Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยพิษสุนัขบ้าชี้ Set zero ไม่ตอบโจทย์ทางออกอยู่ที่ทำหมัน  

          นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านพิษสุนัขบ้าระบุการ Set zero ฆ่าหมาแมวจรจัดเป็นล้านตัวไม่ตอบโจทย์ ยกตัวอย่างจีนเคยทำแต่หมาจรแมวจรก็กลับมาเพิ่มขึ้นอีกจากคนเลี้ยงนำไปปล่อย แนะวิธีที่ดีกว่าคือทำหมันเพื่อควบคุมและลดประชากรหมาแมว
          ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้เชี่ยวชาญโรคพิษสุนัขบ้า เผยถึงสถานการณ์ของโรคดังกล่าวในการเสวนา “ตอบโจทย์สังคม โรคพิษสุนัขบ้า” เมื่อวันที่ 20 มี.ค.61 ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
"ตอนนี้หลายๆ สำนักข่าวได้ลงข่าวเกี่ยวกับสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีการประกาศเขตควบคุมโรค “โรคพิษสุนัขบ้า” ใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ และล่าสุดมีข่าวออกมาว่าเด็กหญิงอายุ 14 ปีเสียชีวิตจากเชื้อพิษสุนัขบ้า เพียงแค่โดนข่วนเท่านั้น ซึ่งมีการพบแพร่ระบาดของโรคมากสุดในสุนัข วัว และแมวตามลำดับ"
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ แจงว่าเชื้อพิษสุนัขบ้านั้นสามารถมีอยู่ได้ในลูกสุนัขหรือลูกแมวโดยไม่จำกัดช่วงอายุ และไม่มีเพียงหน้าร้อนเท่านั้นที่จะก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ เพียงแต่การแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนโดยมากนั้นมักมาจากการถูกกัดหรือถูกข่วนโดยสุนัขจรจัดและสุนัขเลี้ยง
"สาเหตุหลักของหลักๆ มาจากการที่คนเราเลี้ยงสุนัขในจำนวนที่มากเกินพอ และเจ้าของที่เลี้ยงสุนัขตัวผู้นั้นไม่ทำการควบคุมการแพร่พันธุ์ เมื่อสุนัขของตนติดเชื้อก็จะทำการแพร่พันธ์ไปสู่สุนัขตัวเมียอื่นๆ ผ่านการผสมพันธุ์ และสุนัขตัวเมียก็จะมีโอกาสให้กำเนิดลูกสุนัขที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้าออกมาทีละหลายๆ ตัว อีกสาเหตุหนึ่งคือสุนัขที่เจ้าของปล่อยออกมาวิ่งเล่นข้างนอกซึ่งในตัวสุนัขมีเชื้อไปกัดหรือข่วนผู้อื่น" ศ.นพ.ธีระวัฒน์เผยถึงหนึ่งในสาเหตุการระบาดของโรค
จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทำให้รัฐบาลได้ประกาศว่าจะทำการ Set zero สุนัขและแมวจรจัดขึ้น โดยทาง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาสภากาชาดไทย ได้ให้ความเห็นว่า การ Set zero หรือเรียกอีกอย่างคือการกำจัดสุนัขและแมวจรจัดให้หมดไป เป็นการจัดการปัญหาที่ไม่ถูกวิธีซักเท่าไร
"เพราะเคยมีประเทศที่ใช้วิธีนี้ในการกำจัดมาก่อน อย่างประเทศจีนแต่ก็ไม่ได้ผลอย่างที่ควรเพราะ จำนวนสุนัขและแมวจรจัดจะลดลงในช่วงระยะเวลาไม่นานและก็จะกลับมาเพิ่มจำนวนได้เท่าเดิม เพราะอาจจะมีเจ้าของนำสุนัขและแมวมาทิ้งไว้ได้ทุกเมื่อ ดังนั้นถ้าหากจะทำการลดจำนวนของสัตว์จรจัดต้องจัดการที่สาเหตุคือการทำหมัน"
ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าวว่า การ Set zero อาจจะเป็นการจุดชนวนให้กลุ่มคนที่รักสัตว์และกลุ่มคนที่เห็นด้วยกับประกาศออกมาตอบโต้กัน ดังนั้นจึงต้องมีการขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ เจ้าของสัตว์เลี้ยงและผู้ที่เมตตาและอาศัยอยู่ในบริเวณชุมชนนั้น ช่วยกันนำสุนัขและแมวไปทำหมัน
ทั้งนี้ ภายในการเสวนานั้น ภญ.วรสุดา ยูงทอง ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เผยถึงนวัตกรรมทำหมันหมาโดยไม่ต้องผ่าตัด พร้อมทั้งประสบการณ์ตรงจาก สพ.ญ.นัยนา อภิชาติพันธุ์ นายสัตวแพทย์เชี่ยวชาญเทศบาลสมุทรปราการ ในเรื่อง “ฉีดไข่หมาแบบการุณย์” ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 3,000 ตัว
สำหรับการฉีดไข่หมาเพื่อทำหมันนั้นได้รับการต่อต้านว่าเป็นการทรมานสัตว์ ทว่าจากมุมของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงประจักษ์พยานในพื้นที่และเจ้าของสัตว์เลี้ยงให้ความเห็นว่า แม้จะทำให้สัตว์เจ็บแต่ก็ไม่ทำให้เลือดตกยางออก อีกทั้งการนำไปใช้ในสุนัขจรจะทำให้สุนัขตัวผู้ที่เป็นหมันยังทำหน้าที่ของสุนัขตัวผู้ได้ต่อไป นั่นคือควบคุมไม่ให้สุนัขจรจัดตัวผู้จากถิ่นอื่นข้ามมาผสมพันธุ์กับตัวเมียในฝูงสุนัขจรจัด จึงช่วยควบคุมประชากรสุนัขจรจัดได้
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ยังให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการเสวนาว่า ในปีนี้ 2561 นี้โรคพิษสุนัขบ้าระบาดหนักแต่ในปี 2562 จะควบคุมได้ แล้วจะกลับมาระบาดอีกครั้งในปี 2563 พร้อมทั้งยกตัวอย่างจีนที่เคยควบคุมโรคนี้ได้ โดยเมื่อ 20 ปีก่อนมีการระบาดหนักจนมีผู้เสียชีวิตนับหมื่นราย แล้วสามารถควบคุมได้จนเหลือผู้เสียชีวิตหลักสิบราย แต่หลังจาก 7-8 ปีต่อมาหลังจากเชื่อว่าควบคุมโรคได้แล้วก็เกิดการระบาดหนักจนมีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 5,000 ราย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่คล้ายกับประเทศไทย 100% และกว่าจีนจะควบคุมได้อย่างจริงจังต้องใช้เวลาอีก 3-4 ปี
สำหรับประเทศไทย ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าวว่า หากไม่สามารถควบคุมโรคได้จะทำให้โรคพิษสุนัขบ้ากลายเป็นโรคประจำถิ่น โรคนี้เป็นโรคจากสัตว์สู่คนที่ง่ายที่สุดแต่ยังควบคุมไม่ได้ จึงชวนให้ตั้งคำถามต่อไปถึงการควบคุมโรคจากสัตว์สู่คนอื่นๆ ทั้งสัตว์ป่า โค กระบือ ที่มีเชื้อโรคเช่นกันว่า คงควบคุมไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องรว่มมืออย่างจริงจัง และประเทศไทยต้องยอมรับความจริงว่าเราบกพร่องที่จุดใด แล้วมาเริ่มกัน จึงเรียกว่าเป็นการ Set zero ของประเทศไทย
ทั้งนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์มีผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คือ จากองค์การอนามัยโลก ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค การสนับสนุนให้ยุติการใช้วัคซีนจากสมองสัตว์และเสนอวิธีทดแทนด้วยการใช้วัคซีนที่ปลอดภัย โดยการฉีดแบบประหยัด
งานวิจัยของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เกี่ยวข้องกับการศึกษาโรคสมองอักเสบทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะจากพิษสุนัขบ้า และสมองอักเสบจากภาวะแปรปรวนทางระบบภูมิคุ้มกัน โดยเป็นการศึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่ลักษณะอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย การวินิจฉัยโรคด้วยวิธีใหม่ การเก็บส่งตัวอย่างเพื่อวินิจฉัยโดยไม่ต้องใช้ตู้เย็น ลักษณะพิเศษของเชื้อ กลไกการเกิดโรคและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในสมอง
อีกทั้งการศึกษาสายพันธุ์ของไวรัสพิษสุนัขบ้าทั่วประเทศ และการแบ่งกลุ่มของไวรัสที่มีความจำเพาะกับพื้นที่ รูปแบบการกระจายและทิศทางการแพร่ของเชื้อโรค เพื่อนำไปสู่การป้องกันและรักษา โดยศึกษาวางระบบแบบแผนการปฏิบัติเมื่อสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ศึกษาผลแทรกซ้อนของวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ทำจากสมองสัตว์ซึ่งควรยกเลิกและทดแทนด้วยวัคซีนอื่น และการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายถึง 80% โดยได้ผลักดันผลงานด้านการป้องกันและรักษาทั้งหมด จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 จนถึงปัจจุบัน
จากประสบการณ์และผลงานที่เป็นที่ยอมรับ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ยังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2547 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

Managr online 20.03.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร