Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

อัพเกรดกล้วยหอมปทุมฯ สู่ไซรัปเทียบชั้นน้ำเชื่อมเมเปิล  

          นักวิจัย มธ.พัฒนาไซรัปกล้วยหอมอัพเกรดกล้วยหอมทองปทุมฯ สู้ไซรัปจากเมเปิล และยังใช้เป็นสารให้ความหวานในขนมเยลลี่กัมมี่หรือกราโนล่าธัญพืชสำหรับคนรักสุขภาพ อีกทั้งตรวจพบมีพรีไบโอติกส์ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในลำไส้ รวมทั้งมีโพแทสเซียมที่เป็นแหล่งสร้างพลังงานเหมาะสำหรับนักกีฬา
          รศ.ดร.เทพปัญญา เจริญรัตน์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าให้ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ฟังถึงที่มาของการพัฒนาไซรัปกล้วยหอมว่า จังหวัดปทุมธานีปลูกกล้วยและส่งออกกล้วยมาก แต่กล้วยที่ผ่านเกณฑ์และสามารถส่งออกได้มีประมาณ 60 - 70 % จึงเกิดแนวคิดว่าจะนำกล้วยตกเกรดมาทำเป็นไซรัป
"เกรดของกล้วยที่นำมาน้ำกล้วยและไซรัปกล้วย เป็นกล้วยที่เกรดต่ำที่สุดจากเกรดที่ไม่ผ่าน และเหตุที่ใช้กล้วยหอมทองจากปทุมธานี เพราะจังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดที่ปลูกกล้วยมากและเกษตกรก็ประสบปัญหาเรื่องการจัดการกล้วยที่ตกเกรด อีกทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิตตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จึงมีความต้องการที่ดึงศักยภาพของปัจจัยแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้เลือกใช้กล้วยจากสวนในจังหวัดปทุมธานีเป็นตัวเริ่มต้นก่อน" รศ.ดร.เทพปัญญากล่าว
ในการเลือกกล้วยมาทำไซรัปนั้น ทีมวิจัยเลือกใช้กล้วยระยะที่ 5-6 ซึ่งเป็นกล้วยที่มีลักษณะเหลืองทั้งใบและมีจุดสีดำเล็กน้อย หรือกล้วยที่มีรอยช้ำ แต่จะไม่เลือกกล้วยที่เน่าและเสีย เนื่องจากกล้วยเน่าและเสียนั้นทำให้ไซรัปมีความเปรี้ยว และอาจจะทำให้อายุของผลิตภัณฑ์อยู่ได้ไม่นานจากเชื้อปนเปื้อน
รศ.ดร.เทพปัญญาอธิบายขั้นตอนทำไซรัปกล้วยว่าเริ่มจากนำเนื้อกล้วยมาคั่นเป็นน้ำกล้วย จากนั้นนำน้ำกล้วยไปทำให้เกิดการตกตะกอนด้วยกระบวนการพิเศษ เมื่อตกตะกอนแล้วก็เข้ากระบวนการแยกตะกอนออกจะได้น้ำกล้วยหอมใสๆ จากนั้นนำน้ำกล้วยไปเข้าเครื่องเคี่ยวในสภาวะสูญญากาศเพื่อให้ส่วนที่เป็นน้ำระเหยเร็ว โดยใช้อุณหภูมิต่ำประมาณ 60 องศาเซลเซียสเพื่อให้ได้ออกมาเป็นไซรัปกล้วย ซึ่งหากใช้อุณหภูมิสูงกว่านี้ผลิตภัณฑ์ไซรัปจะเป็นสีดำเนื่องจากการไหม้ และการที่จะได้ไซรัปกล้วยที่ดีนั้นขั้นตอนสำคัญอยู่ที่การตกตะกอนและการเคี่ยว
การวิจัยและพัฒนาผลงานชิ้นนี้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับความร่วมมือจากคณะอุตสาหกรรมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในด้านการนำไซรัปกล้วยไปทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ เพราะที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนั้น มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไซรัป
สำหรับข้อดีของไซรัปกล้วยที่พัฒนาจากงานวิจัยคือเป็นน้ำเชื่อมกล้วยที่ไม่มีการปรุงแต่ง และจากการทดลองเบื้องต้นพบว่ามีคุณสมบัติเป็น "พรีไบโอติกส์" ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในลำไส้ และในเนื้อกล้วยเองก็ยังมีสารอาหารสำคัญอย่างธาตุโพเตสเซียมซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ดูดซึมง่าย จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักกีฬา
รศ.ดร.เทพปัญญากล่าวว่าอุปสรรคของงานวิจัยนี้คือเรื่องข้อมูล เนื่องจากเป็นงานวิจัยใหม่ที่ไม่มีข้อมูลเดิมอยู่เลย ซึ่งปัญหาอย่างแรกที่เจอคือน้ำกล้วยที่คั้นออกมานั้นมีสีดำในตัวเองอยู่แล้ว และมีตะกอนค่อนข้างเยอะ จึงต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งมีราคาแพงเพื่อกำจัดตะกอนออก ดังนั้นทางทีมวิจัยจึงต้องหาเทคโนโลยีง่าย และราคาถูกเพื่อกำจัดตะกอน ควบคุมและทำให้น้ำกล้วยนั้นใส และตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตร ซึ่งจะจดในชื่อของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
"ในตอนนี้ยังไม่มีนำออกไปจำหน่ายที่ใดเพราะเพิ่งเปิดตัว และในอนาคตจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการที่จะสามารถทำได้คือผู้ที่มีสวนกล้วยหรือมีวัตถุดิบกล้วย เช่น ผู้รับซื้อกล้วยเพื่อส่งออก เพราะหากต้องซื้อกล้วยเพื่อมาทำไซรัปกล้วยอย่างเดียวจะทำให้มีต้นทุนสูง โดยภายในเดือนตุลาคมจะมีการประกาศเพื่อหาผู้ประกอบการเข้ามาเจรจา” รศ.ดร.เทพปัญญากล่าว
นอกจากนี้หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพกล่าวอีกว่า ในอนาคตหากต้องการให้ไซรัปกล้วยเข้าไปแทนที่ไซรัปเมเปิลจากต่างประเทศก็สามารถทำได้ เนื่องจากกล้วยที่ตกเกรดการส่งออกนั้นมีอยู่ประมาณ 30% หรือคิดเป็นปริมาณหลายพันตันต่อปี โดยกล้วยหอมทอง 1 กิโลกรัม สามารถผลิตเป็นไซรัปกล้วยได้ประมาณ 0.7 - 0.8 ลิตร
"ในเรื่องของราคาไซรัปกล้วยก็จะไม่ต่างจากตัวเมเปิลไซรัปซักเท่าไร คือตกประมาณ 1xx บาท ต่อ100 มิลลิลิตร แต่ต้องอาศัยงานวิจัยเชิงการตลาดเพิ่มมากขึ้น เพื่อดูว่าลูกค้าจะรับได้ที่ราคาเท่าไร ซึ่งนอกจากจะใช้ไซรัปกล้วยราดแพนเค้ก หรือรับประทานร่วมกับโยเกิร์ตแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นสารให้ความหวานในเยลลี่กัมมี่และกราโนล่าได้อีกด้วย"

Manager online 22.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร