Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

โรงเรือนอัจฉริยะผลิตไม้ดอก "สูดดมได้" ปลอดยาฆ่าแมลง  

        เกษตรกรยุคใหม่จะพึ่งพาดินฟ้าอากาศอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ต้องอาศัยเทคโนโลยีมาช่วยควบคุมสภาพแวดล้อม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ตรงความต้องการลูกค้า ซึ่งโรงเรือนอัจฉริยะผลงานนักวิจัย มจธ.พัฒนาขึ้น ช่วยให้เกษตรกรไม้ดอกปลูกพืชโดยไม่ต้องรอฟ้าฝนเป็นใจ และไม่ต้องพึ่งยาฆ่าแมลง เพื่อให้ได้ “ดอกไม้” ที่ลูกค้าสูดดมได้อย่างสนิทใจ
         ตอนนี้ยังสร้างเทคโนโลยีเพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมในการสร้างอาหารและสามารถสร้างรายได้อย่าง ‘ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือนปลูกไม้ดอก’
นายรัฐไกร วัจนคุณอนันต์ วิศวกรและนักวิจัยประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้พัฒนา ‘ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือนปลูกไม้ดอก’ อธิบายถึงการทำงานของโรงเรือนว่า เป็นระบบครบวงจร (full option) ที่สามารถตั้งค่าอุณหภูมิตามต้องการได้หากอุณหภูมิภายในตัวโรงเรือนนั้นร้อนเกินไป วงจรจะสั่งการให้ปั๊มน้ำทำงาน โดยการจ่ายน้ำไปยังแผงทำความเย็น (Cooling Pad) จนเปียก และพัดลมที่อยู่ด้านตรงข้ามของแผงทำความเย็นจะดูดอากาศภายในออกสู่ด้านนอก ส่วนอากาศจากภายนอกก็จะถูกดูดผ่านแผงทำความเย็นเข้ามา
"น้ำที่โดนความร้อนจะระเหยและเกิดการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิให้อากาศเย็นลง ทำให้อุณหภูมิของโรงเรือนลดลง เมื่อไรที่อุณหภูมิของอากาศภายในโรงเรือนเย็นตามที่ต้องการ ก็สามารถสั่งปิดปั๊มน้ำได้ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบปรับด้วยมือ เพื่อไม่ให้จ่ายน้ำเข้าไปยังแผงทำความเย็นได้ แต่ถ้าต้องการให้ภายในโรงเรือนอุ่นขึ้น ก็ให้เปิดพัดลมดูดอากาศทำงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องปั๊มน้ำเข้าแผงทำความเย็น และสามารถสั่งลดจำนวนการทำงานของพัดลมเรื่อยๆ แล้วแต่ความเหมาะสม" นายรัฐไกรอธิบาย
โรงเรือนที่มีระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมนี้มีขนาด 18 x 40 เมตร ภายในประกอบด้วยเซนเซอร์ 2 ตัวคือเซนเซอร์อุณหภูมิความชื้น สำหรับวัดพร้อมควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือน และเซนเซอร์แสงสำหรับวัดค่าความยาวคลื่นที่พืชชนิดนั้นๆ ใช้สังเคราะห์แสง ซึ่งเซนเซอร์ทั้งสองเป็นเซนเซอร์แบบไร้สาย ทำงานด้วยแบตเตอรี่ 1 ชุดที่ให้พลังงานได้ประมาณ 1 ปี รับส่งสัญญาณจากวงจรด้วยสัญญาณบลูทูธพลังงานต่ำ
"ส่วนด้านบนมีการคลุมด้วยสแลนกรองแสงสีเงิน เพื่อประโยชน์ในการสะท้อนความร้อน และลดความเข้มแสง เพราะยิ่งแสงสามารถส่องเข้ามาในโรงเรือนได้มาก อุณหภูมิก็จะยิ่งสูง และสิ้นเปลืองพลังงานในการระบายความร้อนออกของพัดลม ในส่วนระบบจ่ายน้ำแก่พืชนั้น เนื่องจากเกษตรกรเจ้าของโรงเรือนต้องการทดลองสูตรปุ๋ย ด้วยการผสมสูตรและให้พืชเป็นช่วงๆ ระบบจ่ายน้ำจึงยังเป็นระบบควบคุมด้วยมือ โดยเป็นระบบน้ำหยดที่ปักลงตรงเขตราก (root zone) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำและน้ำปุ๋ยที่จะหยดขอกเขตรากโดยเปล่าประโยชน์ แต่ระบบน้ำหยดนี้ไม่สามารถใช้กับพืชที่รากมีการชอนไชออกไปไกลต้น แต่ทางมหาวิทยาลัยก็ได้พัฒนาการให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดแบบอัตโนมัติไว้แล้ว"
พลาสติกที่ใช้คลุมโรงเรือนจะเป็นพลาสติกประเภทพอลิเอทีลีน (PE) ความหนา 150 ไมครอน ซึ่งผสมสารป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต 7% และโครงเหล็กวางกระถางปลูกพืชที่ยกสูงขึ้นจากพื้นดิน เหตุที่ต้องเอากระถางยกสูงจากพื้นดินเพื่อป้องกันโรคสะสมในดิน หากมีพืชต้นใดต้นหนึ่งเป็นโรคก็สามารถยกกระถางนั้นออกได้เลย ดินที่ใช้ปลูกพืชนั้นผสมแกลบและขุยมะพร้าวเข้าไป แต่ถ้าปลูกพืชบนพื้นดินเมื่อเกิดโรคต้องกำจัดทั้งแปลง
"โรงเรือนนี้ทำมาประมาณ 5-6 ปีแล้ว จากความร่วมมือระหว่างโครงการหลวงปางดะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและโรงเรียนนายเรือในเรื่องของการผสมพันธุ์ เรื่องระบบควบคุมภายในโรงเรือน การควบคุมการใช้สารเคมีทั้งเรื่องของเทคนิคและวิธีการ โดยโรงเรือนนี้เน้นใช้ปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงและต้องการอากาศเย็น เพราะสามารถคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่ให้ร้อนเกินได้ และได้ผลตอบแทนที่คุมค่าต่อการลงทุนทำโรงเรือน เช่น ปลูกพืชนอกฤดูอย่างสตรอว์เบอร์รี่ ทิวลิป กล้วยไม้ กุหลาบที่ปลูกเพื่อตัดดอกขาย (กุหลาบตัดดอก) ผักสลัด และพืชสมุนไพรสำหรับผลิตยา"
"ผลผลิตที่ได้จากโรงเรือนอัจฉริยะนี้จะมีปริมาณและคุณภาพที่มากกว่าการปลูกด้วยโรงเรือนทั่วไป เพราะสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ยกตัวอย่างเช่นกุหลาบที่มักจะปลูกในช่วงปลายฝนต้นหนาว คือประมาณเดือนพฤศจิกายน และให้ผลผลิตในช่วงหน้าหนาวและยาวไปถึงช่วงปลายกุมภาพันธ์ โดยจะไม่นิยมปลูกในช่วงหน้าฝนเพราะปัญหาโรคราน้ำค้าง โรงเรือนแห่งนี้จึงตอบโจทย์ตลาดที่ต้องการกุหลาบตลอดปีได้" นายรัฐไกรระบุ
เมื่อเกษตรกรต้องการปลูกพืชชนิดใหม่ในโรงเรือนอัจฉริยะนี้ก็ต้องศึกษาก่อนว่า พืชที่จะนำมาปลูกนั้นต้องการแสง อุณหภูมิและความชื้นเท่าใด โดยที่จะคงโครงสร้างเดิมของตัวโรงเรือนไว้และปรับเปลี่ยนระบบภายในตามชนิดของพืช หากเป็นพืชที่มีความต้องการด้านสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกันก็สามารถนำเข้ามาปลูกต่อได้เลย เช่น ปลูกกล้วยไม้ต่อจากกุหลาบ แต่ถ้าเป็นพืชที่ต้องการแสงเยอะอย่างผักสลัดก็ต้องมีการรื้อสแลนออก
"ก่อนหน้าที่จะพัฒนาโรงเรือนอัจฉริยะนี้ เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องควบคุมคุณภาพของผลผลิตไม่ได้ เรื่องราน้ำค้างในกุหลาบทำให้ผลผลิตตกต่ำ ดอกมีปัญหาแคระแกร็นและไม่สมบูรณ์ มีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อที่นำไปสูดดม หลังจากที่มีโรงเรือนก็ได้มีการชูเรื่องดอกไม้ปลอดภัยดมได้ ใบสามารถเด็ดไปทอดเป็นขนมขบเคี้ยวได้ ส่วนตัวของโรงเรือนก็ยังมีจุดอ่อนในเรื่องของไฟฟ้าที่จ่ายให้แก่โรงเรือน เพราะถ้าหากไฟดับภายในโรงเรือนจะกลายสภาพเป็นเรือนกระจก ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งระบบสำรองไฟควบคู่ด้วย"
ตอนนี้ทีมวิจัยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนให้แก่บริษัทเอกชนที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และมีทำ Open source ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนหรือเกษตรกรสามารถเอาแบบของโรงเรือนนี้ไปสร้างได้ และยังให้คำปรึกษาในเรื่องของเทคโนโลยีตัวควบคุมระบบภายในโรงเรือนและวัสดุโครงสร้างที่จะนำมาทำเป็นโครงของโรงเรือน
นายรัฐไกรเผยอีกว่า หากชาวบ้านหรือเกษตกรจ้างเอกชนมาสร้างโรงเรือนรวมทั้งติดตั้งระบบภายใน ราคาจะตกอยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านบาท ในระยะต่อไปที่จะมีการปรับปรุงในระยะที่สองคือเรื่องระบบควบคุมสำหรับพืชตัวอื่นๆและเรื่องของการจดจำรูปแบบการควบคุมสภาพแวดล้อมของพืชแต่ละชนิดให้สามารถกระตุ้นการออกดอกออกผลได้

Manager online  10.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร