Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

มทร.ธัญบุรี ใช้ "น้ำยางพารา" ผลิตแผ่นฉนวนกันร้อนกันเสียง แผ่นซีเมนต์ยืดหยุ่นได้  

          อาจารย์สถาปัตย์ มทร.ธัญบุรี คิดค้นแผ่นผนังฉนวนสำเร็จรูปกันความร้อน กันเสียง ก่อสร้างได้เร็ว ราคาถูก และแผ่นซีเมนต์ละมุนทางเลือกใหม่ ใช้ในงานก่อสร้างและงานตกแต่ง ยืดหยุ่นสูง อ่อนนุ่ม แต่แข็งแรง โค้งงอได้ เผยใช้น้ำยางพาราเป็นส่วนผสมทั้งสองผลงาน คว้า 3 รางวัลจากงานนานาชาติ
          ผศ.ดร.วชิระ แสงรัศมี อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า ตนได้พัฒนาแผ่นผนังฉนวนสำเร็จรูปประหยัดพลังงานทางเลือกใหม่ (Natural Latex-foam-Cement Sandwich Insulated Panel : NFC SIP) ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งแผ่นผนังฉนวนนี้ประกอบด้วยวัสดุหลักสองส่วน ส่วนแรกเป็นแผ่นผิวผนังภายในและภายนอกเป็นวัสดุแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ที่มีความแข็งแรง คงทน
ส่วนที่สอง เป็นส่วนที่สำคัญในการพัฒนาวัสดุฉนวนโดยใช้เศษวัสดุ คือ โฟมเหลือทิ้งจากแผ่นรองกันกระแทก และผงใยผ้าที่เป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานรีไซเคิลเศษผ้า นำมาผสมกับวัสดุประสานที่สำคัญ คือ น้ำยางพารา ซึ่งจะช่วยในการยึดเกาะ เพิ่มความเป็นฉนวน และซีเมนต์ที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับวัสดุ จึงทำให้แผ่นผนังฉนวนนี้มีคุณสมบัติเด่นคือ สามารถป้องกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ 4-5 เท่า ป้องกันเสียง แข็งแรง เจาะยึดได้ต่อเติมเพื่อการก่อสร้างได้รวดเร็ว มีราคาถูก สามารถใช้ผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น แผ่นผนังฉนวนสำเร็จรูป แผ่นฝ้าเพดาน และแผ่นหลังคาเพื่อประหยัดพลังงาน ผลงานดังกล่าวนี้ได้รางวัล‘เหรียญทอง’ ในงานประกวดและแสดงนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ International Invention Show 2017ประเทศโครเอเชีย
ศผศ.ดร.วชิระ กล่าวว่า นอดจากนี้ ในเวทีเดียวกัน ยังได้รางวัล ‘เหรียญเงิน’ และ ‘รางวัลพิเศษจากประเทศอิหร่าน’ จากผลงาย แผ่นซีเมนต์ละมุนทางเลือกใหม่ (New Alternative Flexible Cement Panels) โดยปัจจุบันวัสดุก่อสร้าง แผ่นไม้สังเคราะห์หรือแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์กำลังเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะใช้เป็นฝาผนัง รั้ว ฝ้าเพดาน หรือหลังคา ซึ่งวัสดุเหล่านั้นจะทำมาจากซีเมนต์ผสมเส้นใยที่มีความแข็งแรง แต่การนำมาใช้งานจะมีความเปราะ แตกหักง่าย จึงได้ทำการพัฒนาวัสดุแผ่นซีเมนต์ขึ้นใหม่เพื่อเป็นทางเลือกในงานก่อสร้างและการตกแต่งที่มีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นสูง ให้การสัมผัสที่ค่อนข้างนุ่ม มีค่าการนำความร้อนต่ำ ทั้งยังโค้งงอได้ และใช้ชื่อใหม่ว่าแผ่นซีเมนต์ละมุนทางเลือกใหม่
"แผ่นซีเมนต์ละมุนนี้ ผลิตจากวัสดุผสมของผงใยเศษผ้าที่เป็นวัสดุทิ้งจากโรงงาน ซีเมนต์ และน้ำยางพารา โดยปกติแล้วน้ำยางพาราจะไม่สามารถผสมกับซีเมนต์ได้ จึงได้พัฒนาเทคนิคการใช้ส่วนผสมทั้งหมดเพื่อพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้างอาคารที่มีความแข็งแรง มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถใช้เป็นวัสดุแผ่นพื้นในสนามกีฬาหรือสนามเด็กเล่น ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างผนังและฝ้าโค้ง หรือติดตั้งผนังกันกระแทกสำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงใช้เป็นวัสดุตกแต่งภายใน" ผศ.ดร.วชิระ กล่าว
ผศ.ดร.วชิระ กล่าวว่า ทั้ง 2 ผลงานนี้ ถือเป็นครั้งแรกในประเทศที่ใช้ประโยชน์จากน้ำยางพาราเป็นส่วนประกอบ และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมในการใช้น้ำยางพาราให้มากยิ่งขึ้น เป็นเพิ่มมูลค่ายางพาราภายในประเทศจากงานวิจัย สอดรับกับนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนการใช้และแปรรูปยางพารา อีกทั้งเป็นทางเลือกใหม่สำหรับงานก่อสร้างและการตกแต่งด้านสถาปัตยกรรมต่อไป ขณะนี้ได้ยื่นจดสิทธิบัตรไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้สนใจสามารถสอบถามโดยตรง โทร.0818278177

 

Manager online 24.03.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร