Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เปิดตัว “นาฬิกาตรวจแก็สพิษ” งานวิจัยต่อยอดจากหมึกนำไฟฟ้า  

          แก็สพิษนับเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลก โดยการรับแก็สพิษอาจจะเกิดจากทั้งความตั้งใจและความไม่ตั้งใจ ซึ่งในชีวิตประจำวันของเราก็ได้รับแก็สพิษเข้าไปโดยไม่รู้ตัวอยู่แล้ว แต่เหตุที่เรายังไม่เสียชีวิตอาจเพราะได้รับแก็สพิษในปริมาณน้อย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสถานที่เราอยู่หรือต้องเข้าไปอยู่ชั่วคราวนั้น มีระดับแก็สพิษที่ทำให้เราเสียชีวิตหรือไม่
          โจทย์ดังกล่าวทำให้ ผศ.ดร.ชัชวาล วงศ์ชูสุข นักวิจัย สกว. จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้วิจัยเรื่องนาโนเซนเซอร์เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและสิ่งแวดล้อมขึ้นมา และได้พัฒนาต่อจนประยุกต์ออกมาในรูปของนาฬิกาตรวจจับแก็สพิษตัวต้นแบบ โดยนาโนเซนเซอร์นี้จะถูกใช้เพื่อแจ้งเตือนเมื่อมีระดับของแก็สพิษสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้
นาฬิกาตรวจจับแก็สพิษดังกล่าวยังได้นำไปจัดแสดงและทดสอบความสามารถของระบบประมวลผลครั้งแรกภายในงาน “นักวิจัยรุ่นใหม่...พบ...เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ครั้งที่ 17 TRF-OHEC Annual Congress 2018 (TOAC 2018) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม พ.ศ. 2561 ณ โรงแรมเดอะรีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี
นาโนเซนเซอร์ดังกล่าวพัฒนาขึ้นจากน้ำหมึกนำไฟฟ้า ซึ่ง ผศ.ดร.ชัชวาล เปิดเผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า เริ่มแรกของการผลิตนาโนแก็สเซนเซอร์นั้น ทีมวิจัยจะหาสูตรน้ำหมึกนำไฟฟ้า เนื่องจากน้ำหมึกตัวนี้เป็นหัวใจสำคัญของการตรวจจับโมเลกุลแก็ส โดยในน้ำหมึกนำไฟฟ้านี้จะประกอบด้วยโมเลกุลขนาดนาโน เช่น กราฟีน อนุภาคซิลเวอร์ระดับนาโน หรือสารจำพวกพอลิเมอร์นำไฟฟ้าชนิดต่างๆ โดยสารแต่ละตัวจะให้คุณสมบัติในการตอบสนองต่อแก๊สที่แตกต่างกันไป
หลังจากที่ทีมวิจัยได้สูตรน้ำหมึกนำไฟฟ้าที่ผสมตามสัดส่วนแล้ว จึงนำไปใส่แทนน้ำหมึกเดิมของเครื่องพิมพ์ระบบอิงค์เจ็ท จากนั้นออกแบบตัวเซนเซอร์ด้วยโปรแกรมพื้นฐานอย่างไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word) และสั่งพิมพ์ออกมาเช่นเดียวกับขั้นตอนการพิมพ์เอกสาร ซึ่งการสั่งพิมพ์นาโนแก็สเซนเซอร์นั้นจะสั่งพิมพ์ลงบนแผ่นฟิล์มใสเพื่อให้ตัวเซนเซอร์มีความบางและสามารถโค้งงอได้
"จากนั้นนำเซนเซอร์ที่พิมพ์ออกมาไปประกอบกับตัวชิ้นนาฬิกา ซึ่งทางทีมวิจัยประกอบขึ้นเองทั้งหมด โดยภายในตัวนาฬิกาจะมีวงจรอ่านค่าเซนเซอร์ วงจรแสดงผล วงจรเสียง วงจรจ่ายไฟ วงจรกรองสัญญาณ เพื่อรับค่าจากเซนเซอร์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับแก็สพิษ จากนั้นระบบจะประมวลผลและแสดงผลที่หน้าจอ เมื่อนาฬิกานี้สามารถตรวจจับแก็สที่ระดับเกินค่าที่ตั้งไว้ ตัวนาฬิกาจะส่งเสียงเตือนและมีการแสดงผลค่าที่อ่านได้จากตัวเซนเซอร์ที่บริเวณหน้าจอ ซึ่งตัวเซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับแก็สสามารถถอดเปลี่ยนได้" ผศ.ดร.ชัชวาลอธิบาย
นักวิจัยอธิบายต่อว่านาโนแก็สเซนเซอร์ตัวนี้แตกต่างจากแก็สเซนเซอร์ตัวอื่นคือเทคโนโลยีที่ของแก๊สเซนเซอร์ทั่วไปนั้นมี 2 เทคโนโลยีหลักๆ คือเมทัลออกไซด์ซึ่งเป็นแก็สเซนเซอร์แบบโลหะ ที่มีทั้งราคาถูกและราคาแพง หัวเซนเซอร์มีขนาดใหญ่และต้องใช้ความร้อนสูงในการทำงาน และไม่สามารถวัดก๊าซที่จำเพาะเจาะจงได้ และอีกเทคโนโลยีหนึ่งคือ อิเล็กโทรแก็สเซนเซอร์หรือแบบไฟฟ้าเคมี ซึ่งมีการตอบสนองต่อก๊าซจำเพาะสูง แต่ยังมีปัญหาเรื่องขนาดที่ใหญ่ ราคาแพง มีเสถียรภาพการใช้งานและช่วงเวลาที่จำกัด
“ทว่านาโนก๊าซเซนเซอร์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นนี้มีราคาที่ถูกกว่า และลงทุนเพียงไม่กี่บาท และเมื่อนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์รวมทั้งหมด ก็ได้นาฬิกาตรวจวัดแก็สพิษในราคาประมาณหลักร้อยบาท และข้อดีอีกอย่างคือใช้เวลาในการตรวจจับและตอบสนองต่อแก็สแต่ละชนิดที่เร็วกว่า เพราะสามารถแจ้งเตือนกับผู้ใช้เมื่อเจอแก๊สพิษได้ในเวลาน้อยกว่า 10 วินาที โดยตัวเซ็นเซอร์ก็จะส่งเสียงออกมาเพื่อให้ผู้สวมใส่รู้ตัว และจะหยุดส่งเสียก็ต่อเมื่อก๊าซพิษนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้ และเป็นระดับที่ไม่เป็นอันตราย" ผศ.ดร.ชัชวาลอธิบาย
สำหรับการพัฒนาในรุ่นต่อไปนั้น ผศ.ดร.ชัชวาลระบุว่า จะพัฒนาให้นาฬิกาบรรจุเซนเซอร์ตรวจจับแก็สได้พร้อมกัน 2 ชนิด และมีรูปลักษณ์ที่บางกว่ารุ่นแรก ส่วนแก็สเซนเซอร์นั้นก็จะพัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลง เพื่อที่ได้สามารถนำไปใส่นาฬิการุ่นที่สองได้ และคาดว่านาฬิการุ่นต่อไปจะพัฒนาให้สามารถใส่แก็สเซนเซอร์ได้สูงสุด 4 ตัว เนื่องจากผู้ส่วนใส่แต่ละคนจะมีโอกาสเจอแก๊สพิษที่แตกต่างกัน อย่างเช่นผู้ที่ทำงานในระบบบำบัดน้ำเสียจะมีโอกาสเจอแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแก๊สไข่เน่าและแก็สมีเทน แต่ถ้าเป็นบุคคลทั่วไปก็จะต้องการแก็สเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับแก๊สไนตรัสออกไซด์ซึ่งเป็นแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนตร์ที่สมบูรณ์ แก็สคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้และก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์
"เหตุที่กำหนดจำนวนแก็สเซนเซอร์ที่สามารถใส่ไว้เพียง 4 ตัวเนื่องจากอยากตัวนาฬิกามีราคาถูก เพราะการที่มีตัวแก๊สเซนเซอร์ติดอยู่ที่ตัวนาฬิกามากเกินไปทำให้ตัวอุปกรณ์ที่อยู่ข้างในเยอะตามไปด้วย อีกทั้งต้องการให้นวัตกรรมชิ้นนี้เข้าถึงคนทั่วไปได้
ในส่วนของอุปสรรคในการวิจัยนี้คือ ตัวนาโนแก็สเซนเซอร์ที่พัฒนาออกมาบางตัวไม่สามารถตรวจวัดแก็สที่ต้องการให้วัดได้ อย่างพัฒนานำหมึกนำไฟฟ้าจากอนุภาคนาโนของซิลเวอร์ (silver) เพื่อให้ตอบสนองต่อแก็สพิษ แต่ตัว silverกลับตอบสนองต่อความชื้นได้ดี อย่างไรก็ตามในส่วนนี้ถือว่าเป็นการค้นพบสิ่งใหม่ๆ" ผศ.ดร.ชัชวาลยกตัวอย่าง
งานวิจัยนาโนแก๊สเซนเซอร์นี้นับว่าเหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปอย่างคนขับเท็กซี่ที่ต้องขับรถทั้งวัน ซึ่งจะมีการสูดเอาแก็สคาร์บอนไดออกไซด์และคาร์บอนมอนออกไซด์เข้าไปแบบไม่รู้ตัว คนที่รักษาสุขภาพเนื่องจากในอากาศจะแก็สพิษบางตัว อย่างฟอร์มัลดีไฮด์สารก่อมะเร็งที่พบในเฟอร์นิเจอร์ หรือคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เสี่ยงต่อการได้รับแก๊สพิษอย่างบ่อบำบัดน้ำเสีย
"ณ ตอนนี้ยังไม่มีการนำไปตัวนาฬิกาไปทดลองใช้ที่ใด เนื่องจากทีมวิจัยเพิ่งผลิตเสร็จ แต่หัวใจสำคัญคืออยู่ที่ตัวเซ็นเซอร์ เพราะถ้าหากตัวเซ็นเซอร์สามารถทำงานได้ดีก็สามารถพัฒนาเป็นตัวอุปกรณ์อย่างที่อื่นที่ไม่ใช่นาฬิกาได้ นอกจากนี้ในอนาคตถ้าหากทางโรงงานอุตสาหกรรมจะสั่งทำตัวแก็สเซนเซอร์เพื่อวัดแก็สจำเพาะภายในโรงงานก็สามารถทำได้ เพียงมีแก็สเป้าหมาย (Target Gas) ที่ต้องการตรวจวัด ทางทีมวิจัยก็สามารถพัฒนาวัสดุนาโนเพื่อใช้ในการตอบสนองแก็สเป้าหมายที่ต้องการได้" ผศ.ดร.ชัชวาลระบุ

Manager online 17.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร