Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

แม่เฒ่าไทยบีบจมูก-เม้มปากขณะจาม ทำลมเข้าสมอง คาดรายแรกของโลก หมอเตือนทำแก้วหู-ปอดทะลุได้ด้วย  

          "หมอมนูญ" โพสต์เฟซบุ๊กพบคนไข้บีบจมูก เม้มปากขณะจาม ทำลมย้อนกลับเข้าสมอง คาดเป็นรายแรกของโลก เผยลมค่อยๆ ถูกดูดซึมเข้าเส้นเลือดหายไปเอง และอาการดีขึ้นตามลำดับ ยอมรับโชคดีไม่มีการติดเชื้อ เตือนเวลาจามอย่าปิดกั้นลมไม่ให้ออกปาก เสี่ยงทำแก้วหูทะลุ ปอดทะลุ ยิ่งเป็นลมไม่สะอาด อาจถึงขั้นติดเชื้อ
          นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจและปอด โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์รูปภาพและข้อความผ่านเฟซบุณก "หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC" กรณีลมเข้าสมองจากการบีบจมูกและเม้มปากเวลาจาม ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นรายแรกของโลก ว่า ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 82 ปีเป็นโรคเบาหวานและไขมันสูง มาหาผมเมื่อ ธ.ค. 2559 ด้วยอาการพูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก 3 วัน ได้ทำ MRI (คลื่นแม่เหล็ก) สมอง พบมีลม (air pocket) ในเนื้อสมองข้างซ้ายขนาด 7x4x3.2ซม. (ดูลูกศรในรูปภาพ) ติดตามไป อาการดีขึ้นช้าๆ ปัจจุบันปกติดี ผมเพิ่งทราบสาเหตุทำไมอยู่ดีๆ ลมเข้าสมองผู้ป่วยคนนี้ได้ หลังจากอ่านรายงานในวารสาร BMJ Case Reports ของวันที่ 15 ม.ค. 2561 และกำลังเป็นข่าวดังไปทั่วโลกขณะนี้ ชี้ให้เห็นถึงอันตรายของการเอามือบีบจมูก เม้มปากเวลาจาม ด้วยการกลับไปซักประวัติใหม่ว่าผู้ป่วยทำอย่างนั้นก่อนป่วยหรือไม่ ผู้ป่วยตอบว่าก่อนไม่สบาย กำลังจะสั่งน้ำมูก เกิดจามขณะเอามือบีบจมูก เอานิ้วอุดรูหูข้างขวาและเม้มปากพร้อมๆ กัน หลังทำหูข้างซ้ายอื้อและมีเสียงดัง ลมจากการจามออกทางจมูกปากไม่ได้ คงผ่านจากท่อในปากเข้าหูชั้นกลางด้านซ้ายแล้วทะลุผ่านกระโหลกใต้สมองเข้าสมองด้านซ้าย (ดูลูกศรในรูปภาพ) รายนี้น่าจะเป็นรายแรกของโลกที่ลมรั่วเข้าสมองเกิดจากการบังคับไม่ให้จามออกทางปากและจมูก นอกจากปอดรั่ว แก้วหูทะลุ ผนังช่องคอทะลุ เส้นเลือดในสมองแตก ยังมีลมรั่วผ่านกระโหลกเข้าสมองได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นอย่าทำร้ายตัวเองด้วยการเอามือมาบีบจมูกและเม้มปากเวลาจามเด็ดขาด
นพ.มนูญ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ปกติเมื่อเวลาจามนั้น ลมจะออกทางจมูกและปาก ซึ่งลมจากการจามถือว่าแรงและเร็วมาก เคยอ่านพบรายงานว่าอาจเร็วถึง 50-150 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่ก็ยังไม่มีการพิสูจน์ที่แน่ชัดนัก แต่มีความเร็วและแรงมากจริง ซึ่งเมื่อเกิดการไปกั้นลมที่ปากและจมูก ลมจากการจามจึงต้องไปหาทางออกก็คือ บริเวณจุดที่ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งแต่ละคนมีจุดที่ร่างกายอ่อนแอแตกต่างกันไป เช่น บางคนออกที่หู ทำให้แก้วหูทะลุ บางคนที่ปอด ก็ทำให้ปอดรั่ว ซึ่งที่แก้วหูและปอดจะพบได้มากกว่า หรือบางคนลมอาจเข้าไปในกระบอกตาผ่านทางไซนัส สำหรับคนไข้รายนี้ตนทราบสาเหตุเพราะได้อ่านเกี่ยวกับการเอามือบีบจมูก เม้มปากเวลาจาม จึงกลับมาซักประวัติคนไข้รายนี้ก็พบว่ามีการทำเช่นนี้ ลมจึงเข้าไปยังสมอง ผ่านกระโหลกใต้สมองเหนือหูชั้นกลาง แต่ถือว่าโชคดีที่เป็นลมสะอาด จึงไม่มีการติดเชื้อ ซึ่งหากมีการติดเชื้อด้วยจะยิ่งอันตรายมาก ทั้งนี้ คิดว่าน่าจะเป็นรายแรกของโลกที่ลมเข้าไปในสมองจากเหตุนี้ เพราะยังไม่พบรายงานของต่างประเทศเลย
นพ.มนูญ กล่าวว่า ลมจากการจามที่ไปค้างอยู่ตามจุดต่างๆ นั้น จะค่อยๆ ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดและหายไปเอง อย่างผู้ป่วยรายนี้แรกๆ ก็จะมีอาการพูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก เช่น ประเทศเกาอะไรก็พูดไม่ออก แต่สักพักก็ดีขึ้น เนื่องจากลมถูกดูดซึมหายไป ดังนั้น หลายคนที่จามแล้วไม่อยากให้มีเสียงดังเพราะจะรบกวนคนอื่นนั้น อย่าบีบจมูก เม้มปากเพื่อกั้นลมเด็ดขาด เพราะจะก่ออันตรายขึ้นได้ หากแก้วหูทะลุก็จะมีผลต่อการได้ยิน คือได้ยินน้อยลง มีโอกาสน้ำเข้าหูมากขึ้น หรือปอดทะลุก็จะทำให้หายใจไม่ออก เจ็บหน้าอก หรือหากมีเส้นเลือดโป่งพองในสมอง ก็อาจทำให้เส้นเลือดแตกได้เลย เพราะฉะนั้นอย่าทำอะไรที่เป็นการทำร้ายตนเอง เมื่อจามก็ควรเอามือป้องปาก เพื่อไม่ให้เชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น หรือใช้หน้ากากอนามัย
"การรักษาในคนที่กั้นลมจากการจามจนส่งผลให้แก้วหูทะลุ หากเป็นรูเล็กๆ ก็จะสมานเชื่อมไปเอง ส่วนปอดทะลุนั้นจะส่งผลให้ปอดแฟบลง เพราะปอดเหมือนลูกโป่งเมื่อมีรอบรั่วก็จะแฟบลง เมื่อใส่ท่อระบายลงแล้ว ปอดขยายออกมาเหมือเดิมรูก็จะปิดไปเอง แต่หากรูใหญ่หรือฉีกขาดมาก อาจต้องทำการผ่ตัดเย็บรอยรั่ว สำหรับผู้ป่วยรายนี้ ลมที่แทรกเข้าไป ไม่ได้ทำลายสมอง แค่ไปเบียด ทำให้อาการไม่รุนแรงมาก ไม่ถึงขั้นแขนขาชา ไม่มีแรง และลมก็ถูกดูดซึมทางเส้นเลือดไปและอาการดีขึ้น" นพ.มนูญ กล่าว

Manager online 28.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร