Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

อธิการฯ ม.รังสิต เสนอ คสช.ใช้ ม.44 ปลดล็อก “กัญชา” ทางการแพทย์ หลังงานวิจัยติดขัดทดลองต่อในมนุษย์ไม่ได้  

          “ดร.อาทิตย์” อธิการฯ ม.รังสิต เสนอ คสช. ใช้ ม.44 ปลดล็อกกฎหมายให้ใช้ “กัญชา” ทางการแพทย์ได้ หลังงานวิจัยติดขัด ทดลองขั้นต่อไปในมนุษย์ไม่ได้ ชี้ กล้าปลดล็อกเรียกกองหนุนได้อีกเพียบ ทีมนักวิจัยเผยศึกษาทั้งสเปรย์พ่นปากจากสารสกัดกัญชา บรรเทาผลข้างเคียงจากคีโม และการยับยั้งเซลล์มะเร็ง พบให้ผลดีในหลอดทดลอง “อ.ปานเทพ” ชี้เป็นความหวังในการดูแลรักษาผู้ป่วย เผย กรมแพทย์แผนไทยฯ ทดลองยามะเร็ง “เบญจอำมฤตย์” ไม่ได้ผล เพราะไม่มีกัญชา ด้านรองอธิการฯ ระบุหากปลดล็อกให้ปลูกเพื่อวิจัยจะช่วยคุมคุณภาพกัญชาได้
          ความคืบหน้าหลังจาก ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงความสำเร็จของคณะเภสัชศาสตร์ ม.รังสิต ในการวิจัยยาพ่นในช่องปากจากสารสกัดกัญชา โดยอยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
          วันนี้ (3 เม.ย.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่อาคาร 1 มหาวิทยาลัยรังสิต ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี ม.รังสิต แถลงข่าวความคืบหน้าการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวอย่างซึ่งสกัดจากกัญชา ว่า การศึกษาวิจัยและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกัญชาของ ม.รังสิต ถือเป็นความสำเร็จที่เป็นวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทย ที่จะสร้างคุณูปการให้แก่มนุษยชาติ และไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่การพัฒนายังมีอุปสรรคทั้งเรื่องของกฎหมาย การขึ้นทะเบียนยา จึงอยากสื่อสารให้สังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยอมรับว่า เรามีความสำเร็จเรื่องกัญชาทางการแพทย์ จึงเสนอให้มีการปลดล็อกในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์จากทางการแพทย์ได้ โดยเฉพาะอยากเสนอให้รัฐบาล คสช. ใช้มาตรา 44 ในการปลดล็อกให้นำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ เช่น ปลดล็อกให้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภทสอง แบบฝิ่น หรือ มอร์ฟีน ที่สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ หรืออนุญาตปลูกเพื่อใช้ทางการแพทย์ในพื้นที่จำกัดมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด เป็นต้น ซึ่งหาก คสช. กล้าปลดล็อกกัญชาเพื่อการแพทย์โดยใช้ ม.44 เรียกกองหนุนกลับคืนมาได้อีก
รศ.ดร.ภญ.นริศา คำแก่น อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ ม.รังสิต ในฐานะนักวิจัย กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งสกัดจากกัญชานั้น ทีมวิจัยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ให้สามารถครอบครองยาเสพติดประเภท 5 และผลิตสารสกัดที่ได้จากยาเสพติดให้โทษเพื่องานวิจัย โดยได้รับกัญชาของกลางจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดจำนวน 40 กิโลกรัม โดยนำไปใช้ใน 2 โครงการ คือ การพัฒนาเป็นสเปรย์ยาพ่นเพื่อรักษาอาการผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งด้วยคีโม เช่น อาการปวด อาเจียน นอนไม่หลับ เป็นต้น ซึ่งการที่ใช้เป็นยาพ่นเพราะตัวยาสามารถดูดซึมได้ทันที แต่หากเป็นยากิน ตัวยาจะถูกตับทำลาย ทำให้การออกฤทธิ์ด้อยลง โดยตำรับยาจะมีสารสกัดจากกัญชา 2 ตัว คือ Cannabidiol (CBD) และ Tetrahydrocannabinol (THC) ในอัตราส่วนการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ 1 ต่อ 1 เนื่องจากปกติแล้วกัญชาจะมีสาร THC ซึ่งทำให้เกิดอาการหลอน ในจำนวนมากกว่า ดังนั้น ยาดังกล่าวจึงไม่มีผลข้างเคียงอาการไม่พึงประสงค์ต่อจิตและประสาท โดยขณะนี้เหลือเพียงการทดลองวิจัยในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ รวมถึงการทดสอบความคงตัวทั้งกายภาพ และทางเคมี ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม จะต้องรอกฎหมายปลดล็อกก่อนจึงจะสามารถทดลองในคนได้ ซึ่งหากผลการทดลองออกมาประสบผลสำเร็จก็จะขับเคลื่อนต่อในการพัฒนาเป็นยาอม และควบคุมคุณภาพของกัญชาโดยการปลูกเพื่อทำการวิจัยเอง ทั้งอุณหภูมิและความชื้น เนื่องจากกัญชาของกลางนั้นไม่มีการควบคุมคุณภาพ มีการปนเปื้อนแบคทีเรีย และเชื้อราต่างๆ
ผศ.ดร.ภญ.สุรางค์ ลีละวัฒน์ ทีมนักวิจัย กล่าวว่า อีกโครงการคือการวิจัยสารสกัดจากกัญชาที่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง ซึ่งจากการทดลองในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัด THC จากกัญชา สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งทางเดินท่อน้ำดีได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์ทดลอง คาดว่า อีกประมาณ 3 - 4 เดือน จะทราบผลการทดลอง และสามารถคำนวณขนาดโดสที่จะใช้ทดลองในมนุษย์ แต่ยังต้องรอให้กฎหมายปลดล็อกก่อน จึงจะสามารถทดลองในคนได้ โดยกระบวนการทดลองในคนคาดว่าต้องใช้เวลาดำเนินการ 1 - 2 ปี และศึกษาความปลอดภัยทางด้านพิษวิทยาเพิ่มเติมด้วย
นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.รังสิต กล่าวว่า แม้ปัจจุบันยารักษามะเร็งจะมีการพัฒนาไปมาก แต่บางอย่างเราก็ยังไม่รู้และรักษาไม่ได้ ที่สำคัญคือ มีคนไข้จำนวนมากที่มีปัญหากับยา เพราะมีอาการแพ้ มีผลข้างเคียงจากยารักษามะเร็ง ตรงนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนไข้รับยาไม่ครบ แต่สเปรย์ยาพ่นเพื่อรักษาผลข้างเคียงจากตีโมมีผลวิจัยจากต่างประเทศชัดเจนแล้วถึระดับในคนว่าสามารถช่วยได้จริง แต่ขณะนี้กฎหมายยาเสพติดยังกำหนด “กัญชา” เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 คือ ห้ามผลิต จำหน่าย ครอบครอง และห้ามเสพ จึงทำให้ไม่สามารถนำกัญชามาใช้ในทงการแพทย์ได้ เพราะแม้จะเป็นงานวิจัย แต่เมื่อนำมาทดลองในมนุษย์โดยการกิน ฉีดต่างๆ ก็เข้าข่ายว่าเป็นการเสพ จึงต้องปลดล็อกกฎหมายในเรื่องนี้ก่อน คือ ต้องอนุญาตให้ปลูกกัญชาเพื่อวิจัยได้ เพราะกัญชาของกลางคุณภาพไม่ได้และไม่รู้มาจากแหล่งไหน และสามารถนำมาใช้ในการทดลองได้
“กัญชาเป็นพืชตะวันออกและเรารู้จักกันมาเป็นพันปี ฝรั่งไม่ค่อยรู้จัก ฝรั่งจัดว่าเป็นยาเสพติด ซึ่งไทยก็ตามฝรั่งจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดตั้งแต่ 70 - 80 ปีก่อน อยู่ในประเภทห้ามเสพ ห้ามปลูก ห้ามจำหน่าย ห้ามครอบครอง แต่ระยะหลังฝรั่งเขารู้ว่ากัญชาทางการแพทย์ถือว่าปลอดภัย ฝรั่งเขาก็ปรับตัว บางประเทศอนุญาตให้ใช้เป็นยา ใช้เพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ แต่ประเทศไทยแม้มีกระแสเคลื่อนไหวเพื่อแก้กฎหมายมาหลายปี แต่ก็ยังไหลไปตามกระบวนการราชการ ก็คงต้องรอดูการแก้กฎหมายยาเสพติดว่าจะช่วยปลดล็อกในเรื่องทางการแพทย์หรือไม่” นพ.ศุภชัย กล่าว
ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ  คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้กฎหมายยาเสพติด คือ ร่างประมวลกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมร่างเสร็จแล้ว ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว อยู่ระหว่างรอการพิจารณาเข้าวาระของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งแม้จะได้รับอนุญาตในการทดลอง แต่ไม่นำสารสกีดจากกัญชามาทดลองกับมนุษย์ได้ ทดลองได้แค่ในสัตว์ ซึ่งน่าเสียดายมาก เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนป่วยไข้ โดยเฉพาะจากมะเร็งที่ได้รับผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดรออยู่ จึงต้องพยายามให้ข้อมูลและความสำคัญเพื่อให้กฎหมายผ่านออกมาให้ได้
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ม.รังสิต กล่าวว่า จากข้อมูลที่ได้มีการหารือร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งระดมนักสมุนไพรมาช่วยกันค้นว่า ประเทศไทยเคยใช้กัญชาในทางการแพทย์กี่ตำรับ พบว่า ค้นได้ 12 เล่ม รวม 91 ตำรับ แสดงว่าเรามีความรู้ภูมิปัญญาวิธีการใช้กัญชามายาวนาน ตั้งแต่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และมีบันทึกในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชด้วย มีการนำกัญชามาใช้ต่อเนื่อง จึงทำให้เห็นโอกาสว่าหากมีการปลดล็อกกฎหมายและนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้ และกรมการแพทย์แผนไทยฯ ไม่ต้องมาเสียดายตำรับยาโบราณจำนวนมากที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ที่สำคัญ ทำให้มีความหวังในการใช้ในการรักษาโรคต่างๆ มีผลิตที่ได้มาตรฐาน ประชาชนใช้ได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องในทางการแพทย์ ซึ่งถ้าไม่ปลดล็อกโทษจะเกิดกับผู้แอบใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เกิดกับผู้ที่รอความหวังจะเป็นตำรับยารักษาโรคอื่นๆ อีกมากมายก็จะสิ้นหวังลง อย่างตำรับยาเบญจอำมฤตย์ที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ ใช้ทดลองอยู่ที่โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยยศเส ที่ไม่ได้ผลเพราะบางตำรับต้องมีกัญชาเข้าไปผสม
เมื่อถามว่าระหว่างที่กฎหมายยังไม่ปลดล็อกจะมีแผนสำรองในการดำเนินการหรือไม่ รศ.ดร.ภญ.นริศา กล่าวว่า ในกฎหมายเดิม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีมาตราหนึ่งที่เปิดช่องให้สามารถทำการทดลองภายในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้

Manager online 03.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร