Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“เทียนกง-1” สถานีอวกาศจีนรอวันตก บททดสอบการจัดการขยะอวกาศ  

          ขณะที่เรากำลังใช้ชีวิตอย่างปกตินั้น “เทียนกง-1” สถานีอวกาศจีนที่หมดอายุและหลุดจากการควบคุมแล้วนั้นกำลังรอวันตกสู่พื้นโลก โดยที่เราไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าขยะอวกาศชิ้นนี้จะสู่จุดใดของโลก แม้ว่าโอกาสจะตกสู่แผ่นดินนั้นน้อยกว่าโอกาสตกในมหาสมุทร แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่
          “เทียนกง-1” (Tiangong-1) เป็นสถานีอวกาศที่พัฒนาโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยไม่มีความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสถานีอวกาศรุ่นที่ 3 ถัดจากสถานีอวกาศเมียร์ของสหภาพโซเวียต ซึ่งสถานีอวกาศจีนลำนี้มี 3 ประกอบ คือ โมดูลขับเคลื่อน ห้องปฏิบัติการวิจัย และระบบเทียบท่าอัตโนมัติ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.4 เมตร มีความยาวรวม 10.5 เมตร และมีมวล 8.5 ตัน รองรับลูกเรือสำหรับปฏิบัติงานและอาศัยในระยะสั้นได้ 3 นาย
สถนีอวกาศเทียนกง-1 ถูกส่งขึ้นไปจากฐานปล่อยจรวดในทะเลทรายโกบี ของมณฑลมองโกลเลีย เมื่อ 29 ก.ย.54 สู่วงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit) ที่ระยะสูง 264-292 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก และได้ปฏิบัติงานรวม 6 ปี 152 วัน โดยโคจรรอบโลก 36,011 รอบ ซึ่งแต่ละรอบโคจรนั้นใช้เวลา 90 นาที กระทั่งเมื่อเดือน ก.ย.58 สถานีอวกาศลำนี้ได้หมอายุการใช้งานและสูญเสียการควบคุมจากสถานีภาคพื้น โดยมีอัตราการสูญเสียระยะสูง 17.5 เมตรต่อวัน
ข้อมูลจาก น.อ.ฐากูร เกิดแก้ว ผู้อำนวยการกองกิจการอวกาศ ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศ ระบุว่า มีคาดการณ์ว่าสถานีอวกาศเทียนกง-1 จะตกสู่พื้นโลกช่วงปลายเดือน มี.ค.-ต้นเดือน เม.ษ.61 โดยคาดการณ์จากกองทัพอากาศสหรัฐฯ ระบุว่า สถานีอวกาศน่าจะตกสู่พื้นโลกประมาณวันที่ 8 เม.ษ.61 ขณะที่องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือแจกซา (JAXA) คาดการณ์ว่าเทียนกง-1 จะตกสู่พื้นโลกวันที่ 31 มี.ค.61 โดยอาจจะตกก่อนหรือหลังวันดังกล่าว 8 วัน
อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศและแรงเสียดทานของบรรยากาศโลกมีผลต่อทิศทางและอัตราการล่วงหล่นของสถานีอวกาศ จึงเป็นไปได้ยากที่จะคาดการณ์ตำแหน่งการตกถึงพื้นโลกล่วงหน้าหลายวัน โดยการรบุตำแหน่งที่แน่นอนทำได้ล่วงหน้าเพียง 6-7 ชั่วโมงก่อนการตก (Re-entry) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เมื่อสถานีอวกาศอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 100 กิโลเมตร จะถูกแรงดึงดูดตกสู่พื้นโลกทันที
นอ.ฐากูรรายงานว่า ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (เพื่อพลาง) ศวอ.ทอ หรือลีซา (LESA) ซึ่งมีภารกิจในการวิจัยและพัฒนาระบบสังเกตการณ์โลก และระบบเฝ้าระวังด้านอวกาศ โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ติดตามดาวเทียม ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ สถานีรายงานอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ สังเกตเทียนกง-1 ระหว่างวันที่ 25-26 ก.พ.61 พบว่าสถานีอวกาศได้โคจรข้ามขอบฟ้าของดอยอินทนนท์ในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่ระยะสูง 252 กิโลเมตร ด้วยความเร็วเฉลี่ย 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และยังสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยมีลักษณะคล้ายดาวสว่างสีขาวกะพริบเคลื่อนที่ก่อนจางหายไปในเงาโลก
สถานีอวกาศเทียนกง-1 ในปรากฏให้เห็นอีกครั้งเหนือท้องฟ้าไทยเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) และกองทัพอากาศได้นำคณะสื่อมวลชนและคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 50 คนไปรวมสังเกตการโคจรผ่านของสถานีอวกาศ ในมุมเหนือศีรษะบริเวณยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งซึ่งจากสังเกตการณ์ครั้งนั้นสถานีอวกาศอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 232 กิโลเมตร และจากการจำลองวิถีโคจรของลีซานั้นสถานีอวกาศเทียนกง-1 จะผ่านไทยครั้งสุดท้ายในวันที่ 25 มี.ค.ก่อนตกสู่พื้นโลก
ขณะที่ข้อมูลจาก ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์วงโคจรของจิสด้า ระบุว่า ข้อมูลล่าสุดจากเครือข่ายเฝ้าระวังทางอวกาศ (Space Surveillance Network: SSN) เมื่อ 28 ก.พ.ระบุว่า สถานีอวกาศเทียนกง-1 จะสู่พื้นโลกไม่เกินวันที่ 10 เม.ย.นี้ แต่ความแม่นยำในคาดการณ์จะมากขึ้นเมื่อสถานีอวกาศอยู่ใกล้โลกมากกว่านี้ โดยจิสด้าได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีความเชี่ยวชาญด้านกายภาพและการจัดการวัตถุอันตราย แต่งตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์เทียนกง-1 และอยู่ระหว่างจัดทำคู่มือปฏิบัติการแก่หน่วยงานต่างๆ เพื่อความเข้าใจและเป็นแนวทางในการจัดการชิ้นส่วนที่อาจตกลงมาสู่ประเทศไทย
สำหรับสถานะของเทียนกง-1 จัดเป็นขยะอวกาศ ซึ่ง นอ.ฐากูรกล่าวว่า ขยะอวกาศในวงโคจรต่ำนั้นมีมาก และทุกครั้งที่ส่งจรวดหรือดาวเทียมก็จะมีขยะอวกาศเกิดขึ้นทุกครั้ง และกำลังเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งดาวเทียมต่างๆ ที่หมดอายุก็ยังโคจรเป็นขยะอยู่ในวงโคจรได้อีกหลายสิบปี แต่โดยปกติแล้วดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งานแล้วจะยังมีเชื้อเพลิงเพื่อใช้ควบคุมให้ตกสู่โลกและเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ แต่สำหรับเทียนกง-1 นั้นไม่สามารถควบคุมได้
ด้าน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการจิสด้า กล่าวว่า ในอีกแง่หนึ่งสถานการณ์ของเทียนกง-1 ก็นับเป็นโอกาสในการพิสูจน์ศักยภาพในการจัดการขยะอวกาศ ซึ่งประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเทคโนโลยีติดตามดาวเทียมได้ แม้ว่าจิสด้าไม่มีเครื่องมือในการติดตามโดยตรง แต่สถานกาณ์ครั้งนี้ป็นอีกตัวอย่างของความร่วมมือที่อาศัยความเชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงานสร้างเป็นเครือข่าย
ในการติดตามสถานีอวกาศเทียนกง-1 ครั้งนี้มีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดย ดร.อานนท์อานนท์แจกแจงไว้ว่า ได้รับความร่วมมือจากกองทัพอากาศมีเครื่องมือที่สามารถติดตามเทียนกง-1 และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ซึ่งมีเทคโนโลยีช่วยในการติดตามวัตถุอวกาศ ส่วนจิสด้านั้นมีซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการติดตาม แต่เทคโนโลยีที่มีนั้นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะสามารถติดตามวัตถุอวกาศได้จากมุมเดียวคือมุมบนยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งจำเป็นต้องมีเครื่องมืออีกหลายตัวเพื่อติดตามได้ครอบคลุมประเทศไทยมากขึ้น

Manager online 20.03.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร