Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

‘เมติคูลี่’จากแล็บ สตาร์ทอัพกระดูกเทียม  

          “เมติคูลี่” แพลตฟอร์มนวัตกรรมทางการแพทย์สปินออฟจากรั้วจุฬาฯ โดยนักวิจัยผู้คิดค้นกระดูกเทียมไทเทเนียมและเทคนิคการพิมพ์สามมิติ ตั้งเป้าก้าวสู่ตลาดโลกผ่านการนำเสนอผลงานในต่างประเทศ พร้อมเปิดระดมทุนร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หารายได้ช่วยเหลือผู้ป่วย 100 คนในโครงการกระดูกเทียมเพื่อคนไทย“เมติคูลี่” แพลตฟอร์มนวัตกรรมทางการแพทย์สปินออฟจากรั้วจุฬาฯ โดยนักวิจัยผู้คิดค้นกระดูกเทียมไทเทเนียมและเทคนิคการพิมพ์สามมิติ ตั้งเป้าก้าวสู่ตลาดโลกผ่านการนำเสนอผลงานในต่างประเทศ พร้อมเปิดระดมทุนร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หารายได้ช่วยเหลือผู้ป่วย 100 คนในโครงการกระดูกเทียมเพื่อคนไทย
หลังจากใช้เวลากว่า 3 ปีวิจัยและพัฒนาวัสดุฝังในร่างกาย ประเภทกระดูกเทียมและแผ่นโลหะดามกระดูก โดยประยุกต์ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติในการออกแบบและขึ้นรูปวัสดุให้ตรงกับรูปร่างหรือใกล้เคียงอวัยวะส่วนเดิมของผู้ป่วยแต่ละคน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านกระดูกจากอุบัติเหตุรวมถึงปัญหากระดูกจากโรคมะเร็ง ซึ่งที่ผ่านมาต้องนำเข้าวัสดุด้านออร์โธปิดิกส์ปีละประมาณ 1 แสนชิ้น มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท อีกทั้งขนาดหรือสัดส่วนอุปกรณ์ไม่เหมาะกับสรีระคนไทย
เครื่องมือแพทย์สัญชาติไทย
บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน กรรมการผู้จัดการเมติคูลี่ กล่าวว่า บริษัทมุ่งตอบโจทย์ของประเทศด้านอุปกรณ์การแพทย์ ด้วยการใช้องค์ความรู้และงานวิจัยมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อปูทางรับเทคโนโลยีวัสดุทางการแพทย์ในอนาคต ที่สำคัญจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศต่อไปข้างหน้า ส่งผลให้เกิดวัสดุทางการแพทย์ใหม่ออกมาช่วยทำให้แพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้นและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นล่าสุดได้ยกระดับด้วยการสปินออฟผลงานวิจัยไปสู่การให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ ในชื่อ บริษัท เมติคูลี่ จำกัด เมื่อปี 2560 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท จากการร่วมทุนระหว่างทีมนักวิจัยและนิสิตจุฬาฯ
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการรักษาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกระดูก ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุและโรคต่างๆ การหาวัสดุมาใส่ทดแทนกระดูกส่วนที่เสียหายในบางตำแหน่งนั้นไม่สามารถหามาใส่ทดแทนได้อย่างเหมาะสม ทำให้ต้องผ่าตัดนำกระดูกบางส่วนของผู้ป่วยมาใช้แทน เช่น กระดูกขา สะโพก จึงเป็นที่มาของการค้นคว้าหาทางผลิตกระดูกเทียมดังกล่าว
“ช่วงที่ผ่านมามีคนไข้ประมาณ 20 คนที่ใช้กระดูกเทียมและแผ่นโลหะดามกระดูกจากผลงานวิจัย อีกทั้งมีแพทย์จากโรงพยาบาลต่างๆ เข้ามาทำงานร่วมกันในการออกแบบพัฒนาวัสดุที่นำไปใช้กับคนไข้ อาทิ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลเชียงใหม่ โรงพยาบาลขอนแก่น เป็นต้น จึงเป็นเคสที่สามารถนำไปเป็นกรณีศึกษาที่ใช้แชร์ข้อมูลระหว่างกันในวงการแพทย์ โดยเฉพาะในเวทีต่างประเทศ เนื่องจากแพทย์ไทยได้รับการยอมรับทั้งฝีมือความรู้ในระดับต้นๆ โดยเฉพาะเมื่อเราสามารถพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จึงกลายเป็นจุดแข็งที่สร้างความแตกต่างและการยอมรับได้เร็วขึ้น”
ขณะเดียวกัน ทางบริษัทเร่งทำมาตรฐานไอเอสโอและมาตรฐานยุโรป (CE) เพื่อสร้างความน่าเชื่อ รวมทั้งกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนดำเนินการภายในห้องสะอาด ทั้งผ่านการรับรองและจดทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้เป็นสถานประกอบการด้านเครื่องมือแพทย์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ชั้น 6 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กำลังการผลิตปีละ 3,000-4,000 ชิ้น ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตตามออเดอร์แพทย์ อีกส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อการวิจัยซึ่งสัดส่วนมากถึง 90% เพราะงานวิจัยต้องทำต่อเนื่องหยุดทำไม่ได้
โซลูชั่นตอบโจทย์แพทย์&คนไข้
“จากเดิมที่มุ่งพัฒนาเพื่อผู้ป่วยไทยให้เข้าถึงวัสดุทางการแพทย์ราคาถูก แต่ในความเป็นจริงหากคิดแบบนั้นจะกลายเป็นกรอบการพัฒนาที่ทำให้ต้นทุนต่ำ เพื่อให้จำหน่ายในราคาถูกเท่านั้น จึงไม่ใช่คำตอบสำหรับความยั่งยืนในระยะยาวในเชิงพาณิชย์ ส่งผลให้ต้องปรับแนวคิดการพัฒนาัี่้ืีัิัื่้ั และเตรียมที่จดสิทธิบัตรในอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น ล้วนเป็นตลาดหลักที่มีความต้องการและกำลังซื้อสูง คาดว่า อีก 2 ปีจะเริ่มทำตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง จะทำให้กลุ่มผู้ใช้ในไทยเกิดความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นด้วย”
บุญรัตน์ กล่าวสำหรับแนวทางของเมติคูลี่จะเน้นสร้างนวัตกรรมให้เป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ เพื่อให้บริษัทมีรายได้ที่จะย้อนกลับมาช่วยให้ผู้ป่วยไทยเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น ผู้ป่วยที่ใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมดังกล่าว ได้แก่ ภาวะกระดูกหักในตำแหน่งที่ซับซ้อน เนื้องอกกระดูก มะเร็งกระดูก ผู้ป่วยที่บาดเจ็บบนใบหน้า เช่น โหนกแก้มแตก กะโหลกร้าวและกลุ่มผู้สูงวัย 2 กลุ่ม คือกลุ่มสมองบวมจากเส้นเลือดในสมองอุดตันต้องผ่าตัดเปิดกะโหลก และกลุ่มกระดูกทรุดจากภาวะกระดูกพรุน
บุญรัตน์ กล่าวว่า การทำตลาดอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นเรื่องยากไม่แพ้ตลาดยา ภาวะการแข่งขันรุนแรง ขณะที่บริษัทต้องอาศัยทีมขายที่เชี่ยวชาญในตลาดเครื่องมือแพทย์ ควบคู่กับการนำเสนอผ่านประสบการณ์ใช้จริงของแพทย์ในการผ่าตัดแก้ไขปัญหาซับซ้อน ขณะที่วงการแพทย์ทั่วโลกยอมรับฝีมือของแพทย์ด้านกระดูกของไทยอยู่แล้ว จะส่งผลให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและยอมรับในตลาด

 

Bangkokbiznews 8 ก.พ.61

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร