชื่อมโยงกันและกัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีในเรื่อง intelligence ซึ่งมีการใช้กันมากในเทคโนโลยีทางการทหาร แต่เราไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง เราจึงเอา intelligence นี้  มาใช้ในการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ซึ่งภายใน 6 เดือนนี้ จะสามารถใช้ได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมของเราสามารถทำได้จริง และประมาณ 2 ปีนับจากนี้ จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเกิดความเข้าใจและยอมรับ โดยเราไม่ต้องไปใช้ทางกายภาพแบบเดิมๆ
สำหรับงาน EECI แฟร์ที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ หรือ SKP ในครั้งนี้  จิสด้ามีเป้าหมายในการร่วมพัฒนาพื้นที่ EEC อย่างยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน ภายในงานมหกรรม EECi แฟร์ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ นิทรรศการอนาคต EEC ในอีก 20 ปีข้างหน้า การแสดงสินค้านวัตกรรมโอทอปในพื้นที่ EEC  การสัมมนาผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน (บ.ว.ร. 4.0) ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน  และการเสวนาเทคโนโลยีระบุตำแหน่งด้วยความแม่นยำสูงนิยามใหม่เพื่อสังคมแห่งอนาคต รวมถึงกิจกรรมแข่งขันนักวางแผนและพัฒนา EEC และจังหวัดภาคตะวันออก ระดับ เยาวชนครั้งที่ 2 ชิงโล่เกียรติยศนายกรัฐมนตรี   และ  การแข่งขันโครงการอาชีวะสร้างชาติเกษตรอัฉริยะ   
ทั้งนี้ตั้งเป้า ตลอดการจัดงาน 5 วันจะมีผู้เกี่ยวข้องมาร่วมไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ที่จะเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ รวมทั้งแสดงความคิดเห็น  โดยงาน EECi แฟร์  ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 14 มกราคม 2561 ที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Dailynews online 11.01.18

 

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร