Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เผยปี '60 ที่ผ่านมาเอกชนลงทุนวิจัยเพิ่มขึ้น 39%  

          “ดร.สมคิด” ย้ำประเทศไทยต้องเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รับมือตลาดแรงงานถูกลดบทบาท ยันรัฐเตรียมเดินหน้าคลอดนโยบายสนับสนุนเอกชนต่อเนื่อง ขณะที่ สวทน. เปิดผลสำรวจด้านการวิจัยและพัฒนาภายในประเทศรอบการสำรวจประจำปี 2560 พบเอกชนขานรับลงทุนเพิ่มขึ้น 39%
วันที่ 26 มี.ค.61 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน CEO Innovation Forum 2018 “Transforming Thailand Towards Science & Technology Frontier” ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลิกโฉมประเทศไทยสู่ก้าวใหม่ของการพัฒนา”
ดร.สมคิดระบุว่า ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามามีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในภาคเศรษฐกิจโลกกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสนับสนุนภาคบริการ นอกจากนี้เทคโนโลยียังได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันเสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ส่งผลให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมฉับพลัน ซึ่งในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ที่มีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
"เช่น การเปลี่ยนรูปแบบวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตด้วย Advanced materials , การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและการบริการ การเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงาน การพัฒนาคนให้มีทักษะใหม่ตลอดเวลาด้วย Advanced robotics และ AI , รวมถึงระบบประกันสุขภาพที่จะเปลี่ยนไปเพื่อให้คนมีอายุยืนขึ้น การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ในรูปแบบใหม่ด้วย Next-generation genomics., การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและเพิ่มโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย Renewable energy, การเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการทำธุรกรรมและการให้บริการของภาครัฐและภาคเอกชนด้วย Mobile internet Cloud technology และ Internet of value"
สิ่งเหล่านี้ ดร.สมคิดยกว่าเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมฉับพลันทั้งสิ้น ดังนั้นประเทศที่มีศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่เข้มแข็งจะมีความได้เปรียบในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว
“แม้ว่า World Economic Forum (WEF) จะจัดให้ประเทศไทยอยู่ในประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลาง และในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ยเพียง 3-4% และยังมีความท้าทายจากปัจจัยหลายด้าน ทั้งการเข้าสู่สังคมสูงอายุ การลดลงของกำลังแรงงาน รวมถึงข้อจำกัดและประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของประเทศ แต่จากความมุ่งมั่น ตั้งใจในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ตลอดจนความร่วมมือระหว่างรัฐ และเอกชนทำให้สภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นเป็นอย่างมาก จนเศรษฐกิจประเทศไทยขณะนี้พร้อมจะทะยานไปสู่โฉมหน้าใหม่ เป็นเศรษฐกิจยุคใหม่ในระดับที่พัฒนาขึ้น และพร้อมเป็นศูนย์กลางการลงทุน การคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน โดยมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญต่อการทะยานในครั้งนี้” ดร.สมคิด กล่าว
อย่างไรก็ตาม การก้าวไปสู่การพลิกโฉมประเทศและการทะยานไปสู่โฉมหน้าใหม่ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
กลุ่มที่ 3 กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกล ที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
กลุ่มที่ 4 กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
และกลุ่มที่ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง
"5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” และล่าสุดรัฐบาลได้กำหนดให้เพิ่มอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตด้วย โดยรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิต ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจการผลิตยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวในการเรียนรู้การใช้องค์ความรู้จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของตนเองตลอดจนถึงผู้บริโภค"
ดร.สมคิด ยังกล่าวอีกว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความสำคัญมากในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต เรียกว่าเป็นกระทรวงเพื่ออนาคต ดังนั้นกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ต้องเป็นกระทรวงผู้นำในการเตรียมการและความพร้อมในการทำเรื่องใหม่ๆ ด้วยวิธีการใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรม และในอนาคตการเติบโตของธุรกิจจะไม่ใช่แค่การเกิดบริษัทขนาดใหญ่เพียงไม่กี่บริษัทเหมือนเช่นปัจจุบัน แต่จะเกิดการพัฒนาธุรกิจในโมเดลใหม่ๆ ที่เราเรียกว่า “New Business Platform” จะมีการทำงานร่วมกันของ Startups ซึ่งเริ่มจากการเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลางจำนวนมากทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มเดียวกันก่อให้เกิดรายได้และการจ้างงานมหาศาล
"กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ต้องสนับสนุนให้เกิดแพลตฟอร์ม และ Ecosystem เพื่อสร้าง Tech Startups เหล่านี้ อย่างเช่นที่ทำอยู่แล้วในปัจจุบันทั้ง การสร้าง EECi ขึ้นใน EEC เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในอุตสาหกรรม S – Curves หรือ Food Innopolis ซึ่งต้องขยายพื้นที่เพิ่มเติมออกไปเข้าสู่ EEC เพื่อทำวิจัยและนวัตกรรม High-end ทำให้เป็นแม่เหล็กดึงดูดบริษัทอาหารชั้นนำเข้ามาทำนวัตกรรมในประเทศไทย และทำงานร่วมกับ Startups ของไทย"
ด้าน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศบนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการขับเคลื่อนองค์กรนวัตกรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าภาคเอกชนของไทยมีความตื่นตัวและมีการลงทุนในการวิจัยและนวัตกรรมมากขึ้นทุกปี จะเห็นได้จากผลของการสำรวจการวิจัยพัฒนาและกิจกรรมนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2560
"เพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในอนาคต กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้เตรียมเร่งการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเพื่อไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมผ่าน 3 แพลตฟอร์มหลัก คือ 1. Bio-Digital Platform ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทึ่มีฐานจากรหัสพันธุกรรมและชีวโมเลกุล และดิจิทัลเดต้า ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ เตรียมโครงการสำคัญรองรับหลายโครงการ เช่น Bio Bank, Gene Bank, Plant Factory และ Bioinformatics"
"2.Cyber-Physical Platform เพื่อเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะมีทั้งระบบการผลิตที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ทางกายภาพ รวมถึงแพลตฟอร์มการทำงาน การซื้อขาย ตลอดจนการให้บริการที่อยู่ในโลกไซเบอร์ควบคู่กันไป โดยมีเทคโนโลยีในที่สำคัญ เช่น High Performance Computing, Smart Business, Internet of Value and Blockchain และ Data Analytics เป็นต้น 3) Earth-Space Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะครอบคลุมทั้งด้าน Food for the Future, Biomedical, Renewable Energy, Climate Technology, Geo Engineering, การจัดการน้ำและทรัพยากร และภัยพิบัติต่างๆ ตลอดจนการจัดการที่เกี่ยวกับดาวเทียมและอวกาศ และอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ"
สำหรับการจัดงาน CEO Innovation Forum 2018 ในครั้งนี้ ดร.สุวิทย์กล่าวว่า เป็นเสมือนเวทีหนึ่งที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้รับทราบถึงสถานการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ของประเทศไทยจากผลสืบเนื่องของนโยบาย มาตรการของรัฐบาล รวมทั้งได้เสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มและกระแสความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกทั้งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยในอนาคต เพื่อรับมือกับความท้าทาย และนำพาประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 ต่อไป
ด้าย ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เผยถึง ผลการสำรวจการวิจัยและพัฒนาและกิจกรรมนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม รอบการสำรวจประจำปี 2560 พบว่า มูลค่าการลงทุนมีมากกว่า 100,000 ล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 0.78 ของ GDP โดยภาคเอกชนไทยมีค่าใช้จ่ายวิจัยและพัฒนารวมทั้งประเทศประมาณ 80,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 3 ใน 4 ของค่าใช้จ่ายวิจัยและพัฒนาของทั้งประเทศ เพิ่มขึ้นจากรอบการสำรวจประจำปี 2559 ถึงร้อยละ 39 นับเป็นการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายและมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และเชื่อมั่นว่าในปี 2561 จะมีมูลค่าการลงทุนถึงร้อยละ 1 ของ GDP หรือประมาณ 160,000 ล้านบาท
“จากการสำรวจ พบว่า การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมการผลิตสูงสุด 3 อันดับแรก คือ อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีการลงทุนสูงถึง 15,051 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาสูตรอาหารและคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้สอดคล้องตามความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนไป รองลงมาคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีการลงทุน 11,879 ล้านบาท ในการวิจัยและพัฒนาด้านการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่ การพัฒนาชิ้นส่วนรถตัวใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทแม่และเพื่อลดต้นทุนด้านการผลิต และอันดับ 3 คือ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ที่มีการลงทุน 9,251 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนด้านการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาสินค้าใหม่ เช่น สูตรน้ำมันหล่อลื่นใหม่ ด้านภาคบริการที่มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาสูงสุดในปี 2559 คือ บริการทางการเงินและประกันภัย มีการลงทุนสูงถึง 4,891 ล้านบาท มาจากวิจัยและพัฒนาปรับปรุงการบริการใหม่ การพัฒนา Fintech เพื่อนำมาใช้พัฒนาการบริการด้านการเงินให้ทันสมัยและตอบสนองความต้องการผู้บริโภค เช่น โปรแกรม Streaming และ e-payment เป็นต้น รองลงมาคือ การบริการวิจัยและพัฒนา ที่ลงทุนด้วยเม็ดเงิน 4,750 ล้านบาท และบริการไปรษณีย์และโทรคมนาคม ที่ลงทุน 1,983 ล้านบาท ผ่านการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยพัฒนา (Innovation Center) เพื่อให้พนักงานเสนอความคิดสร้างสรรค์ภายใต้บริบท “Internet of Things” และเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการใช้ชีวิตในสังคมดิจิทัลมากขึ้น สำหรับภาคค้าปลีกค้าส่งที่ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาสูงสุด ในปี 2559 คือ ห้าง ร้านสะดวกซื้อ และร้านของชำ โดยมีการลงทุน 5,070 ล้านบาท จากการวิจัยและพัฒนาระบบการตรวจสอบสินค้าใหม่ และการปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่ ทั้งนี้ ในปี 2559 บริษัทไทยมีนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในบริษัทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 78 โดยส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมทางการตลาด และนวัตกรรมองค์กร” ดร.กิติพงค์ กล่าว


Manager online 26.03.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร