Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

วันเด็กแคนาดา “ส.ส.” ต้องไปรับฟังเด็กคนละ 1 ชม.ส่วนวันเด็กไทยนึกถึงแค่ของเล่นและของกิน  

         ผลสำรวจชี้ชัด “วันเด็กไทย” นึกถึงแค่รางวัล ของเล่น ของกิน กิจกรรม ความสุข และคำขวัญ พบ “วินัย เรียนดี ชาติ คุณธรรม” กลุ่มคำขวัญยอดฮิตตลอด 61 ปี ผิดต่างจากวันเด็กต่างชาติ พบออกนโยบายแก้ปัญหาเด็ก - เยาวชนแง่มุมต่างๆ ดึงเด็กมีส่วนร่วม รับฟังเสียงของเด็ก ชี้ “แคนาดา” ส.ส. ต้องไปรับฟังเสียงเด็กโรงเรียนต่างๆ คนละ 1 ชั่วโมง แนะปฏิรูปงานวันเด็ก ดนเน้นนโยบายและการมีส่วนร่วมของเด็ก
          วันนี้ (11 ม.ค.) ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ “วันเด็ก ... ขอนโยบายดีกว่าคำขวัญ” โดย ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว กล่าวว่า งานวันเด็กของประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นเวลา 61 ปี ส่วนใหญ่จะเน้นกิจกรรมการละเล่นที่แต่ละหน่วยงานจัดขึ้น และการให้คำขวัญวันเด็กจากทุกรัฐบาล โดยพบ 6 คำสำคัญที่ถูกใช้ซ้ำ อันดับ 1 วินัยและการเรียน 18 ครั้ง ตามด้วยชาติ 17 ครั้ง คุณธรรม 15 ครั้ง ขยัน 11 ครั้ง ประหยัด สามัคคี ซื่อสัตย์ 9 ครั้ง และประชาธิปไตย 4 ครั้ง ซึ่งล้วนเป็นการสะท้อนถึงสิ่งที่ผู้ใหญ่ในสังคมคาดหวังต่อเด็กมาทุกยุคสมัย
ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวว่า ขณะที่ข้อค้นพบที่น่าสนใจกรณีวันเด็กใน 11 ประเทศ พบว่า มีการจัดทำนโยบายที่สำคัญด้านเด็ก การเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และการรับฟังเสียงเด็ก โดย 1. ประเทศอังกฤษ เด็กมีส่วนร่วมจัดกิจกรรม เช่น จัดตั้งกองทุนอิสระ #iwill เพื่อส่งเสริมให้เด็กเยาวชนอายุ 10 - 20 ปี เป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม 2. โรมาเนีย เด็กมีส่วนร่วมลดความรุนแรงในโรงเรียนและพัฒนาคู่มือเล่นเกมสำหรับใช้จัดกิจกรรมในสถานศึกษา 3. ฝรั่งเศส มีมาตรการที่ชัดเจนในการแก้ปัญหาเด็กเยาวชน เช่น แก้ปัญหาเด็กติดมือถือ โดยออกเป็น “กฎระเบียบ ก.ย. 2018” ห้ามนักเรียนชั้นประถมและมัธยมต้นใช้มือถือในโรงเรียน เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว สมาธิสั้น ไม่ออกกำลังกาย 4. ไอซ์แลนด์ แก้ปัญหาวัยรุ่นเป็นนักดื่มหนักที่สุดในยุโรป โดยโครงการ Youth in Iceland สามารถทำให้สถิติวัยรุ่นดื่มสุรา บุหรี่ และยาเสพติด ลดลงอย่างชัดเจน ผ่านการส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์
5. ลัตเวีย พยายามลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของชาวโรมาชนกลุ่มน้อยผ่านโครงการฝึกครูผู้ช่วยชาวโรมา เพื่อส่งเสริมให้เด็กโรมาเรียนร่วมกับนักเรียนคนอื่น และพัฒนาชาวโรมาให้เป็นครูผู้ช่วยเพื่อดึงเยาวชนเข้าสู่ระบบการศึกษา 6. สหรัฐอเมริกา เน้นการแก้ปัญหายาเสพติด เพศ และการฆ่าตัวตายในกลุ่มเด็กเยาวชน จึงทำโครงการ Let’s Talk รณรงค์การพูดคุยในครอบครัวเชิงบวก 7. ฟินแลนด์ มี พ.ร.บ. สวัสดิการเด็ก เพื่อปฏิรูปการดูแลเด็กทั่วประเทศ ทั้งสิทธิการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของเด็ก เงินสนับสนุนเด็กและครอบครัว และกิจกรรมสร้างสรรค์ 8. ออสเตรเลีย ออกกฎหมายและตั้งคณะกรรมการอิสระ รักษาความปลอดภัยสำหรับเด็กบนโลกออนไลน์ พร้อมกับมีบริการสายด่วนให้คำปรึกษาเด็กเยาวชนเพื่อป้องกันความรุนแรงบนโลกไอที
9. สวีเดน รับฟังเสียงเด็ก โดยมีการสำรวจความคิดเห็นเด็ก 12 - 16 ปี ทั่วประเทศ ในโครงการ Young Voices เพื่อนำไปสื่อสารกับผู้กำหนดนโยบายจากเสียงของเด็กเยาวชน 10. เยอรมนี ใช้โอกาสวันเด็กรณรงค์เรื่องสิทธิเด็ก เช่น ปี 2017 ใช้ชื่อ Give children a voice เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อสภาในการกำหนดนโยบาย และ 11. แคนาดา มี “วันพา ส.ส. ไปโรงเรียน” เป็นกิจกรรมประจำวันเด็กแคนาดา โดย ส.ส. จะต้องเยี่ยมโรงเรียนในพื้นที่ตนเอง 1 ชั่วโมง เพื่อเปิดโอกาสให้ ส.ส. และนักเรียนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้จักกันและกัน
“สำหรับวันเด็กไทย จากผลสำรวจความคิดเห็นเด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป ในหัวข้อ “วันเด็ก...ขอนโยบายดีกว่าคำขวัญ” จำนวน 1,503 คน ระหว่างวันที่ 25 ธ.ค. 2560 - 8 ม.ค. 2561 พบว่า เมื่อพูดถึงวันเด็กคนส่วนใหญ่นึกถึงของขวัญ เช่น รางวัลและของเล่น ตามด้วยของกิน กิจกรรม ความสุข และคำขวัญ ส่วนคำถามนโยบายสำคัญสำหรับเด็กที่ผ่านมา 3 อันดับแรก คือ การสนับสนุนการศึกษา ตามด้วยไม่ทราบ และการส่งเสริมคุณธรรม ขณะที่คนส่วนใหญ่มองว่านโยบายที่สำคัญสำหรับเด็กในอนาคตคือ เรื่องการศึกษา โดยมีผู้ตอบถึง 23% เช่นเดียวกับความคาดหวังต่อรัฐบาลที่อยากให้สนับสนุนยังคงเป็นเรื่องการพัฒนาการศึกษาถึง 33%” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ มุมมองของคนในสังคมยังให้ความสำคัญกับเด็ก โดยคนส่วนใหญ่มองว่าวันเด็กของไทยเป็นแสดงถึงความรักเด็ก 71% ส่วนที่มองว่าหลอกเด็ก 28% และไม่ตอบ 1% ส่วนคำถามกิจกรรมวันเด็กส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก 75% เห็นด้วย ขณะที่ 25% ไม่แน่ใจและไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ 57% มองว่าสังคมไทยเปิดโอกาสและมีช่องทางให้เด็กได้แสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองประเทศไทยมีระบบการศึกษาและวัฒนธรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ตอบโจทย์ศักยภาพเด็ก 45% เห็นด้วย 27% ไม่เห็นด้วย และ 28% ไม่แน่ใจ ส่วนมุมมองกฎหมายไทยช่วยปกป้องคุ้มครองเด็กอย่างเท่าเทียม 48% เห็นด้วย 34% ไม่แน่ใจ และ 18% ไม่เห็นด้วย
ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งทั้งกฎหมายคุ้มครองเด็กที่ก้าวหน้า ดูแลเด็กทุกช่วงวัย มีกองทุนสำหรับเด็กด้อยโอกาส อย่างไรก็ตาม หากดูจากสิทธิเด็กทั้ง 4 ด้าน จะพบว่า 1. สิทธิการมีชีวิตรอด เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีของไทย 10.5% หรือ 3.9 แสนคนมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 2. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา โดยพบว่า เด็ก 2 ใน 10 ไม่ได้เข้าเรียนในหลักสูตรปฐมวัย ทั้งที่เป็นวัยรากฐานของการพัฒนาสมองและพัฒนาการที่สำคัญ 3. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง ซึ่งพบว่าเด็ก 8 ใน 10 คน เคยถูกใช้ความรุนแรงด้านร่างกายและจิตใจจากคนในครอบครัว และเกินครึ่งเคยได้รับการอบรมโดยการทำร้ายร่างกาย และ 4. สิทธิการมีส่วนร่วม โดยมุมมองของเด็กที่มีต่อการมีส่วนร่วมพบว่า วัฒนธรรมห้ามเถียง ไม่เชื่อว่าเด็กทำได้ ดังนั้นจึงไม่อยากให้วันเด็กเป็นเพียงกิจกรรม ทิศทางวันเด็กในปีต่อไปควรปฏิรูปงานวันเด็กให้มีนโยบายและทิศทางสำหรับเด็ก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กอย่างแท้จริง

Manager online 11.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร