Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ควิกชาร์จ แบตเตอรี่สัญชาติไทย  

           สถาบันวิทยสิริเมธีเตรียมส่งผลงานวิจัยชิงส่วนแบ่งตลาดแบตเตอรี่มูลค่า 5 แสนล้านบาท ระบุเป็นแบรนด์ไทย 100% รายเดียว หลังจากใช้เวลา 15 ปีประยุกต์ข้าวไทยเป็นส่วนผสมในการพัฒนาแบตเตอรี่ชาร์จไว นำร่องรูปแบบถ่านกระดุมที่ชาร์จเต็มภายใน 2 นาที
          เตรียมขยายสู่สตาร์ทอัพนวัตกรรม ปูทางรับเทคโนโลยีแบตเตอรี่อนาคตตอบเทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้า
โครงการวิจัยนี้เกิดเป็นสิทธิบัตรกว่า 15 เรื่อง ได้รับรางวัล 2017 TRF-OHEC-Scopus Researcher Award ด้านฟิสิกส์ จากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับความต้องการสำหรับอุตสาหกรรมอนาคตอย่างยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้มีแผนที่จะสปินออฟเป็นบริษัทนวัตกรรม ทำธุรกิจด้านแบตเตอรี่แบรนด์ไทยในปี 2561
ตอบเทรนด์อุตฯ อนาคต
แนวโน้มพลังงานทางเลือกที่ตอบโจทย์ปัญหาโลกร้อนและการขาดแคลนของน้ำมันจากฟอสซิลในรูปแบบที่ยั่งยืนนั้น ได้รับความสนใจจากทั้งนักวิจัย ภาคอุตสาหกรรมและประชาชน แต่ปัญหาใหญ่คือ ยังไม่มีอุปกรณ์กักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง จึงเป็นโจทย์ท้าทายสำหรับทุกวงการที่เกี่ยวข้อง
ผศ.มนตรี สว่างพฤกษ์ สำนักวิทยาการพลังงาน สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ใช้เวลากว่า 15 ปีพัฒนาเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไฟฟ้าชนิดตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวด ที่สามารถประจุและคายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพสูง ประสิทธิภาพเหนือกว่าแบตเตอรี่และเซลล์เชื้อเพลิง
“เราสังเคราะห์วัสดุผสมระหว่างวัสดุกราฟีน นาโนแมงกานีสออกไซด์และวัสดุโครงข่ายโลหะ-สารอินทรีย์ โดยส่วนหนึ่งคือถ่านกัมมันต์จากข้าวไทยที่สามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าผ่านกลไกแบบผสม ให้ค่าความหนาแน่นพลังงานไฟฟ้าสูงใกล้เคียงแบตเตอรี่ ช่วงอายุการใช้งานสูง ศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าแบตเตอรี่เมื่อใช้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ชนิดของเหลวไอออนิก สามารถกักเก็บและจ่ายพลังงานได้อย่างรวดเร็ว อายุการใช้งานยาวนาน” นักวิจัย กล่าว
จากองค์ความรู้ที่ได้ ทีมวิจัยพัฒนาต้นแบบตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวดแบบกระดุมเป็นแบตเตอรี่สำหรับนาฬิกาหรือแบตกระดุม ที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้เวลาชาร์จไฟเพียง 1-2 นาที โดยทดสอบใช้กับหลอดแอลอีดี โคมไฟอ่านหนังสือ พัดลมขนาดเล็ก ซึ่งได้ผลที่ดี จึงต่อยอดสู่แบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้นเป็นถ่านแบบ AA และ AAA
ผศ.มนตรี ในฐานะเมธีวิจัย สกว. กล่าวว่า ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การผลิตวัสดุผสมชนิดใหม่ของกราฟีน นาโนแมงกานีสออกไซด์ วัสดุโครงข่ายโลหะ-สารอินทรีย์ และวัสดุอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติในการกักเก็บพลังงานที่ดีกว่าเดิมผ่านกลไกแบบใหม่ เช่น Photo Supercapacitor ที่ประจุไฟฟ้าด้วยแสง เป็นต้น
เทคโนโลยีชาร์จด้วยแสงนี้เป็นการพัฒนาวัสดุดูดกลืนแสงและเปลี่ยนให้เป็นอิเล็กตรอน ที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอยู่ในรูปของผงดูดกลืนแสง ที่สามารถต่อยอดเป็นแผ่นฟิล์มเคลือบกระจก หรือแผงโซลาร์เซลล์ ก็ได้
หนุนไทยยืนด้วยลำแข้ง
“ตลาดแบตเตอรี่ในไทยมีมูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท โดยที่ไม่มีแบรนด์สัญชาติไทยในตลาดเลย เมื่อผลงานวิจัยมีศักยภาพและความเป็นไปได้ที่จะลงแข่งในตลาด จึงอยากที่จะสร้างแบรนด์ไทยในตลาด โดยในปีแรกจะเป็นกลุ่มแบตเตอรี่ขนาดเล็กทั้งถ่านกระดุม ถ่าน AA และ AAA และยังมีอีกหลายแบบที่วิจัยอยู่ขณะนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงที่จะตอบโจทย์อุตสาหกรรมยานยนต์และยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมอนาคตนั่นเอง”
ในช่วงแรกคาดหวังที่จะแชร์ส่วนแบ่งตลาดรวม 0.5-1% ของมูลค่าตลาดรวม และจะเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมมาตอบสนองความต้องการใช้งานแบตเตอรี่ที่หลากหลาย อีกทั้งอุปกรณ์กักเก็บพลังงานต้นแบบจากโครงการวิจัยนี้มีประสิทธิภาพสูง จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป รวมถึงโอกาสของการประยุกต์ใช้งานตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวดในรถโดยสารสาธารณะ เหมือนเช่นในประเทศจีนที่เริ่มมีการใช้รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า โดยมีสถานีให้บริการบรรจุพลังงานไฟฟ้ากระจายตัวอยู่ทั่วมณฑล
“เราอยากให้องค์ความรู้ของไทยนี้เกิดการนำไปใช้จริง ด้วยการสนับสนุนสิ่งที่มีอยู่ในประเทศ หนึ่งในนั้นคือ การเพิ่มมูลค่าให้ข้าวไทยจากกิโลกรัมเฉลี่ย 30 บาท เป็นหลักหมื่นบาท แม้ไม่ได้ใช้ปริมาณมาก แต่มูลค่าที่สูงก็นับว่าช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น” ผศ. มนตรี กล่าว

Bangkokbiznews 18.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร