Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักธรณีฟิสิกส์พบโครงสร้างปริศนาใต้วัดไชยฯ อยุธยา  

         นักธรณีฟิสิกส์ใช้เรดาร์และการวัดค่าสนามแม่เหล็กสำรวจวัดไชยวัฒนาราม จ.อยุธยา ในการปฏิบัติงานเพื่อช่วยกรมศิลป์บูรณปฏิสังขรณ์และอนุรักษ์โบราณสถาน แล้วพบโครงสร้างปริศนาที่ยังไม่ทราบว่าคืออะไร เบื้องต้นส่งข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงนำไปศึกษาต่อ
          ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ ว่าทีมวิจัยได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ประยุกต์ใช้ด้วยวิธีการสำรวจธรณีฟิสิกส์แบบผสมผสานไปใช้ในการตรวจสอบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างและสำรวจหาหลักฐานทางโบราณคดีใต้พื้นดิน แล้วสำรวจพบโครงสร้างปริศนาใต้วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
เทคโนโลยีที่ทีมวิจัยใช้สำรวจคือการสำรวจด้วยวิธีธรณีเรดาร์ (Ground Penetrating Radar: GPR) และการวัดค่าสนามแม่เหล็ก (Magnetic Survey) ซึ่ง ผศ.ดร.ภาสกรอธิบายการทำงานในส่วนการสำรวจด้วยเรดาร์ว่าทีมสำรวจจะใช้เครื่องตรวจลากไปตามพื้นที่ทั่ววัดไชยวัฒนาราม หากใต้พื้นดินมีโครงสร้างหรือสิ่งที่ถูกฝังอยู่ใต้ดิน สัญญาณที่ได้จะมีลักษณะทึบกว่าบริเวณที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง เปรียบเหมือนเราตัดเค้กแล้วสังเกตดูลักษณะด้านตัดขวาง
ส่วนการวัดค่าสนามแม่เหล็กนั้นใช้เครื่องวัดที่ระบุตำแหน่งสำรวจด้วยระบบระบุพิกัดผ่านดาวเทียมหรือจีพีเอส โดย ผศ.ดร.ภาสกรอธิบายว่า หากมีโครงสร้างที่มีเหล็กก็จะตรวจพบค่าสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนไปจากบริเวณอื่น นอกจากนี้ในกระบวนการเผาอิฐซึ่งเป็นวัสดุในการก่อสร้างโบราณสถานนั้น ยังทำให้เหล็กภายในก้อนอิฐรวมตัวกัน และทำให้เครื่องตรวจวัดได้
ทีมวิจัยได้ประมวลข้อมูลจากการสำรวจจนพบว่า บริเวณใต้ฐานพระปรางค์ 4 องค์์เล็กรอบพระปรางค์ประธานลึกลงไป 20-30 เซ็นติเมตร*(แก้ไข) มีโครงสร้างทำมุมฉากอยู่ใต้ดิน และยังพบโครงสร้างเป็นแนวยาวหน้าพระปรางค์ประธาน กับโครงสร้างที่เป็นแนวยาว 2 ข้างขนานไปกับพระอุโบสถที่อยู่ด้านหน้าพระปรางค์ประธาน
ผศ.ดร.ภาสกรเผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า ทีมวิจัยทราบเพียงว่ามีโครงสร้างที่ไม่เคยทราบมาก่อนอยู่ใต้ดิน และไม่ทราบว่าโครงสร้างดังกล่าวคืออะไร โดยได้ส่งมอบข้อมูลให้แก่กรมศิลปากรเพื่อนำศึกษาขุดค้นทางโบราณคดีต่อไป ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วคาดว่า โครงสร้างดังกล่าวเป็นโครงสร้างโบราณสถานเก่าที่ถูกสร้างทับด้วยโบราณสถานที่ใหม่กว่า
นอกจากใช้เครื่องมือตรวจสอบชั้นใต้ดินแล้ว ผศ.ดร.ภาสกรเผยอีกว่าทีมวิจัยจากภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพยังได้ขุดตัวอย่างชั้นดินขึ้นมาวิเคราะห์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในอดีตเมื่อ 2,000-3,000 ปี ซึ่งเมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนนั้นบริเวณวัดไชยฯ เคยเป็นทะเลมาก่อน และทีมวิจัยได้พบหลักฐานว่าบริเวณดังกล่าวเคยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม อีกทั้งยังพบละอองเกสรโบราณของต้นไม้ทะเลในตะกอนดิน ซึ่งตอกย้ำว่าบริเวณดังกล่าวเคยเป็นทะเลมาก่อน
การสำรวจดังกล่าวเป็นโครงการการประยุกต์ใช้การสำรวจธรณีฟิสิกส์เพื่อสนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานและการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยนำร่องศึกษาที่วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ, วัดไชยวัฒนารามและพระราชวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยา และมีเจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา และกรมทรัพยากรธรณี ร่วมศึกษาวิจัยด้วย
โครงการวิจัยนี้ยังเป็นโครงวิจัยย่อยในชุดโครงการ "อนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม" ที่มี รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าชุดโครงการ ภายใต้การสนับสนุนของ สกว.และกรมศิลปากร

Manager online 31.03.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร