Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

แนะนำหนังสือที่จะพาเราสัมผัสดาราศาสตร์ในยุคสมเด็จพระนารายณ์ฯ  

          กระแส “ออเจ้า” มาแรงจนเกิดกระแสสนใจและขวนขวายประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมากขึ้น “ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์” ขอแนะนำหนังสือที่จะช่วยเติมเต็มประวัติศาสตร์ด้านดาราศาสตร์ใน “ยุคขุนหลวง” ที่คณะเยสุอิตเข้ามาอยุธยาไม่ใช่เพียงเพื่อแพร่ศาสนาเท่านั้น แต่ยังเข้ามาเก็บข้อมูลปรากฏการณ์บนท้องฟ้ากลับกรุงปารีสด้วย
          หนังสือ “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช : พระมหากษัตริย์ผู้สนพระทัยและองค์อุปถัมป์การศึกษาดาราศาสตร์ตะวันตกในสยามพระองค์แรก” เขียนโดย ภูธร ภูมะธน นักศึกษาประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เผยถึงความรุ่งเรืองของการศึกษาดาราศาสตร์ที่ได้ๆ รับความอุปถัมภ์จากสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และได้แผ่มายังราชอาณาจักรสยามพร้อมๆ การเยือนของคณะเยสุอิต
สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงสนับสนุนการวิจัยดาราศาสตร์เพื่อวิทยาการใหม่ โดยเฉพาะการทำแผนที่โลกที่ถูกต้อง และการทำเส้นแวง หรือลองจิจูด (longitude) ของโลก ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าคณะเยสุอิตได้เก็บรวบรวมข้อมูลอุปราคาในสยามหลายครั้งเพื่อทำแผนที่โลกที่ถูกต้องซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเดินเรือที่สมบูรณ์และปลอดภัย
เมื่อ พ.ศ. 2225 บาทหลวงเยสุอิตชาวฝรั่งเศสได้สังเกตและรายงานปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่เกิดขึ้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ โดยรายงานปรากฏการณ์ครั้งนั้น บาทหลวงโตมาส (le P.Thomas) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่พร้อมกับสังเกตการณ์โดยนักดาราศาสตร์ยุโรปที่สำคัญหลายคน เช่น โรเมอร์ (Romer) จากกรุงโคเปนเฮเกน ฮัลเลย์ (Halley) และแคสสินี (Cassini) จากกรุงปารีส
ทั้งนี้ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชน่าจะเริ่มสนพระทัยในดาราศาสตร์ตะวันตกเมื่อ พ.ศ. 2228 เมื่อครั้งราชทูตฝรั่งเศส เชวาเลีย เดอ โชมอง (Chevalier de Chaumont) นำคณะเยสุอิตนักคณิตศาสตร์ 6 คนเข้าเฝ้าฯ พระองค์ ทั้งที่พระนครศรีอยุธยา และเมืองลพบุรี ซึ่งบาทหลวงเยสุอิตคณะนี้มาพักที่สยามก่อนเดินทางไปปฏิบัติงานต่อที่จีน
ระหว่างบาทหลวงเยสุอิตคณะนี้พักที่สยาม พวกเขาได้ใช้เวลาว่างศึกษาดาราศาสตร์ รวมถึงสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาเมื่อ 11 ธ.ค. 2228 ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้เสด็จทอดพระเนตรที่พระตำหนัก ณ ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี โดยมีผู้ศึกษาพบว่าคณะเยสุอิตสังเกตปรากฏการณ์นี้เพื่อกำหนดเส้นแวงของเมืองลพบุรี เทียบกับกรุงปารีสของฝรั่งเศส
สมเด็จพระนารายณ์ฯ ยังมีพระราชประสงค์ให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โปรดส่งบาทหลวงเยสุอิตนักคณิตศาสตร์ 12 คน มาประจำที่สยาม เหมือนที่โปรดส่งบาทหลวงเยสุอิตนักคณิตศาสตร์ 6 คนไปจีน โดยทางสยามจะเตรียมก่อสร้างหอดูดาวแบบเดียวกับที่กรุงปารีส และปักกิ่ง พร้อมที่พักบาทหลวง และโบสถ์ฝรั่งที่เมืองลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา
แนวคิดให้บาทหลวงนักคณิตศาสตร์มาประจำที่กรุงสยามนี้ มีออกญาวิไชเยนทร์เป็นคนสำคัญในการผลักดัน และได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอย่างเต็มที่ และราชสำนักสยามได้ขอให้บาทหลวงตาชารด์ (Pere Tachard) ไปเจรจากับราชสำนักฝรั่งเศส แทนการเดินทางต่อไปยังจีนพร้อมคณะเยสุอิตคนอื่นๆ
สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้แต่งตั้ง “นักคณิตศาสตร์ในพระบาทมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งฝรั่งเศส” (Mathematician of the King of France) 12 คน ซึ่งเดินทางมาถึงสยามเมื่อเดือน ต.ค. 2230 พร้อมราชทูตพิเศษ ม.เดอ ลาลูแบร์ (Simon de la Loubere) และ ม.เดอ เซเบเรต์ (Ceberet)
สำหรับหอดูดาวที่สร้างไว้ต้อนรับคณะบาทหลวงนักคณิตศาสตร์ที่ลพบุรีนั้นมีชื่อว่าวิทยาลัยแห่งลพบุรี และหนึ่งในคณะบาทหลวงนักคณิตศาสตร์ได้นำกล้องโทรทรรศน์ความยาว 12 ฟุต มาติดที่หอดูดาวดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “วัดสันเปาโล” โดยคาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจาก “ซางโตเปาโล” ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากวัดของคณะเยสุอิตที่หมู่บ้านโปรตุเกสในพระนครศรีอยุธยา
คาดว่าหอดูดาวสันเปาโลนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2230 และถูกทิ้งร้างหลังพระเพทราชายึดอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ฯ เมื่อเดือน พ.ค. 2231 และก่อนที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ จะสวรรคตเมื่อ 11 ก.ค. 2231
ก่อนสวรรคต สมเด็จพระนารายณ์ทรงสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนร่วมกับคณะเยสุอิตนักคณิตศาสตร์ เมื่อ 30 เม.ย. 2231 ที่พระราชวังเมืองลพบุรี โดยภาพประวัติศาสตร์ที่บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นยังมีภาพพระเพทราชาที่ก้มสังเกตปรากฏการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ยาว 12 ฟุต
ภายในหนังสือสมเด็จพระนารายณ์ฯ ยังมีภาพเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญต่อสยาม เช่น ภาพเหตุการณ์สำคัญทางการทูตเมื่อครั้งราชทูตฝรั่งเศส เชวาเลีย เดอ โชมง ทูลเกล้าฯ ถวายสาส์นของสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ 18 ต.ค. 2228 ภาพแผนที่ในสมัยอยุธยา ภาพบาทหลวงที่มีบทบาทต่อดาราศาสตร์ตะวันตกในสยาม
หนังสือสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นหนึ่งในหนังสือชุดพระมหากษัตริย์กับดาราศาสตร์ไทย ที่จัดพิมพ์โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. โดยจำหน่ายเป็นชุด ชุดละ 750 บาท

 

Manager online 06.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร