Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

โฟมดับเพลิง ของดีจากเมล็ดยางฯ  

          "โฟมดับเพลิง” จากของเหลือทิ้งในโรงหีบน้ำมันไบโอดีเซล ผลงานโดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิตสำหรับดับเพลิงกลุ่มก๊าซและน้ำมัน ประสิทธิภาพเทียบเท่าของนำเข้าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เผยอยู่ระหว่างเจรจาในรายละเอียดกับภาคธุรกิจเอกชน คาดอีก 2 ปีออกสู่ตลาด
          กากเมล็ดยางพาราจำนวนมากซึ่งมีองค์ประกอบของโปรตีนสูงถึง 28-30% เป็นของเหลือในโรงงานไบโอดีเซล ด้วยความเสียดาย “ผศ.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์” คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมองหาวิธีใช้ประโยชน์หลังจากเสิร์ชพบงานวิจัยในต่างประเทศที่ใช้โปรตีนจากพืชน้ำมันไปผลิตเป็นสารดับเพลิง
เพิ่มค่าของเหลือทิ้งจากสวนยาง
ผศ.ณัฐบดีและคณะวิจัยเริ่มจากการพัฒนากระบวนการสกัดที่ไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยสกัดโปรตีนออกจากกากเมล็ดยางพาราอบแห้ง จากนั้นใช้เวลาถึง 3 ปีพัฒนาสูตรโฟมโปรตีนกระทั่งประสบความสำเร็จและยื่นจดสิทธิบัตร
โฟมโปรตีนนี้เหมาะสำหรับเพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซไวไฟชนิดต่างๆ ซึ่งพบว่ามีการใช้น้ำมันกันมากในครัวเรือนและสถานีบริการน้ำมันต่างๆ ไม่สามารถใช้น้ำในการดับ แต่สามารถดับได้ด้วยเคมีหรือสารดับเพลิงประเภทโปรตีนหรือโปรตีนสังเคราะห์ ซึ่งมีข้อเสียคือ โฟมโปรตีนสังเคราะห์มีต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง เฉลี่ย 1 ลิตรต่อ 322 บาท ฉะนั้น ทางเลือกหนึ่งในการผลิตคือ การสกัดดปรตีนจากพืชโดยเฉพาะเมล็ดยางพาราที่มีอยู่มากมายในประเทศไทย
กลไกการทำงานของโฟมโปรตีนจะตัดออกซิเจนไม่ให้สัมผัสกับเปลวไฟ โดยทำหน้าที่คลุมไอระเหยของน้ำมันไม่ให้ระเหยเป็นเชื้อเพลิงลุกไหม้ และลดอุณหภูมิบริเวณผิวสัมผัสของน้ำมัน ซึ่งทำให้ปฏิกิริยาการลุกไหม้ของไฟไม่สามารถดำเนินการต่อไป
จากการศึกษาประสิทธิภาพ พบว่า โฟมโปรตีนดับเพลิงจากกากยางพารานี้ สามารถลดอัตราการปลดปล่อยความร้อน (Heat Release Rate) ได้ถึง 70% ช่วยลดอันตรายจากการแผ่รังสีความร้อนได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือดีกว่าโฟมโปรตีนทางการค้าอื่นๆ ทั้งนี้ โฟมโปรตีนดับเพลิงที่ใช้ทั่วไปในบ้านเรานั้น เป็นโฟมโปรตีนสังเคราะห์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จึงมีต้นทุนสูงทำให้ราคาขายสูงตาม ด้วยเหตุนี้ โฟมโปรตีนจากกากเมล็ดยางพาราจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง
“เมล็ดยางพาราที่มีอยู่มากในประเทศไทย ในเมล็ดยางพารานั้นมีโปรตีนอยู่มาก ทำให้เป็นวัตถุดิบต้นทุนต่ำ การต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์สามารถทำราคาขายให้ถูกกว่าของนำเข้าได้เกือบเท่าตัว” นักวิจัย กล่าวและว่า ปัจจุบันมีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการดับเพลิงให้ความสนใจ และอยู่ระหว่างหารือในรายละเอียด คาดว่าจะพร้อมต่อยอดเชิงพาณิชย์ในปี 2563
จุดเด่นอีกประการคือ ผลงานโฟมโปรตีนนี้จะไม่มีสารพิษที่เป็นก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์ที่เป็พิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอีกด้วย ทำให้มีแผนที่จะพัฒนาต่อยอดเป็นอุปกรณ์ดับเพลิงขนาดเล็กประมาณกระป๋องสเปรย์ ตอบโจทย์การใช้งานได้สะดวกในที่พักอาศัย คอนโดมิเนียมและห้องครัว เป็นต้น
นวัตกรรมไทยสู่ตลาดโลก
นอกจากนี้ ผศ.สุรชาติ สินวรณ์ หนึ่งในทีมวิจัยยังได้ต่อยอดแนวคิดอุปกรณ์ดับเพลิงนวัตกรรมไทย โดยพัฒนาสารดับเพลิงผงเคมีแห้งสำหรับต้นเพลิงประเภทไฟฟ้าและสารไวไฟ โดยเปลี่ยนวัตถุดิบหลักจากโปแตสเซียมแอมโมเนีย เป็นสารซิลิกอน พร้อมพัฒนาสูตรผงเคมีดับเพลิงที่สามารถทนความร้อนได้ถึง 3 พันองศาเซลเซียส
จึงอุดช่องว่างจากเดิมที่ผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดไม่สามารถดับเพลิงประเภทนี้ ประสิทธิภาพไม่ดี ทนความร้อนสูงไม่ได้ ทั้งนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อผลักดันให้สามารถไปสู่ปลายทางที่เป็นกลุ่มผู้ใช้จริงในที่สุด
“เราต้องการพัฒนานวัตกรรมไทยจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศ อาจเป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือของที่มูลค่าต่ำหรือไม่มีมูลค่าเลย มาสร้างให้เกิดคุณค่าเพิ่มและการใช้งานที่มากกว่าเดิม ในขณะเดียวกันก็สร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีของไทย ลดการนำเข้าเทคโนโลยีราคาสูงจากต่างประเทศ และที่สำคัญ ประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือดีกว่าและต้นทุนที่ถูกกว่ามีโอกาสที่จะขยายสู่ตลาดต่างประเทศได้อีกด้วย” ผศ.สุรชาติ กล่าว

Bangkokbiznews 10.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร