Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ยกระดับสิ่งทออีสานด้วย‘นวัตกรรม ’  

          ‘คัลเลอร์ ไอดี เลเบลลิง’ มาตรฐานสี บ่งบอกที่มาสามารถนำมาเชื่อมโยง คิวอาร์ โค้ด และเออาร์ โค้ด เพื่อสร้างสตอรี่ ,วัสดุเส้นใยใหม่ที่ย้อมสีจากดอกบัวแดง จ.อุดรธานี, การนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับสิ่งทอเพื่อยกระดับสู่เวทีโลก
          ‘คัลเลอร์ ไอดี เลเบลลิง’ มาตรฐานสี บ่งบอกที่มาสามารถนำมาเชื่อมโยง คิวอาร์ โค้ด และเออาร์ โค้ด เพื่อสร้างสตอรี่ ,วัสดุเส้นใยใหม่ที่ย้อมสีจากดอกบัวแดง จ.อุดรธานี, การนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับสิ่งทอเพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ คือเป้าหมายของโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานด้วยนวัตกรรม ปี 2561 ที่กระทรวงวิทย์ฯ จับมือกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ต้องการยกระดับผ้าทอภาคอีสานสู่เวทีโลก
:ถ่ายทอดเทคโนโลยีสร้างคุณค่า&มูลค่า
ปัญหาในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะผ้าไทยโดยเฉพาะในภาคอีสานที่มีเอกลักษณะเฉพาะตัวและประวัติยาวนาน ซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณ จนทุกวันนี้ คือ ‘ราคา’ ถูกลงเนื่องจากขาดการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำมานาน จึงเป็นที่มาของการบูรณาการความร่วมมือจาก3หน่วยงานในการผลักดันให้สิ่งทอในอีสานมีมูลค่าเพิ่มขึ้น10% ด้วยการถ่ายทอดนวัตกรรมด้านสิ่งทอสู่ผู้ประกอบการชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อยใน 10 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานสู่สากล ครบวงจรทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ให้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 กลุ่ม 500 ราย 100 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
“ เป้าหมายของโครงการคือการยกระดับสิ่งทอในภาคอีสานนำร่อง10 จังหวัด โดยเริ่มโครงการตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย.2561 ภายใต้งบดำเนินการ 16-17 ล้านบาท คาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้สูงขึ้น20% เพราะราคาของผลิตภัณฑ์สิ่งทอขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้บริโภค หากคุณภาพวัตถุดิบดี ดีไซน์สวย ฟังก์ชั่นการใช้งานตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ ลูกค้ายอมจ่าย แม้ราคาจะสูงขึ้น  ”นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ
นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า จะนำนวัตกรรมพร้อมใช้เข้าไปร่วมส่งเสริมผู้ประกอบการ ทั้งด้าน คัลเลอร์ ไอดี เลเบลลิงเพื่อทำให้ทราบที่มาการย้อมสีธรรมชาติ และการสร้างมาตรฐานสี พร้อมกับการส่งเสริมเทคโนโลยี คิวอาร์ โค้ด และเออาร์ โค้ด เพื่อช่วยในการสร้างเรื่องราวผลิตภัณฑ์ เพื่อบอกเล่าถึงวัตถุดิบและความพิถีพิถันในการทำให้ผู้บริโภครู้สึกมีส่วนร่วม โดยจะได้รับการสนับสนุนผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบ นักการตลาด ที่มีประสบการณ์ทำงานกับ อเมริกัน ปารีส อะคาเดมี และผู้จัดการแบรนด์ของคลับ21 มาเป็นที่ปรึกษาพัฒนาการดีไซน์ของผ้าทอไทย ให้ก้าวสู่ผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียม
:ดีไซน์ลวดลาย ฟังก์ชั่นตอบโจทย์ลูกค้า
ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานไม่สามารถพัฒนาไปได้ไกลส่วนหนึ่งเกิดจาการขาดความหลากหลายของวัตถุดิบคือ เส้นใย ทำให้ไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายและไม่มีจุดขายที่แตกต่างกันออกมานำเสนอผู้บริโภคที่ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปทุกปีเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ฉะนั้นต้องพยายามให้ผู้ประกอบการ ชาวบ้านในพื้นที่แต่ละแห่งปรับตัวด้วยการทอผ้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าไม่ใช่ทอผ้าอย่างที่ตนเองชอบหรือว่าคุ้นเคยเหมือนในอดีต
ด้วยการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมกับการออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ ผสมผสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์ของจังหวัด เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานให้มีรูปแบบมาตรฐานสากลร่วมสมัย
" แนวทางการพัฒนาวัสดุเส้นใยใหม่ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผ้าฝ้ายและผ้าไหม สามารถนำวัสดุเส้นใยธรรมชาติ ที่จะตอบสนองต่อการใช้งานที่หลากหลาย ยกตัวอย่างการย้อมสีจากดอกบัวแดงจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต การถ่ายทอดความรู้ในการเลือกใช้วัสดุเส้นใยใหม่ๆ หรือการทำให้ผ้ามีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น การตกแต่งสะท้อนน้ำ การเพิ่มกลิ่นหอม ผ้าป้องกันรังสียูวี ผ้าที่ซักล้างสิ่งสกปรกออกง่าย ผ้าที่มีสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น แต่ยังคงเอกลักษณ์ของผ้าทอในจังหวัดนั้นๆ

 

Bangkokbiznews 19.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร