Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ล้างดิน กำจัดสารปนเปื้อนและโลหะหนักด้วยอนุภาคแม่เหล็ก  

          การปนเปื้อนสารอันตรายในสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์ก่อมะเร็ง หรือโลหะพิษที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพแบบเฉียบพลันรุนแรงหรือแบบเรื้อรัง ทั้งในดิน น้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน เป็นปัญหาระดับโลกมายาวนานมากกกว่า 40 ปี นับตั้งแต่คดีสารพิษปนเปื้อนใน “คลองเลิฟ” ที่สหรัฐอเมริกา มาจนถึงประเทศไทยซึ่งประสบปัญหาการปนเปื้อนสารอันตรายในสิ่งแวดล้อมไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ
          สำหรับประเทศไทยนั้นมีพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตรายมากกว่า 50 พื้นที่ ทั้งกรณีการปนเปื้อนสารหนูจากเหมืองดีบุกจังหวัดนครราชศรีธรรมราช การปนเปื้อนตะกั่วในลำห้วยคลิตี้จากโรงแต่งแร่จังหวัดกาญจนบุรี แต่มีเพียงบางพื้นที่เท่านั้นที่ภาครัฐได้มีการลงมาจัดการ ซึ่งทั้งในระดับประเทศและในระดับโลกจำเป็นต้องอาศัยวิศวกรรมการฟื้นฟูเพือแก้ปัญหาพื้นที่ปนเปื้อน
ความท้าทายข้างต้นเป็นโจทย์ให้ ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์ภาควิชาโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้วิจัยงานวิจัยโฟมปรับเสถียรด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโนร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยด้วยวิธีสกัดไอดินขึ้นมา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนพล กล่าวว่า ครั้งแรกที่เริ่มทำงานวิจัย ได้ทำเรื่องการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตราย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหมืองทอง เหมืองสังกะสี หรือการลักลอบทิ้งสารเคมี โดยเขาได้ใช้เทคนิคที่ถนัดในการใช้ฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน คือการใช้อนุภาคนาโนของเหล็กประจุศูนย์ ซึ่งเขาศึกษามาตั้งแต่ปริญญาเอก
"เทคนิคการใช้สนามแม่เหล็กเพื่อปรับเสถียรโลหะหนักนี้เป็นหนึ่งใน 61 เทคนิคที่ได้รับการจดทะเบียนทั่วโลกที่ใช้ในการบำบัดและพื้นฟูพื้นปนเปื้อน แต่งานวิจัยชิ้นนี้แตกต่างออกไปมีการใช้สนามแม่เหล็กรวมกับเหล็กประจุศูนย์ และเป็นการทำในดินซึ่งเป็นที่แรกของโลก โดยวิธีที่ใช้สนามแม่เหล็กร่วมด้วยนี้ทางทีมวิจัยทำมาได้สองปีแล้ว"
ทางทีมวิจัยพัฒนาวิจัยตัวโฟมประจุศูนย์ขึ้นมาจากการประยุกต์ใช้แนวคิดการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีไฮเปอร์เทอร์เมีย จากนั้นนำมาเป่าเป็นมูสโฟมคล้ายๆ โฟมดับเพลิง และอัดโฟมดังกล่าวลงไปในดิน จากนั้นโฟมอนุภาคจะเข้าไปเกาะกับสารพิษ โดยทั่วไปจะรอให้สารพิษละลายก่อนแล้ว อิเล็กตรอนนี้จะสามารถเข้าไปเปลี่ยนสารพิษให้อยู่ในรูปที่ไม่เป็นพิษได้ ซึงในกระบวนการเปลี่ยนรูปสารที่มีรูปเป็นพิษไปสู่รูปที่ไม่เป็นพิษ มีด้วยกัน 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนละลายสารพิษ และขั้นตอนให้อิเล็กตรอนเพื่อเปลี่ยนรูปไปเป็นสารไม่มีพิษ
"โฟมประจุศูนย์ทำงานโดยมีหลักการการเอาสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ร่วมกับเหล็กประจุศูนย์ในการฟื้นฟู ซึ่งอนุภาคแม่เหล็กประจุศูนย์คือเหล็กที่พร้อมจะทำปฏิกิริยากับโลหะอื่น โดยการจ่ายอิเล็กตรอนออกไป เพื่อให้ตัวมันเองมีความเสถียรตามธรรมชาติ เมื่อเหล็กประจุศูนย์ได้จ่ายอิเล็กตรอนออกไปแล้ว โลหะหนักที่ได้รับอิเล็กตรอนจากเหล็กประจุศูนย์จะเปลี่ยนรูปไปอยู่ในรูปที่ไม่เป็นอันตราย ส่วนตัวเหล็กประจุศูนย์เมื่อให้อิเล็กตรอนออกไปแล้วจะอยู่ในรูปของสนิม"
ส่วนการใช้สนามแม่เหล็กร่วมด้วยนั้นเพื่อให้เหล็กประจุศูนย์เกิดการให้อิเล็กตรอนได้เร็วขึ้นจากการที่อนุภาคที่เคลื่อนไหวไปมาจนเกิดความร้อนขึ้น เนื่องจากตามธรรมชาติที่อุณหภูมิห้อง อุณหภูมิพื้นดิน ขั้นตอนของการละลายสารพิษจะใช้เวลานานมาก เมื่อเกิดความร้อนขึ้นถึงประมาณ 100 องศาเซลเซียส สารพิษที่อยู่ในดินจะเกิดการละลายและสามารถสูบขึ้นมาได้ง่ายกว่าสภาวะปกติประมาณ 40 เท่า อิเล็กตรอนที่ถูกจ่ายออกได้เร็วขึ้นจะสามารถไปสลายสารพิษให้เป็นสารไม่มีพิษเพื่อนำออกจากดินได้เร็วกว่าสภาวะปกติ 50 เท่า
"การฟื้นฟูดินด้วยวิธีการนี้ไม่ส่งผลต่อสัตว์หน้าดินหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เพราะเหล็กประจุศูนย์ที่เปลี่ยนเป็นสนิมไม่มีความอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต" ผศ.ดร.ธนพลกล่าว
สำหรับอุปสรรคหลักๆ ของงานวิจัยโฟมปรับเสถียรคือประเทศไทยไม่มีเครื่องสนามแม่เหล็ก ทางทีมวิจัยจึงต้องพัฒนาเครื่องขึ้นมาเอง และตอนนี้ยังได้พัฒนาเครื่องล้างดินซึ่งสามารถจำกัดแคดเมียมในดินได้ โดยมีหลักการทำงานคือขุดหน้าดินถึงระดับความลึกที่แคดเมียมแทรกซึมสู่ช่องว่างในดิน และระดับที่รากพืชหยั่งลงไปถึง จากนั้นนำดินมาผสมกับเหล็กเพื่อให้จับแคดเมียมที่เป็นสารพิษ แล้วใช้เครื่องแยกทางแม่เหล็กที่มีสายพานและแกนแม่เหล็ก เพื่อแยกเหล็กที่จับแคดเมียมไว้ ดังนั้นแคดเมียมจึงถูกแยกออกจากดินได้ในที่่สุด
สำหรับเกณฑ์ในการเลือกดินมาล้างนั้น ผศ.ดร.ธนพลให้ข้อมูลว่า จะเลือกดินจากบริเวณที่มีการปนเปื้อนสูงซึ่งจัดเป็นโซนแดง ซึ่งเขาได้ล้างดินเพื่อกำจัดแคดเมียมที่ปนเปื้อนในดินมาเป็นเวลา 7 ปีแล้ว โดยเริ่มจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ จ.ระยอง และเริ่มลงพื้นที่ฟื้นฟูให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหมือง
จากเทคนิคที่ใช้นี้ช่วยร่นระยะเวลาในการฟื้นฟูดินลงได้มาก เช่น บางพื้นที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟูด้วยเทคนิคทั่วไปนาน 3-5 ปี แต่เมื่อใช้เทคนิคล้างดินด้วยสนามไฟฟ้าและเหล็กประจุศูนย์นี้ก็ร่นเวลาลงเหลือเพียง 2 สัปดาห์ และในขั้นต่อไปของการพัฒนาคือ ทำให้เครื่องล้างดินสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น และทำงานด้วยระบบอัตโนมัติมากขึ้น คือ สามารถปั่นดินที่ปนเปื้อนขึ้นมาฟื้นฟูได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานคนในการขุด
นอกจากประสิทธิภาพในการฟื้นฟูดินปนเปื้อนสารพิษและโลหะหนักแล้ว งานวิจัยของ ผศ.ดร.ธนพลนี้ยังได้รับรางวัล TRF – OHEC – Scopus Researcher Award สาขา Engineering and Multidisciplinary Technology จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้วย อีกทั้งเขาได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานนี้แก่สาธารณะด้วย

Manager online 01.02.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร