Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

โรงงานผลิตพืช จุดเปลี่ยนเกษตรไทย  

          “โรงงานผลิตพืช” หนึ่งในคีย์เวิร์ดการพัฒนาเกษตรไทยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 เป็นแพลตฟอร์มต้นแบบที่ไบโอเทค นำมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรและผักผลไม้ราคาแพง
          “โรงงานผลิตพืช” หนึ่งในคีย์เวิร์ดการพัฒนาเกษตรไทยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 เป็นแพลตฟอร์มต้นแบบที่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นำมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรและผักผลไม้ราคาแพง ตอบโจทย์การทำเกษตรแบบยั่งยืน หวังสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่กลับภูมิลำเนา
ญี่ปุ่นใช้งบลงทุนโรงงานผลิตพืชด้วยแอลอีดี 1.27 แสนบาทต่อตารางเมตร สร้างรายได้ปีละประมาณ 7.5 หมื่นบาทต่อตารางเมตร และคืนทุนได้ภายใน 2-3 ปี ขณะที่หลายประเทศมุ่งเป้าพัฒนาโรงงานผลิตพืชด้วยแอลอีดี เพื่อใช้ในการผลิตสารสำคัญทางชีวภาพจากพืชเชิงการค้า เช่น ญี่ปุ่นมี 200 แห่ง ไต้หวัน 100 แห่ง จีน 50 แห่ง สหรัฐอเมริกา 25 แห่ง เกาหลี 10 แห่งและสิงคโปร์ 2 แห่ง
นอกจากยังมีแนวคิดในการพัฒนาโรงงานผลิตพืช เพื่อใช้ผลิตพืชในสภาวะแวดล้อมที่ขาดแคลนทรัพยากรในการผลิต เช่น ในทะเลทรายหรือในอวกาศ เป็นต้น
เป้าหมายสมุนไพรมูลค่าสูง
โรงงานผลิตพืช (Plant Factory) เป็นเทคโนโลยีการผลิตพืชในระบบปิดหรือกึ่งปิด ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เทคโนโลยีดังกล่าวพัฒนาจากองค์ความรู้แขนงต่างๆ ทั้งด้านสรีรวิทยาพืช การเกษตร วิศวกรรมรวมถึงการจัดการเทคโนโลยี จุดเด่นของเทคโนโลยีนี้คือ สามารถผลิตพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงทั้งด้านอัตราการผลิต (ผลผลิตต่อพื้นที่ต่อเวลา) และการใช้ทรัพยากรในการผลิต อีกทั้งสามารถเพิ่มคุณภาพ/สารสำคัญของพืชเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิต
"เราสามารถเพิ่มวิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดที่ใช้เป็นยารักษาโรค รวมถึงคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆ เช่น ผิวสัมผัส รสชาติ และอายุหลังการเก็บเกี่ยว ให้ยาวนานขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ เพราะลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากรน้ำและธาตุอาหาร” เฉลิมพล เกิดมณี หัวหน้าห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาและชีวเคมีด้านพืช ไบโอเทค อธิบายจุดเด่นของ โรงงานผลิตพืช
ปัจจุบันหลายประเทศกำลังให้ความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีโรงงานผลิตพืช และนำไปใช้ผลิตพืชคุณภาพสูงเชิงการค้าได้เป็นผลสำเร็จแล้ว โดยเฉพาะญี่ปุ่น ไบโอเทคจึงเชิญ โตโยกิ โคไซ ศาสตราจารย์ด้านโรงงานผลิตพืชจากมหาวิทยาลัยชิบะ มาถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้แก่นักวิจัย นักวิชาการ เกษตรกรสมัยใหม่และผู้ที่สนใจ เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการผลิตพืชมูลค่าสูง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
ดึงคนรุ่นใหม่เป็นเกษตรกร
เฉลิมพล กล่าวต่อว่า ญี่ปุ่นได้พัฒนาเทคโนโลยีโรงงานผลิตพืชมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี สามารถปลูกพืชได้มากกว่า 10 ชั้น ขึ้นกับชนิดของพืช จึงเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสำหรับการเกษตรพื้นที่จำกัด ส่วนการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ประเทศไทยน่าจะเหมาะกับการปลูกพืชมูลค่าสูงในกลุ่มสมุนไพรเพื่อควบคุมปัจจัยหลัก เช่น ความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชื้น แร่ธาตุและปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ใช้ในการเจริญเติบโต โดยใช้หลอดไฟแอลอีดีเป็นแหล่งกำเนิดของแสง ซึ่งจะทำให้ประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนการจัดการความร้อน มีกระบวนการผลิตที่แม่นยำสูง ผลผลิตที่ได้ปราศจากการปนเปื้อน
ยกตัวอย่าง สมุนไพรบางตัวจะผลิตสารสำคัญทางยาอย่างน้ำมันหอมระเหย แคโรทีนอยด์ หรือ แอนโทไซยานิน ออกมาในเวลาพืชเกิดความเครียดจากสิ่งแวดล้อม หรือสามารถใช้ชนิดสีของแสงแอลอีดีเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโต เช่น ใช้แสงสีน้ำเงินเพื่อเร่งการเจริญเติบโตช่วงใบ หรือใช้แสงสีแดงช่วงเร่งการดอก เป็นต้น คาดว่าภายในปีนี้จะมีการต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมในบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของไทย เพื่อนำสารสกัดที่ได้จากสมุนไพรไปเป็นส่วนประกอบสร้างจุดขายใหม่ อาทิ สารสกัดจากใบบัวบกที่มีส่วนประกอบคอลาเจน ที่นำไปเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
“หากระบบผ่านการพัฒนาให้เหมาะสมกับประเทศไทย จะทำให้ได้ผลผลิตที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนและมีระยะการเก็บเกี่ยวที่สั้นลง รายได้จากผลผลิตสูงขึ้น จะเป็นการกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจการเกษตร ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศ และกลับไปพัฒนาพื้นที่บ้านเกิดทำให้รากฐานของประเทศแข็งแรง” เฉลิมพล กล่าว

Bangkokbiznews 25.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร