Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ ผลิตเบียร์แบบไม่พึ่ง “ฮ็อพ” พืชราคาแพง  

          นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ ผลิตเบียร์แบบไม่พึ่ง “ฮ็อพ” พืชราคาแพงและต้องใช้น้ำในการเพาะปลูกมาก แต่ยังได้เบียร์คราฟต์ที่คงรสชาติและกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ เผยเป็นเทคนิคที่ช่วยให้อุตสาหกรรมลดการพึ่งพิงพืชชนิดนี้
          เทคนิคการผลิตเบียร์โดยไม่ใช้ “ฮ็อพ” (hops) พืชราคาแพงที่ต้องใช้น้ำเพาะปลูกในปริมาณมากเพื่อผลิตเบียร์คราฟต์นี้ ได้เผยแพร่ในวารสารวิชาการเนเจอร์คอมมูนิเคชันส์ (Nature Communications) โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กลีย์ (University of California Berkeley) สหรัฐฯ
เอเฟพีรายงานว่าทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ซอฟท์แวร์ตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อดัดแปลงจีโนมของยีสต์ที่ใช้ผลิตเบียร์ ให้มียีนของพืชจำพวกมินท์และกะเพรา ซึ่งให้มีเบียร์ที่มีรสชาติเหมือนเติมฮ็อพในกระบวนการผลิต
เจย์ คีสลิง (Jay Keasling) ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเคมีและชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กลีย์ เผยว่าพวกเขาได้ใช้เครื่องมือที่ไม่เคยมีมาก่อนนี้ และพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมเพื่อผลิตปริมาณกลิ่นฮ็อพที่เหมาะสม
ผลที่ได้ออกมานั้นทำให้ตัวแทนจากบริษัทผลิตเบียร์ที่อยู่ใกล้ๆ มหาวิทยาลัยอย่างบริษัทลากูนิตาส์บริวิง (Lagunitas Brewing Company) ยอมรับในรสชาติของเบียร์ที่ผลิตด้วยเทคนิคใหม่ว่า ให้รสชาติของฮ็อพมากกว่าวิธีผลิตแบบดั้งเดิม
ชาร์ลส เดนบี (Charles Denby) หนึ่งในทีมวิจัย บอกเอเอฟพีอย่างมั่นใจว่า เบียรืจากเทคนิคดัดแปลงพันธุกรรมยีสต์นั้นให้กลิ่นและรสชาติของฮ็อพอย่างไม่รู้สึกว่าขาดการเติมพืชชนิดนี้เลย
ยีสต์ที่ใช้ในการผลิตเบียร์ทางการค้านั้นมีชุดโครโมโซม 4 ชุด ซึ่งต่างจากสายพันธุ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการวิจัยที่ปกติจะมีโครโมโซมชุดเดียว ดังนั้นนักวิจัยต้องเติมยีนที่เหมือนกัน 4 ตัว ให้โครโมโซมแต่ละชุด เพื่อสร้างสายพันธุ์ยีสต์ที่ทนต่อกระบวนการผลิตเบียร์ได้
สำหรับฮ็อพนั้นถือเป็นพืชที่เปลืองทรัพยากรในการผลิต โดยการผลิตเบียร์ทุก 1 แกลลอนนั้น ต้องใช้น้ำมากถึง 50 แกลลอน เพื่อปลูกฮ็อพ และยิ่งกระแสเบียร์คราฟท์ที่มาแรง ทำให้มีความต้องการใช้ฮ็อพต่อปริมาณเบียร์คราฟท์มากกว่าเบียร์ลาเกอร์และเบียร์เอล ซึ่งนำไปสู่การลดจำนวนของฮ็อพบางสายพันธุ์
เดนบีเสริมอีกว่ามากกว่านั้นแล้ว เรายังต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อผลิต ขนส่งและเก็บรักษาฮ็อพ ดังนั้น ในอีกแง่หนึ่งการสังเคราะห์กลิ่นฮ็อพให้เบียร์นั้นก็ช่วยลดการใช้น้ำและปุ๋ยลงไปมหาศาล
“ความหวังของผมคือหากเราใช้เทคโนโลยีเพื่อผลิตเบียร์ที่เยี่ยมยอด ซึ่งผลิตด้วยกระบวนการที่ยั่งยืนมากขึ้นแล้ว ผู้คนก็จะให้การต้อนรับได้ไม่ยาก” เดนบีกล่าว
ทั้งนี้ ทีมวิจัยวางแผนที่จะเดินหน้าพัฒนาสายพันธุ์ยีสต์ใหม่ๆ เพื่อผลิตเบียร์ที่มีกลิ่นและรวชาติหลากหลายมากขึ้น รวมถึงตั้งตาคอยที่จะได้ทดสอบผลพวงจากงานวิจัย ซึ่งคีสลิงกล่าวว่า การใช้เทคนิคนี้ควบคุมการผลิตกลิ่นต่างๆ นี้จะให้เบียร์ที่มีรสชาติของฮ็อพที่กลทกล่อมมากขึ้น รวมทั้งให้รสชาติที่ขมขึ้นมากกว่าที่ได้โดยธรรมชาติ

 

Manger online 22.03.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร