Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

กรมวิทย์เฝ้าระวัง 'เชื้อดื้อยา' รพ.ทั่วประเทศ  

          นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาก่อโรคในคน เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เนื่องจากพบว่าเชื้อโรคมีแนวโน้มดื้อยาต้านจุลชีพเพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทำให้โรคติดเชื้อต่างๆ ที่เคยรักษาและควบคุมได้ กลายเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เพราะโรคติดเชื้อที่เคยรักษาหายกลับรักษาไม่หาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มักจะได้ยามาหลายขนานแล้ว เชื้อดื้อยาเป็นภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวเราอย่างมาก เพราะมีรายงานการวิจัยระบุว่าในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000-38,000 คน คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 46,000ล้านบาทและเมื่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยาจนครบทุกขนานก็จะไม่มียาใดสามารถรักษาโรคติดเชื้อได้อีกต่อไป ทั้งนี้การใช้ยาต้านแบคทีเรีย ที่มากเกินความจำเป็นจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการกลายพันธุ์ได้เร็วขึ้น ดังนั้นการชะลอปัญหาเชื้อดื้อยาจึงต้องเริ่มต้นที่ห้องปฏิบัติการก่อน โดยการตรวจวิเคราะห์จะต้องได้ผลถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว และต้องคอยติดตามปรับปรุงวิธีตรวจให้ทันกับเชื้ออยู่เสมอ นอกจากนี้การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นกระบวนการแรกที่จะทำให้ทราบขนาดและแนวโน้มของปัญหาเชื้อดื้อยา รวมทั้งตรวจจับเชื้อดื้อยาอุบัติใหม่
นายแพทย์สุขุม กล่าวต่ออีกว่า แม้ว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักด้านห้องปฏิบัติการ ของกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 เพื่อรายงานอุบัติการณ์ ของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคและแนวโน้มการดื้อยา แต่ยังขาดระบบเฝ้าระวังผู้ป่วย เพื่อระบุที่มาและกลุ่มของปัญหา ดังนั้นประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การอนามัยโลก จึงรับหลักการตาม Global Action Plan for Antimicrobial Resistance Containment ที่จะเข้าร่วมดำเนินการระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาระดับโลก (Global Antimicrobial Resistance Surveillance System, GLASS) เพื่อให้ทราบขนาดของปัญหาการดื้อยาในแต่ละพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการควบคุม ป้องกัน และประเมินกระบวนการจัดการโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผน อย่างบูรณาการทันที เพื่อลดการป่วยตายจากการดื้อยาให้ได้ โดยคาดว่าภายใน 5 ปีจะลดได้ถึงร้อยละ 50
“กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำเนินโครงการบูรณาการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวังเชื้อเชื้อยา โดยได้จัดทำเป็นคำรับรองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ปัจจุบันมีโรงพยาบาลตอบเข้าร่วมเครือข่ายทั้งสิ้น 93 แห่งจาก 77 จังหวัดในจำนวนนี้มีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 5 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง จนสามารถจัดตั้งระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาทางห้องปฏิบัติการที่เป็นระบบฐานข้อมูลของประเทศได้ สำหรับการการอบรมในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งประกอบด้วย นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์จากโรงพยาบาลและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศ เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลความรู้ใหม่ๆ ทันต่อสถานการณ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือ ระหว่างห้องปฏิบัติการเครือข่ายและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการขยายขอบข่ายการเฝ้าระวังและควบคุมเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพให้ตอบสนองการใช้งานทุกระดับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย” นายแพทย์สุขุม กล่าวทิ้งท้าย

 

Bangkokbiznews 25.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร