Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

รู้จักอุปกรณ์วินิจฉัย 'โรคร้าย' แบบใหม่ ถอดแบบจากนิยายวิทยาศาสตร์  

          ในภาพยนตร์แนว ไซ-ไฟ เรื่อง Star Trek การวินิจฉัยโรคนั้นทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Tricoder โบกไปมาเหนือคนป่วย ก็สามารถรับทราบถึงอาการบาดเจ็บต่างๆ ภายในร่างกายได้ทันที
          แต่ในชีวิตจริง แม้จะยังไม่มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขนาดนั้น แต่นักวิจัยก็กำลังพยายามคิดค้นพัฒนาอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกับ Tricoder ให้มากที่สุด
ศาสตราจารย์ จี-ซิน เช็ง แห่งภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัย Purdue ทุ่มเทการทำงานเพื่อคิดค้นเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบความผิดปกติภายในร่างกายของคนเราได้ทันที โดยเขาเชื่อว่าหากสามารถทราบถึงอาการบาดเจ็บภายในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ก็มีโอกาสมากขึ้นที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ทันเวลา
ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์เช็งและเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาอุปกรณ์การแพทย์หลายชิ้นที่ใช้เสียงและแสงในการวินิจฉัยผู้ป่วย โดยเขาตั้งความหวังว่า สักวันหนึ่งจะสามารถคิดค้นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพคล้ายกับ Tricoder ในภาพยนตร์แนว ไซ-ไฟ เรื่อง Star Trek ให้ได้
ในกระบวนการรักษาแบบทุกวันนี้ แพทย์ต้องตัดเนื้อเยื่อบางส่วนของผู้ป่วยออกมาวินิจฉัย หรือใช้วิธีฉายแสงและใช้อนุภาคนาโน ในการตรวจสอบร่องรอยการแพร่กระจายของโรคภายในร่างกายของผู้ป่วยผู้นั้น ซึ่งก็อาจเกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยขั้นรุนแรงได้เช่นกัน
แต่อุปกรณ์แบบใหม่ที่ศาสตราจารย์เช็งและเพื่อนร่วมงานคิดค้นขึ้น จะใช้วิธีคำนวณแรงสั่นสะเทือนจากโมเลกุลในเนื้องอก ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการที่เป็นอันตรายอย่างการฉายแสงและใช้อนุภาคนาโน
นักวิจัยชุดนี้อธิบายว่า แต่ละโมเลกุลนั้นมีการสั่นสะเทือนที่เป็นเอกลักษณ์ และแตกต่างกันไป และสามารถจัดทำเป็นรูปแบบลักษณะของโมเลกุลแต่ละชนิดได้ ไม่ว่าจะเป็น สารอินทรีย์จำพวกไขมัน โปรตีน หรือกรดนิวคลีอิก โดยแสดงภาพการสั่นสะเทือนนั้นออกมาเป็นแบบสามมิติ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการได้ง่ายยิ่งขึ้น
คุณเจสซี หว่าง (Jesse Vhang) หนึ่งในคณะนักวิจัยชุดนี้ ชี้ว่า อุปกรณ์นี้สามารถสร้างภาพตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของผู้ป่วย เช่น ช่วยบอกได้ว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งหรือไม่ โดยดูจากลักษณะการสะสมสารอินทรีย์จำพวกไขมัน
ซึ่งที่ผ่านมานั้น อุปกรณ์ให้ผลที่ค่อนข้างแม่นยำในการตรวจสอบมะเร็งเต้านม ตับ และไต
นอกจากอุปกรณ์ตรวจแรงสั่นสะเทือนของโมเลกุลที่ว่านี้แล้ว สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ NIH ยังได้ให้ทุนสนับสนุนสำหรับการพัฒนาอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่ง เรียกว่า MarginPAT ซึ่งช่วยในการผ่าตัดมะเร็งเต้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดรอบสองในกรณีที่การผ่าตัดรอบแรกไม่สามารถนำเนื้อร้ายออกมาได้ทั้งหมด
ศาสตราจารย์เช็ง ได้ร่วมมือกับ นายแพทย์ ปู หวัง (Pu Wang) ก่อตั้งบริษัท Vibronix เพื่อผลิตอุปกรณ์ MarginPAT ที่ว่านี้ ซึ่งเขาเชื่อว่าจะช่วยปฏิวัติวงการการแพทย์ได้ โดยเฉพาะในประเทศจีนที่ซึ่งเครื่องมือทางการแพทย์ยังไม่ก้าวหน้าเท่ากับในสหรัฐฯ หรือยุโรป
คาดว่าอุปกรณ์ MarginPAT จะสามารถออกสู่ตลาดได้ภายใน 3 ปี รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งจะทำให้นิยายวิทยาศาสตร์เข้าใกล้กับความเป็นจริงเข้าไปทุกที

Voice of America 23.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร