Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยไทยสกัดสารจาก “ผัก” ผลิตครีมชะลอวัยได้ถึง “ยีน”  

          ในตลาดมีเครื่องสำอางประทินผิวมากมาย ทั้งยี่ห้อที่คุ้นเคย ยี่ห้อของดารา ยี่ห้อของเน็ตไอดอล ซึ่งล้วนอวดสรรพคุณเสริมสร้างความงามอุดมคติมากมาย แต่เรามักไม่ได้เห็นข้อพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์เท่าไรนัก ล่าสุดนักวิจัยไทยได้สกัดสารสำคัญจาก “ผัก” ที่ช่วยชะลอวัยได้ถึงระดับยีน ซึ่งจะเป็นส่วนผสมของเวชสำอางแห่งอนาคต
          ความเสื่อมสภาพหรือความแก่ (aging) เป็นปัญหากวนทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชาย โดยความเสื่อมสภาพนั้นเกิดได้ทุกระบบอวัยวะในร่างกาย และระบบอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญและเห็นผลจากความเสื่อมสภาพได้ชัดคือ "ผิวหนัง" ซึ่งสภาวะความเสื่อมสภาพของผิวหนังเกิด “แสงแดด" เป็นสาเหตุหลัก โดยแสงแดดจะไปกระตุ้นเอนไซม์ที่ทำทำลายคอลลาเจนในชั้นผิวหนัง และกระตุ้นทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ "เมลานิน" ในชั้นผิวหนัง ก่อให้เกิดสีผิวไม่สม่ำเสมอ สีผิวเข้มขึ้น ส่วนการทำลายคอลลาเจนก็ทำให้เกิดริ้วรอย ทำให้ผิวเหี่ยวย่น
ทั้งผู้หญิงและผู้ชายล้วนเห็นความสำคัญเรื่องความเสื่อมสภาพของผิวหนัง และยอมลงทุนซื้อเครื่องสำอางราคาแพงมาดูแลผิวพรรณ บางคนก็ลงทุนซื้อเครื่องจากต่างประเทศ จึงทำให้ รศ.ดร.อุไรวรรณ พานิช จากภาควิชาเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เกิดความสนใจที่จะค้นหาสารออกฤทธิ์ยับยั้งผิวหนังเสื่อมสภาพเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของไทยสำหรับชะลอความเสื่อมภาพ
รศ.ดร.อุไรวรรณ พานิช เปิดเผยว่า ตลอด 10 ปีที่ทำงานวิจัยพบว่า รังสีจากแสงอาทิตย์มีผลทำให้เกิดการทำลายของคอลลาเจนในชั้นผิวหนัง เพิ่มการผลิตเม็ดสีเมลานิน ผ่านกลไกภาวะเครียดออกซิเดชันกระตุ้นให้เอ็นไซม์ชนิดเมทริกซ์เมทัลโลโปรตีเนส-1 (Matrix metalloproteinase-1) หรือ เอ็นไซม์ MMP-1 ทำให้เกิดริ้วรอย และยังกระตุ้นเอ็นไซม์ไทโรจิเนส (Tyroginase) ซึ่งเพิ่มการผลิตของเม็ดสีเมลานิน ทำให้ผิวเข้มขึ้นและสีผิวไม่สม่ำเสมอ
“ในเซลล์ผิวหนังมีนิวเคลียส และภายในนิวเคลียสนั้นมีสารพันธุกรรมที่มีโปรตีน NRF-2 ซึ่งมีส่วนสำคัญในการยับยั่งสภาวะเครียดออกซิเดชัน และสารสำคัญที่ได้จากพืชผักตระกูลบรอคโคลีมีฤทธิ์ในการกระตุ้นโปรตีน NRF-2 เพราะฉะนั้นจากอันตรายของแสงแดดที่มีผลต่อการทำลายของคอลลาเจนและเพิ่มเม็ดสี จึงถูกยับยั้งได้จากสารสังเคราะห์จากธรรมชาติ ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบต้านออกซิเดชัน และสามารถช่วยชะลอผิวหนังเสื่อมสภาพ” รศ.ดร.อุไรวรรณกล่าว
จากงานวิจัย รศ.ดร.อุไรวรรณพบว่ามีสารสำคัญอย่างหนึ่งที่สกัดได้จากผักชื่อสาร "ซัลโฟราเฟน" (Sulforaphane: SFN) ซึ่งพบปริมาณสูงในพืชตระกูลบรอคโคลี สารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการกระตุ้นโปรตีน และโปรตีนชนิดนี้มีความสำคัญเพราะสามารถไปเพิ่มประสิทธิภาพของระบบต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันระดับยีนหรือระดับโมเลกุล
"เมื่อมีการเพิ่มการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ดี ก็จะสามารถยับยั้งคอลลาเจนที่ถูกทำร้ายและทำให้การผลิตเม็ดสีเป็นไปอย่างปกติ เพราะฉะนั้นการค้นพบนี้จึงมีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ ทั้งในระดับเซลล์และในระดับสัตว์ทดลองว่า สาระสำคัญในผลิตภัณฑ์อาหารหรือพืชผักผลไม้ มีประโยชน์และน่าจะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางค์บำรุงผิว" รศ.ดร.อุไรวรรณระบุ
ทางทีมวิจัยยังได้ทดลองในสัตว์ทดลองด้วยการนำสารสกัดมาทาที่ผิวของสัตว์ทดลองและทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นก็นำไปฉายรังสียูวีเอ (UV A) และลอกผิวหนังออกมาตรวจวัดหาโปรตีนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยตรวจเทียบ 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ฉายรังสียูวีเอและไม่ทาสารซัลโฟราเฟน กลุ่มที่ไม่ฉายรังสียูวีแต่ทาสาร ซัลโฟราเฟน และกลุ่มที่ฉายรังสีและทาสาร ซัลโฟราเฟน
"แม้ในขณะนี้ยังไม่มีตัวพาเพื่อนำสารซัลโฟราเฟนเข้าไปทำปฏิกิริยากับยีนโดย แต่งานวิจัยชิ้นนี้ก็สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า สารสามารถออกฤกธิ์ได้จริง และหากมีตัวพาสารสำคัญไปยังเป้าหมายด้วย ก็อาจจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ได้มากยิ่งขึ้น นั้นหมายความว่า เราไม่จำเป็นต้องใช้ตัวสารสกัดมากในการออกฤทธิ์เพื่อยับยั้งความเสื่อมสภาพของผิวหนัง” รศ.ดร.อุไรวรรณกล่าว
ระหว่างการบริโภคผักที่มีสารซัลโฟราเฟนนี้กับการทาผิวโดยตรงนั้นแบบไหนจะให้ผลได้ดีกว่ากัน รศ.ดร.อุไรวรรณ ได้อธิบายเรื่องนี้แก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า การกินนั้นจะได้รับสารสำคัญที่มีอยู่ในผักผลไม้ไม่เพียงพอที่จะเข้าไปก่อให้เกิดปฏิกิริยายับยั้งปฏิกิริยาเครียดออกซิเดชัน ซึ่งเป็นสาเหตุของริ้วรอยและสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ ทว่าในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทาผิวนั้นยังต้องกาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยนำส่งสารสำคัญไปยังตำแหน่งเป้าหมายที่ต้องการให้ออกฤทธิ์
รศ.ดร.อุไรวรรณ เผยว่าการทาสารซัลโฟราเฟนจะให้ผลมากกว่าการรับประทานไปเนื่องจากร่างกายได้รับสารโดยตรง และไม่ต้องผ่านกระบวนการดูดซึมของร่างกายเพื่อไปออกฤทธิ์ที่ผิวหนัง และตอนนี้กำลังดำเนินการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านอนุภาคนาโน (nanoparticle) และพัฒนารูปแบบของสารสกัดตัวนี้ให้เป็นรูปแบบของนาโนฟอมูเลชัน (nano formulation) เพื่อที่จะเพิ่มการดูดซึมของสารสำคัญ
"เมื่อมีการดูดซึมของสารสำคัญก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ จากนั้นก็จะนำมาทดลองตามขั้นตอน ว่าสูตรที่ค้นพบมีประสิทธิภาพจริง มีความปลอดภัยจริงและสามารถพัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์ได้ สารที่สกัดออกมาทดลองในสัตว์นี้สามารถช่วยยับยั้งความเสื่อมสภาพได้เท่าไรนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีน บางโปรตีนนั้นสามารถยับยั้งได้ถึงเกือบ 50%” ผศ.ดร.อุไวรรณกล่าว
ในอนาคตทีมวิจัยจะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ซึ่งในการพัฒนางานวิจัยชิ้นนี้ให้เป็นผลิตภัณฑ์นั้นต้องรับคำปรึกษาจากเภสัชกร เนื่องจากสาระของงานวิจัยนี้คือการค้นพบเรื่องของการทำงานและการออกฤทธิ์ของสารสกัดที่ได้จากผัก เบื้องต้นคาดว่าจะทำผลิตภัณฑ์สำหรับใบหน้าออกมาก่อน เพราะคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อริ้วรอยบนใบหน้า จากนั้นจะพัฒนาให้สามารถใช้ได้กับทุกส่วนของร่างกาย
"ถ้าพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ออกมาแล้วจะมีความแตกต่างตรงที่ สารที่ค้นพบจะไปออกฤทธิ์ที่โปรตีนที่ระบบต้านออกซิเดชันในระดับยีนได้ ต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นที่ไปออกฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน แต่ไม่ได้เจาะจงว่าไปออกฤทธิ์ที่ส่วนไหน" ผศ.ดร.อุไรวรรณกล่าวถึงการค้นพบครั้งนี้

 

Manager online 18.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร