Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ทำความเข้าใจกลไกรักษามะเร็งด้วยสเปรย์กัญชา  

          ก่อนจะมโนไปไกล เรามาทำความเข้าใจกลไกการใช้สารที่สกัดจากกัญชา ผลงานของนักวิจัย ม.รังสิตพัฒนาสเปรย์จากสารสกัดกัญชาที่ช่วยระงับปวดและยับยั้งเซลล์มะเร็ง ซึ่งให้ผลดีในระดับห้องแล็บและสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่ถึงขั้นทดลองในมนุษย์
          รศ.ดร.ภญ.นริศา คำแก่น จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หัวหน้าทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจากสารสกัดกัญชา เพิ่งร่วมแถลงความก้าวหน้าในการพัฒนายาพ่นหรือสเปรย์ฉีดพ่นในช่องป่กจากสารสกัดกัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์
ในขณะนี้มีเพียงมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นแห่งแรกที่ได้รับอนุญาตครอบครองและผลิตสารสกัดจากกัญชา ซึ่งสามารถผลิตสารสกัดที่ต้องการได้ 4 กิโลกรัมจากกัญชาแห้ง 40 กิโลกรัม และทีมวิจัยได้ทดลองนี้และได้ข้อค้นพบใหม่ จากกรณีรักษาการลุกลามของมะเร็ง รวมถึงการลดตัวขนาดยา การเจริญเติบโตของมะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงขนาดยาที่ใช้แตกต่างกัน
"สำหรับผลการวิจัยที่สามารถเปิดเผยได้ตอนนี้จะเป็นผลการทดลองที่เน้นไปที่การบำบัดรักษาอาการปวดปลายประสาทในโรคปลอกประสาทอักเสบ และอาการปวดจากโรคมะเร็ง อีกทั้งอาการคลื่นใส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยไม่หนีการรักษาและรับการรักษาจนจบสูตรยาแผนปัจจุบันได้"
ทีมวิจัยได้ทดลองในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองแล้ว และในปัจจุบันกำลังปรับอัตราส่วนและตำรับยาจากสูตรที่ได้จากผลการทดลองในสัตว์ทดลอง ให้เหมาะสมกับการใช้ภายในมนุษย์ โดยต้องคำนวณความถี่ในการให้ยาและปริมาณสูงสุดที่สามารถใช้ได้หรือปริมาณที่ร่างกายมนุษย์ทนต่อยา แต่ต้องมีการขออนุญาตก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้ในคนได้
"กัญชาที่นำมาทดลองนี้เป็นกัญชาของกลางที่ทางตำรวจยึดมาได้ ซึ่งสามารถควบคุมได้ในระดับผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังไม่สามารถนำไปใช้ในคนได้จริง ทางทีมวิจัยจึงต้องมีการเตรียมวัตถุดิบใหม่ และใช้เทคนิคที่ทราบวิธีการเรียบร้อยแล้ว สำหรับผลิตสารสกัดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ในคน"
ภายในตำรับสเปรย์ฉีดพ่นในช่องปากจากสารสกัดกัญชานีเมีสารสกัดสำคัญ 2 ตัวคือ เตตระไฮโดรแคนนาตินัล (Tetrahydrocannatinal) หรือทีเอชซี (THC) และ แคนนาบิดอยล์ (Cannabidiol) หรือ ซีบีดี (CBD)
กลไกการทำงานของตัวสารสกัดมีดังนี้ THC จะเข้าไปทำปฏิกิริยาพอดีกับตัวรับ (receptor) อย่างแคนนาบิดอยด์รีเซพเตอร์ ภายในร่างกายในลักษณะ lock and key และหยุดยั้งอาการของมะเร็งต่างๆได้ เช่น การแพร่กระจายที่ไปเบียดบังอวัยวะสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งท่อน้ำดีที่จะไปเบียดบังที่ตับ ที่กระเพาะ และส่วนช่องท้อง เวลายาแพร่กระจายจะไปตามเส้นเลือด ดังนั้นหากยามีอยู่ในพอดีกระแสเลือดเพียงพอก็จะสามารถยับยั่งไม่ให้มะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆที่สำคัญอย่างสมองได้
ส่วน CBD ที่ไม่ได้มีการทำปฏิกิริยาพอดีกับตัวรับจะเข้าไปยับยั้งอาการของมะเร็งที่จะลุกลามหรืออาการข้างเคียงของเซล์ลมะเร็ง เช่น การคลื่นใส้อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเรื้อรัง และสารสกัดตัวนี้ยังสามารถใช้กับโรคลมชักในเด็ก และแก้อาการกล้ามเนื้อตึงจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
"ในตำรับยาพ่นนี้ต้องใช้สารสกัดสองตัวนี้ควบคู่กับเนื่องจาก สารสกัด THC เพียงตัวเดียวจะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงเป็นอาการเมากัญชา เนื่องจากโดสที่ใช้ในการรักษาจะมีขนาดเท่ากับโดสที่ทำให้เกิดอาการเมา จึงต้องใช้ CBD ซึ่งไม่มีฤทธิ์ให้เกิดอาการเมากัญชามาผสมในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ 1:1 โดยตัว THC และตัว CBD เป็นสารสกัดสองตัวที่สามารถสกัดได้จากกัญชาจากส่วนขนของช่อดอกตัวเมีย"
ส่วนสาเหตุที่ทีมวิจัยเลือกทำยาในรูปแบบของสเปรย์ฉีดพ่นในช่องปาก เนื่องจากเมื่อเราฉีดพ่นยาเข้าไปสัมผัสกับเยื่อบุในช่องปาก ตัวยาจะสามารถดูดซึมได้ทันทีซึ่งจะแตกต่างจากยารับประทาน ที่สารสำคัญในตัวยาจะไปทำปฏิกิริยากับเอนไซม์และถูกทำลายบางส่วนในตับ ทำให้สารสำคัญมีปริมาณและความเข้มข้นไม่พอในการออกฤทธิ์
"ส่วนระยะใช้ได้ผลในการยับยั้งมะเร็งคือระยะแพร่กระจาย คือระยะ 3-4 ระยะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ โดยสามารถใช้ในระยะประคับประคองระยะสุดท้าย โดยจะใช้เป็นลักษณะผสมผสานกับยาแผนปัจจจุบันอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถยืดอายุของผู้ป่วยได้"
อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยมีข้อจำกัดในการทำงาน เนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน จึงไม่สามารถครอบครองสารสกัด THC บริสุทธิ์ได้ ทางทีมวิจัยจึงต้องสกัดและทำให้บริสุทธิ์เทียบเคียงกับสารที่นำเข้าจากต่างประเทศ
"ตอนนี้มีการขอให้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภทที่สอง ที่สามารถปลูกในระบบปิดและนำไปทำเป็นยาเพื่อที่มหาวิทยาลัยที่จะได้นำเมล็ดกัญชาของกลางมาปลูกในโรงเรือนปิดด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์และวิธีการปรับสภาพเพื่อลดการปนเปื้อนโลหะหนักจากดินและยาฆ่าแมลง"
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังมีการต่อยอดจากงานวิจัยตำรับยาพ่นอีกงานหนึ่งคือ ยาอมที่สามารถแตกตัวได้ในระดับวินาที โดยตัวยาเม็ดชนิดอมนี้มีข้อดีเช่นเดียวกับยาพ่นคือออกฤทธิ์เร็วและตัวยาไม่ถูกทำลายที่ตับเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการกลืนและปัญหาลมชัก

 

Manager online 04.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร