Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไอดีซีเผย '10 เทรนด์ดิจิทัล' อิทธิพลแรงลงทุนไอทีไทย   

          ไอดีซีประเทศไทยคาดการณ์ว่า การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไปในอนาคต
         จาริตร์ สิทธุ หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการ บริษัท ไอดีซี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของไทย ทำให้การลงทุนด้านไอทีปี 2561 สามารถเติบโตขึ้นไปแตะที่ระดับ 4.4 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 2.8% จากปีก่อนหน้า และมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่องไปสู่ระดับ 4.7 แสนล้านบาทได้ภายในปี 2564
ขณะที่ปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 4.28 แสนล้านบาท เติบโต 12.4% จากปี 2559 ผลักดันโดย “สมาร์ทโฟน” ซึ่งสร้างสัดส่วนกว่า 40%
อย่างไรก็ดี องค์กรที่จะสามารถแข่งขันและเติบโตได้ในเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation Economy) จะต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้กลายเป็นองค์กรดิจิทัลโดยสมบูรณ์ (Digital Native Enterprise) เพื่อเพิ่มความสามารถในการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม จนนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ในที่สุด
“เรากำลังเห็นหลายๆ องค์กรในประเทศไทยปรับตัวเพื่อสร้างและเพิ่มความสามารถด้านดิจิทัล โดยเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีการทำงาน พัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ตลอดจนวิธีการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในเศรษฐกิจดิจิทัล”
สำหรับ 10 แนวโน้มเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ต่อเนื่องไปถึงการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อก้าวไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไปประกอบด้วย
อันดับแรก แพลตฟอร์มดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ภายในปี 2563 องค์กรขนาดใหญ่ 20% ของไทยจะมีการกำหนดกลยุทธ์การสร้าง “แพลตฟอร์มดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” ที่ชัดเจนและจะเริ่มดำเนินการติดตั้งแพลตฟอร์มนี้เพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัล
ขณะที่ 2. โอเพ่นเอพีไอ ภายในปี 2564 มากกว่า 1 ใน 3 ของ 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของไทยจะพบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว 1 ใน 3 ของการใช้งานบริการดิจิทัลของตนจะผ่านระบบเอพีไอแบบเปิด โดยเพิ่มขึ้นจากแทบ 0% ในปี 2560 ซึ่งทำให้สามารถขยายบริการดิจิทัลให้ไปได้ไกลกว่าแค่เฉพาะลูกค้าของตนเท่านั้น
3. ธุรกิจดิจิทัล ภายในปี 2561 ผู้บริหารด้านไอที 30% จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า การสร้างรายได้จากดาต้า และการสร้างธุรกิจดิจิทัล โดยถือว่าเป็นวาระสำคัญขององค์กร
แนวโน้มที่ 4. คลาวด์ 2.0 จะกระจายตัวและเฉพาะทางมากขึ้น โดยภายในปี 2564 การลงทุนขององค์กรในบริการคลาวด์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการที่ใช้งานผ่านคลาวด์ จะเพิ่มจนสูงกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท โดยจะใช้งานระบบคลาวด์ที่หลากหลายขึ้น ซึ่งจะอยู่ที่ “เอดจ์” 15% จะมีการใช้เครื่องมือคอมพิวต์เฉพาะทาง (ไม่ใช่ X86) กว่า10% และจะมีการใช้งานมัลติคลาวด์กว่า 30%
5. ความเสี่ยงและการสร้างความเชื่อมั่น ภายในปี 2561 ผู้บริหารด้านไอที 30% จะหันกลับมาสนใจการตรวจสอบผู้ใช้งานระบบและการสร้างความเชื่อมั่นในระบบไอที เพื่อบริหารความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งจะทำให้ระบบไซเบอร์ซิเคียวริตี้เดิมที่ไม่สามารถปกป้องดาต้าได้นั้นถูกปลดระวางไป
นอกจากนี้ 6.บุคลากรที่มีความสามารถด้านดิจิทัล ภายในปี 2563 ตำแหน่งงานด้านเทคนิคที่เปิดใหม่ 25% จะต้องการผู้สมัครที่มีทักษะการวิเคราะห์และเอไอ เพื่อช่วยองค์กรให้ดำเนินโครงการทรานส์ฟอร์เมชั่นที่เกี่ยวข้องกับดาต้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องว่าจ้างบุคลากรด้านดาต้าโดยเฉพาะ
7.ผู้ช่วยดิจิทัล ภายในปี 2562 ผู้ช่วยดิจิทัลและบอทจะมีส่วนเกี่ยวข้องเพียงแค่ 3% ของธุรกรรมทั้งหมด แต่จะช่วยสร้าง 10% ของยอดขาย ซึ่งจะช่วยผลักดันให้องค์กรที่ใช้งานเทคโนโลยีนี้ให้เติบโตได้
ประการที่ 8. เทคโนโลยี 5จี และ โมบายไอโอที ภายในปี 2564 บริการ 5จี จะช่วยผลักดันการใช้งานอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ และจะกระตุ้นให้ 50% ของ 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของไทยลงทุนในโซลูชั่นด้านการจัดการการเชื่อมต่อเป็นมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท
9. ไอโอทีซิเคียวริตี้ภายในบ้าน ภายในปี 2563 กว่า 22% ของโซลูชั่นไอโอทีภายในบ้านที่ติดตั้งด้วยตนเองจะถูกเจาะระบบ แต่จะมีเพียง 12% ของโซลูชั่นไอโอทีภายในบ้านที่ติดตั้งโดยผู้ให้บริการเท่านั้นที่จะถูกเจาะ
สุดท้าย 10. การชำระเงินผ่านโมบาย ภายในปี 2563 อุปกรณ์เคลื่อนที่จะกลายเป็นเทอร์มินัลรับชำระเงินโดยพฤตินัยในประเทศไทยและในหมู่ผู้ประกอบการขนาดย่อมที่เกิดใหม่ โดยการใช้งานนี้จะผลักดันให้รายได้ของผู้ประกอบการขนาดย่อมเติบโตขึ้น 10%
สุเดฟ บังกาห์ ประธานบริหาร ประจำภูมิภาคอาเซียน ไอดีซี กล่าวเสริมว่า องค์กรในประเทศไทยจำเป็นต้องยกระดับการทรานส์ฟอร์มและการสร้างนวัตกรรมขึ้นไปอีก เพราะการแข่งขันที่จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ไอดีซีเชื่อว่าจะมีองค์กรจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ยกดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นให้เป็นส่วนสำคัญที่สุดของกลยุทธ์องค์กร เพื่อที่จะไม่พลาดโอกาสในการเติบโต
การคาดการณ์ของไอดีซีมุ่งเน้นไปที่การใช้งานเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3 ทั้งคลาวด์ โมบิลิตี้ บิ๊กดาต้า และโซเชียล ประกอบกับการใช้งานเทคโนโลยีตัวเร่งนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็น เออาร์ วีอาร์ ระบบคอมพิวเตอร์เสมือนมนุษย์ ระบบซิเคียวริตี้ยุคใหม่ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (ไอโอที) การพิมพ์ 3 มิติ และระบบหุ่นยนต์

 

Bangkokbiznews 15.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร