Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ทำนายอนาคต 2018 – การก้าวสู่ยุคถัดไป ของการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และจักรกล  

          เป็นเวลาผ่านมานานนับหลายศตวรรษแล้วที่คนเราใช้ชีวิตและทำงานร่วมกันกับเครื่องจักร แต่ในปี 2018 รูปแบบของการทำงานร่วมกันนี้จะถูกถักทอให้เข้ามาสู่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ที่มาพร้อมกับความเสมือนจริงมากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบของทุกสิ่งตั้งแต่วิถีของการดำเนินธุรกิจ การจัดลำดับความสำคัญที่มีต่อการรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงรูปแบบของการให้บริการด้านความบันเทิง
          เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต่อยอดมาจาก รายงาน 'ยุคหน้าของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และจักรกล (Next Era of Human-Machine Partnership' ที่เดลล์ เทคโนโลยีส์ และสถาบันเพื่ออนาคต (Institute for the Future: IFTF) ได้มีการตีพิมพ์ไปเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา บรรดาผู้นำของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ต่างร่วมกันแบ่งปันถึงผลกระทบของ AI, AR, IoT และ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่จะช่วยเปลี่ยนองค์กร รวมถึงการใช้ชีวิตของทุกคนไปสู่ดิจิทัลในปี 2018
พันธมิตรของเราที่สถาบันสำหรับอนาคต (IFTF - The Institute for the Future) ได้ทำนายไว้เมื่อไม่นานมานี้ ว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่ ยุคหน้าของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องกล และช่วงเวลาระหว่างปัจจุบัน และอนาคตในปี 2030 มนุษย์และเครื่องกลจะทำงานใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตของเรา เป็นเวลานานนับหลายศตวรรษที่เราทำงานกับเครื่องจักรกล แต่ ณ ปัจจุบัน เรากำลังจะก้าวเข้าสู่บทใหม่ของการทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์ ในรูปแบบที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นอย่างมหาศาล ให้ความเป็นหนึ่งเดียว และสร้างความเป็นไปได้มากขึ้นจากที่ผ่านมา
เทคโนโลยีเกิดขึ้นใหม่ต่างๆ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) เทคโนโลยีการผสานสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือน (Augmented Reality หรือ AR) เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR) ไปจนถึงความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่สร้างความเป็นไปได้จากการพัฒนาก้าวไกลทั้งเรื่องซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ (analytics) ไปจนถึงพลังที่ใช้ในการประมวลผล เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งไปสู่ทิศทางดังที่กล่าวมา
หลักฐานยืนยันดูได้จากทั้งรถยนต์อัจฉริยะ (connected cars) บ้าน ธุรกิจและการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ หรือแม้กระทั่งการที่เกษตรกรเปลี่ยนรูปแบบการจัดการพืชผลและการดูแลปศุสัตว์ เรามาดูกันว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อ ในการพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้ากันอย่างมึนงงนี้
คำทำนายที่ 1 : AI จะจัดการ 'งานที่ใช้ความคิด' ได้อย่างรวดเร็ว
ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า AI จะเปลี่ยนรูปแบบในการที่เราใช้เวลาไปกับข้อมูล ไม่ใช่แค่เพียงเก็บรักษาเท่านั้น ธุรกิจต่างๆ จะควบคุม AI ให้ 'ทำงานที่ต้องใช้ความคิด' (thinking tasks) วิเคราะห์จากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อลดเวลาที่ต้องใช้ในการกำหนดขอบเขตด้านข้อมูล การถกประเด็น สำหรับการวางแผนสถานการณ์ในอนาคต (scenario planning) และการทดสอบทุกนวัตกรรมใหม่ เทคโนโลยี AI จะช่วยลดปัญหาคอขวดที่เป็นอุปสรรค และให้อิสระกับผู้คนเพื่อตัดสินใจได้มากขึ้นและเร็วขึ้น การมีข้อมูลความรู้จะช่วยให้แผนการหรือโครงการใหม่ๆ ไม่เกิดการติดขัด สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ที่จะกลายเป็นผู้นำวัตกรรมด้าน AI จะเริ่มมองเห็นตัวอย่างที่เป็นจริง จากการที่ประโยชน์ต่างๆ ในเรื่องเหล่านี้ กลายเป็นความจริงสำหรับธุรกิจ
นักทฤษฏีหลายรายระบุว่า AI จะเข้ามาแทนที่การทำงานในส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้อาจก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมทั้งช่วยปลดปล่อยโอกาสใหม่ๆ ให้กับมนุษยชาติ ยกตัวอย่าง การเกิดขึ้นของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในแขนงใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรม AI และปรับรูปแบบการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ หรือประสิทธิภาพการทำงานให้เป็นไปตามความต้องการ ทั้งนี้ ภูมิภาคนี้จะกลายเป็นแหล่งรวบรวมทักษะความสามารถเหล่านี้ โดย AI จะมีอิทธิพลเหนือทักษะต่างๆ สำหรับผู้มีความสามารถโดดเด่นในอนาคต ซึ่งนักปฏิบัติเหล่านี้จะเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดตัวแปรว่าอะไรคือสิ่งที่ควรหรือไม่ควรถูกจัดหมวดหมู่ไว้ในด้านผลลัพธ์ที่ดีทางธุรกิจ และตัดสินใจในด้านกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
และเมื่อทั้งหมดนี้เข้าที่เข้าทาง เทคโนโลยีจะสามารถชี้แนะโอกาสเชิงบวกในการดำเนินธุรกิจด้วยความเร็วสูงสุด ดูได้จากตัวอย่างของการใช้ AI ในด้านการประมวลผลทางความคิดในธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ การเกษตรกรรม ไปจนถึงบริการด้านการเงิน ดังนั้น ความท้าทายจะตกอยู่กับองค์กรที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าในเชิงธุรกิจของเทคโนโลยีต่างๆ ด้าน AI รวมทั้งต้องมั่นใจได้ว่ามีโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกต้อง และมีบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษอยู่ในมืออีกด้วย
คำทำนายที่ 2 : การเพิ่มความฉลาด (IQ) ให้กับสรรพสิ่ง หรือ Things
เริ่มต้นในปี 2018 เราจะมุ่งสู่การก้าวหน้าขนานใหญ่ในการฝัง (embed) สิ่งที่เป็นความฉลาด (intelligence) ไว้ในตัวเมือง องค์กรธุรกิจ บ้านเรือน และยานพาหหนะที่ยกระดับไปสู่ศักยภาพด้าน IoT ด้วยราคาของพลังการประมวลผลที่ลดลง พร้อมทั้งโหนดที่เชื่อมต่อกันที่ลดลงจนเกือบเป็น 0 เหรียญสหรัฐ เราจะมีจำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อนับ 100,000 ล้านชิ้นในไม่ช้า และจะขยับขึ้นเป็นล้านล้านชิ้น
ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เอามารวมกัน พลังประมวลผลด้วยขุมพลังของ AI จะช่วยให้เครื่องกลควบคุมทรัพยากรทางกายภาพ รวมถึงทรัพยากรมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น เราจะพัฒนาไปสู่ 'การเป็นผู้ควบคุมดิจิทัล' สำหรับเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบตัวเรา เทคโนโลยีจะทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของตัวเรา ทุกๆ สิ่งจะทำงานได้อย่างฉลาดและช่วยให้เราใช้ชีวิตได้สมาร์ทยิ่งขึ้น
เรากำลังเห็นเรื่องที่กล่าวมานี้ในรถยนต์ ซึ่งจะจัดมาพร้อมเซนเซอร์ในระบบอัลตร้าโซนิก เทคโนโลยีที่ใช้ลำแสงเป็นตัววัดระยะทางระหว่างยานพาหนะกับการจดจำท่าทาง (gesture recognition) และในที่สุด นวัตกรรมเหล่านี้จะทำให้การขับขี่อัตโนมัติกลายเป็นความจริงที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น เราจะต้องทำความคุ้นเคยกับการใช้รถที่จะต้องจองเพื่อเข้าใช้บริการตามกิจวัตร แจ้งอู่ว่าต้องทำอะไรบ้างและกำหนดตารางการอัปเดตซอฟต์แวร์ด้วยตัวเอง
ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับนวัตกรรม IoT และการติดตั้งใช้งาน มีการลงทุนเพิ่มขึ้น และปัจจัยสำคัญอย่างเช่น ความริเริ่มจากภาครัฐบาล และความก้าวหน้าของ 5G กำลังเป็นแรงขับเคลื่อน

 

Manager online 22.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร