Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ส่งความงามจาก “สเต็มเซลล์จมูกข้าว” ชะลอริ้วรอย-ยับยั้งการเกิดเม็ดสี  

         นักวิจัยไทยสกัดสเต็มเซลล์จากจมูกข้าวได้เซรั่มชะลอการเกิดริ้วรอย-ยับยั้งการเกิดเม็ดสี สกัดได้ทั้งปี ไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากสร้างนวัตกรรมให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางแล้ว ยังผลิตได้ทัั่งปีจากรวงข้าวในทุ่งนาไทย
          จากความนิยมของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางที่ใช้สารสกัดจากเซลล์พืช เช่น องุ่น แอปเปิล บัวบก หรือต้นสมุนไพรเอ็กไคนาเซีย แต่ยังไม่มีสเต็มเซลล์จากพืชไทย จึงเป็นจุดเริมต้นให้ ดร.นิสากร แซ่วัน จากสำนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแมฟ้าหลวง จ.เชียงราย จึงเริ่มโครงการการสกัดสเต็มเซลล์จากจมูกข้าว และรับหน้าทีหัวหน้าโครงการ
"ประเทศไทยยังไม่มีการผลิตสเต็มเซลล์จากพืชไทย และยังไม่มีการผลิตสเต็มเซลล์ในไทย ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทยต้องไปซื้อสเต็มเซลล์จากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังต้องการสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าของวัตถุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในเชียงราย และเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าสารตั้งต้นของเครื่องสำอางหรือเครื่องสำอางจากต่างประเทศ อีกทั้งยังต้องการชูศักยภาพของผลิตภัณฑ์จากของในประเทศไทย จากคนไทยเพื่อคนไทย และจากโจทย์วิจัยนี้เองทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เซรั่มจมูกข้าวขึ้นมา" ดร.นิสากรกล่าว
สำหรับข้อดีของสารสกัดสเต็มเซลล์จากจมูกข้าวคือสามารถเก็บเกี่ยวได้ทั้งปี ผลิตได้ตามต้องการกล่าวคือสามารถควบคุมและสร้างสภาวะการเพาะแคลลัส (callus) หรือเซลล์ที่รวมกันเป็นกลุ่มและยังไม่เป็นเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใดๆ เพื่อให้มีสารสำคัญได้ตามต้องการ อีกทั้งการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ยังช่วยให้ไม่มีสารเคมีตกค้าง ไม่มีจุลินทรีย์ปนเปื้อน เพราะต้องเลี้ยงสเต็มเซลล์ในสภาวะปลอดเชื้อ และข้อสุดท้ายได้สารสำคัญในปริมาณที่สูง
ในขั้นตอนการ "เพาะแคลลัส" นั้น ทีมวิจัยเก็บข้าวเปลือกของข้าว 7 สายพันธุ์คือ ข้าวหอมมะลิ ข้าวขาวดอกมะลิ กข 105 ข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวดำลืมผัว ข้าวไรท์เบอร์รี่ ข้าวมันปูข้าวสังข์หยด จากนั้นก็กะเทาะเปลือกออก โดยระวังให้สวนจมูกข้าวยังติดอยู่กับเม็ดข้าว และนำไปฆ่าเชื้อในน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วนำไปใส่ในอาหารแข็งที่มีสารอาหารเหมาะสมสำหรับการเจริญเป็นสเต็มเซลล์
“เมื่อผ่านไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะพบว่ามีแคลลัสหรือสเต็มเซลล์เกิดขึ้น ทางทีมวิจัยก็จะทำการตัดและนำแคลลัสไปทำเป็นสารสกัดโดยสารสกัด 1 กิโลกรัมจะใช้ข้าวทั้งเมล็ดประมาณ 200 กรัมหรือ 2 ขีด”
ส่วนเหตุผลที่เลือกผลิตเซรั่มจากสเต็มเซลล์นั้น ดร.นิสากรอธิบายว่า เพราะเป็นระยะที่เซลล์ต้องเลือกว่าจะเจริญเติบโตไปเป็นส่วนใด ทำให้ภายในเซลล์มีโกรทฮอร์โมน (growth hormone) มากกว่าเซลล์ระยะอื่น โดยในการศึกษาสเต็มเซลล์จมูกข้าวเพื่อนำมาผลิตเซรั่มและไนท์ครีม ทีมวิจัยได้ศึกษาคุณสมบัติต้านความชราจากสารสกัดสเต็มเซลล์ข้าวเทียบกับสารสกัดจากข้าว
ทีมวิจัยได้ศึกษาปริมาณสารฟีนอลิก (phenolic) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ FRAP และมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างเมลานิน สารฟีนอลิกยังกระตุ้นการเจริญของเซลล์ผิวหนังและเซลล์ผม และจากการทดสอบสารสลัดจากสต็มเซลล์และสารสกัดจากข้าวในน้ำหนักที่เท่ากัน พบว่าปริมาณสารสำคัญที่ได้จากสเต็มเซลล์ข้าวนั้นมีมากกว่าสารสกัดจากข้าว
"เมื่อทำการทดสอบปริมาณสารสำคัญแล้วทีมวิจัยจึงนำสารสกัดจากสเต็มเซลล์มาใส่ในสูตรตำรับพื้นรูปแบบโลชั่นที่ทางทีมวิจัยได้คิดค้นขึ้นมาเอง และทดสอบเปรียบเทียบระหว่างครีมเปล่าที่ไม่ได้ใส่สเต็มเซลล์ข้าว ครีมที่ผสมสเต็มเซลล์ข้าว และครีมข้าวจากเกาหลี โดยเปรียบเทียบในเรื่องการสร้างความระคายเคือง ความชุ่มชื้น ความขาวกระจ่างใส และความยืดหยุ่นของผิวในอาสาสมัคร 28 คน เป็นเวลา 12 สัปดาห์"
จากการทดสอบพบว่าเมื่ออาสาสมัครใช้เซรัมสเต็มเซลล์ดังกล่าวครบ 3 สัปดาห์ ก็เริ่มเห็นผลลัพธ์ โดยสารสกัดจากข้าวไทยจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าครีมอื่นๆ ที่มาเปรียบเทียบประมาณ 2-3 เท่า และ ดร.นิสากรบอกด้วยว่า การทาเซรั่มจมูกข้าวที่ผิวหนังโดยตรงจะให้ผลที่ดีกว่าแบบที่เป็นอาหารเสริมจากจมูกข้าว เพราะสามารถซึมเข้าผิวได้โดยตรง
ทั้งนี้ ความชราของผิวหนังนั้นเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของริ้วรอยและความหย่อนคล้อย ซึ่งอาจเกิดจากทั้งปัจจัยภายใน เช่น การเกิดหรือการบางลงของผิวหหนัง ปริมาณคอลลาเจนและอีลาสตินในผิวที่ลดลง และปัจจัยภายนอก เช่น การสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ มลภาวะ ควันบุหรี่และแสงแดด
ดร.นิสากร กล่าวเสริมว่างานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำมาเป็นระยะเวลา 2 ปีจนกระทั้งได้เป็นตัวผลิตภัณฑ์เซรั่มออกมา โดยมีความร่วมมือกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศษตร์ สาขาเคมี มหาวิทยาลัยทักษิณ ในขั้นต่อไปในอนาคตจะมีการศึกษาเรื่องนานโนเทคโนโลยีอย่างอิมัลชั่นและเอนแคปซูเรชั่น (Encapsulation) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการซึมผ่าน
“สวนแหล่งวัตถุดิบที่ทีมวิจัยนำข้าวมาเพาะเพื่อผลิตสารสกัดจากสเต็มเซล์ลคือชุมชนข้าวต้นทิพย์ ซึ่งปลูกข้าวแบบอินทรีย์และผลิตข้าวเปลือกได้ตลอดทั้งปี แต่หากผู้ประกอบการรายใดสนใจซื้อองค์ความรู้ในสวนของการทำสารสกัด ก็สามารถเลือกชนิดข้าวตามที่ต้องการได้ โดยไม่เจาะจงเพีบงข้าว 7 สายพันธุ์ที่ทีมวิจัยได้นำมาทดสอบประสิทธิภาพและทีมวิจัยจะเป็นผู้ควบคุมคุณภาพของสารสกัดที่ผลิตออกมา”
ดร.นิสากรให้ความมั่นใจว่าในอนาคตหากสเต็มเซล์ลข้าวเป็นที่นิยมจะไม่เกิดการแย่งอาหารจากมนุษย์แน่นอน เนื่องจากในการทำสารสกัดจะใช้เพียงส่วนที่เป็นจมูกข้าวเพื่อนำมาเพาะเป็นแคลลัสเท่านั้น และในการควบคุมการปลอดการปนเปื้นของสารเคมีในเมล็ดข้าวนั้นจะต้องเลือกใช้ข้าวที่มีใบรับรองด้านเกษตรอินทรีย์ หรือหากเลือกใช้ที่ไม่ได้รับการรับรอง ก็สามารถตรวจหาสารปนเปื้อนในข้าวได้จากการตรวจด้วยเครื่องตรวจโครมาโตกราฟีเอชพีแอลซี (High Performance Liquid Chromatography: HPLC)
“ในช่วงแรกๆ ของการวิจัยครั้งนี้ทีมวิจัยพบปัญหาและอุปสรรคของการวิจัยคือผลการทดลองก็มักจะล้มเหลว เนื่องจากสร้างสภาวะของอาหารและการเพาะไม่ถูกต้อง ทำให้จมูกข้าวที่นำมาเพาะเพื่อให้งอกเป็นแคลลัสนั้นงอกเป็นรากบ้าง งอกเป็นยอดบ้าง บางครั้งเมื่อเพาะไปแล้ว อาหารแข็งสำหรับเพาะเลี้ยงเกิดการปนเปื้อน จึงต้องทิ้งทั้งหมด" ดร.นิสากรเล่าถึงอุปสรรคก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องสำอางจากสเต็มเซลล์ข้าว
สำหรับงานวิจัยนี้มีผู้ประกอบการที่ได้ซื้อองค์ความรู้ไปแล้วคือ บริษัท วธูธร จำกัด และ บริษัท โปรดักส์พลัสอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งผู้ประกอบการทั้งสองรายมีห้องปฏิบัติการและเครื่องมือที่ใช้สกัดสารสกัดจากสเต็มเซล์ลจมูกข้าวเป็นของตัวเองติดตั้งอยู่ภายในโรงงาน ซึ่งทีมวิจัยจาก ม.แม่ฟ้าหลวงจะเป็นผู้ควบคุมคุณภาพการผลิต
ในการขายองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการครั้งนี้ มีข้อตกลงที่ว่าเครื่องสำอางทีผลิตนั้นต้องมีสารสกัดจากสเต็มเซล์ลจมูกข้าวอย่างน้อย 2% ของส่วนผสมทั้งหมด และหากผู้ประกอบการขายสารสกัดจากสเต็มเซลล์ให้แก่ผู้อื่นต้องมีราคาไม่เกิน 15,000 บาทต่อกิโลกรัม และหากลูกค้าซื้อ 5 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องขายในราคากิโลกรัมละ 12,000 บาท โดยสารสกัดจากการผลิตแตละครั้งมีอายุ 2 ปี

Manager online 06.02.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร