Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สกว. วางแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานล้ำค่าของชาติที่ผ่านกาลเวลามานับร้อยปี  

          แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานล้ำค่าของชาติจะอาศัยเพียงการบูรณปฏิสังขรณ์เชิงศิลปกรรมอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะโครงสร้างที่ผ่านกาลเวลามานับร้อยปีอีกทั้งปัจจัยแวดล้อมต่างๆ หากละเลยการสำรวจตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอย่อมนำมาซึ่งความเสียหายโดยภาพรวม เพื่อการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและให้เกิดการความร่วมมือแบบบูรณาการ

          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยชุดโครงการ “อนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม” โดยมีคณะวิจัยมาจากส่วนหนึ่งของชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกว. และผู้บริหาร-เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรร่วมให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลในการทำวิจัย พร้อมกันนี้ได้จัดสื่อมวลชนสัญจร “ตามรอยบุพเพสันนิวาสด้วยงานวิจัย สกว.” ที่พระนครศรีอยุธยาเมืองมรดกโลก เมื่อเร็วๆ นี้
  เบื้องต้นคณะวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้สำรวจโบราณสถานและสามารถสรุปได้ว่าสาเหตุของความเสียหายเกิดจากคุณภาพของวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง อายุของโครงสร้าง ขาดการบำรุงรักษา และการเสื่อมสภาพ รวมถึงสภาพทางภูมิประเทศและสภาพของดิน ส่วนโบราณสถานที่ยังมั่นคงอยู่นั้นเกิดจากการบำรุงรักษาหรือดำเนินการป้องกันไว้ก่อนหน้า ขณะที่อุปสรรคในการฟื้นฟูโบราณสถาน ได้แก่ ขาดแคลนบุคลากร ขาดการเก็บข้อมูลด้านสถาปัตยกรรม/วิศวกรรม รวมถึงงบประมาณและเทคโนโลยี

       องค์ความรู้สมัยใหม่มีประโยชน์ต่อการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานอย่างมาก อย่างอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาต้องอาศัยองค์ความรู้จากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กรมศิลปากรไม่มี ซึ่งการซ่อมแซมโบราณสถานนั้นมีงานวิจัยเพิ่มในเรื่องชั้นดิน ความชื้น เน้นเรื่องที่น่าสนใจ และต้องทำต่อเนื่อง
  ระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา คณะวิจัยได้ลงพื้นที่ทำงานอย่างแข็งขัน รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ​และ ผศ.ดร.ชัยณรงค์ อธิสกุล ​ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลเชิงวิศวกรรมของวัสดุและสภาพโบราณสถานว่า คณะทำงานได้ทำการเก็บข้อมูลคุณสมบัติวัสดุสภาพปัจจุบัน ส่วนวัสดุทดสอบอย่างอัฐกับปูนก่อโบราณ การรับน้ำหนัก การเกิดกรด เกลือ มีการเก็บข้อมูลจากหลายๆ วัดว่าแต่ละที่ใช้วัสดุอะไรบ้าง โดยใช้เลเซอร์สแกนสภาพปัจจุบันไว้เพื่อติดตามสภาพในอนาคต ทั้งหมดนี้รวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ได้
   ด้าน รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม  หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ อธิบายถึงการใช้ความรู้ตามหลักวิศวกรรมมาใช้อนุรักษ์โบราณสถานได้วางแนวทางการทำงานไว้ 4 ด้าน เริ่มจากโครงการเก็บรูปทรงโบราณสถานเพื่อจะได้ทราบว่ามีการทรุดตัวอย่างไร รวมถึงคุณสมบัติวัสดุ อีกทั้งการทดสอบโดยการไม่ทำลาย โครงการถัดมาคือการศึกษาในเรื่องของการทำให้เทคนิคในการสร้างแบบจำลองมีความง่าย ด้วยการถ่ายภาพแล้วขึ้นภาพเป็นแบบจำลองสามมิติ แล้วนำสิ่งนี้ไปสร้างแบบจำลองสำหรับการวิเคราะห์โครงสร้าง จากนั้นข้อมูลที่ได้จากสองโครงการนี้จะนำไปสู่โครงการที่สามคือการประเมินว่าแรงที่กระทำกับโบราณสถานนั้นทำให้เกิดผลกระทบอย่างไรแล้วหาทางซ่อมแซม และโครงการสุดท้ายเป็นเรื่องของการใช้เทคนิคการสำรวจใต้ดิน โดยใช้เครื่องมือทางด้านจีโอฟิสิกส์สำรวจดูว่าใต้ดินนั้นมีวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างหรือไม่

       “ผลที่ได้จากการศึกษา เราได้ประยุกต์เข้ากับสถานที่หลายๆ แห่ง เช่น วัดใหญ่ชัยมงคล วัดไชยวัฒนาราม วัดอรุณราชวรารามฯ เป็นต้น ได้ข้อมูลรูปทรงอาคารไว้ทั้งหมดจนทราบว่าเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลเอียงไปแล้ว 15 องศา เอียงไปทางไหน แล้วข้อมูลนี้ก็จะช่วยในการตัดสินใจว่าอีก 5 ปีข้างหน้าเจดีย์จะเอียงมากขึ้นมั้ย ถ้าเอียงจะทำอย่างไรต่อ เรามีแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างว่าขณะนี้โครงสร้างปลอดถภัยมั่นคง สมมุติเอียงอีก 1 องศาจะเกิดอะไรขึ้น ก็มีแบบจำลองช่วยในการตัดสินใจ รวมทั้งข้อมูลของวัสดุสมัยนั้นใช้อิฐและปูนก่อประเภทไหน มีองค์ประกอบทางเคมีอะไรบ้าง ถ้าจะบูรณะโดยใช้องค์ประกอบแบบโบราณจะทำอย่างไร” ผู้เชี่ยวชาญ กล่าว
 ทั้งหมดนี้เป็นการหยิบตัวอย่างการศึกษามาใช้ โดยพยายามพัฒนาเป็นกระบวนการที่ทางกรมศิลปากรสามารถเข้าใจหลักสากลหรือทางวิศวกรรมที่จะช่วยในทำงานในอนาคต อย่างการประยุกต์ใช้การสำรวจธรณีฟิสิกส์ คณะทำงานของ ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ จาก ม.เกษตรศาสตร์ ได้ลากเครื่องมือไปในหลายๆ ส่วนของวัดไชยวัฒนาราม พบความไม่ปกติของโครงสร้างใต้ดินอยู่บ้าง ซึ่งอาจจะมีแนวกำแพง หรือร่องบางอย่างซ่อนอยู่ ส่วนนี้จะมีการให้ข้อมูลแก่กรมศิลปากรเพื่อการขุดสำรวจต่อไป

       ประเด็นสำคัญของการวิจัย คือการเก็บข้อมูลเบื้องต้นว่ารูปทรงโบราณสถานมีรอบแตกร้าว หรือเกิดการเอียงเพิ่มหรือไม่ ซึ่งอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญคือการใช้โดรนบินโดยรอบเพื่อสร้างแบบจำลองสามิติ ในอนาคตอีก 2-3 ปี เมื่อมีการบินสำรวจอีกครั้งสภาพจะเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเริ่มสำรวจตอนนี้ก็ยังไม่สาย อย่างน้อยการทำงานที่ผ่านมาถือว่าได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก
  “ผมคิดเสมอว่างานวิจัยถ้ายึดติดอยู่กับนักวิจัยมักจะไม่ยั่งยืน จึงพยายามทำให้สิ่งที่เราวิจัยได้ส่งต่อไปยังผู้ที่จะเอาไปใช้ได้ เราจะเกาะติดกรมศิลป์ไม่ห่าง มีการสอบถามอยู่เรื่อยๆ ว่ามีปัญหาที่โบราณสถานไหนบ้าง มีโจทย์ที่วัดไหนเราจะไปที่วัดนั้น มีการพูดคุยกันอยู่ตลอด อยากได้เทคนิคอะไรมาสำรวจหรือบูรณะ บางเรื่องเป็นงานวิจัยผู้ปฏิบัติอาจจะทำไม่ได้ เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปฏิบัติทำได้ อย่างงานของ ดร.กฤษฎา ไชยสาร ที่ขึ้นโดรนสำรวจ เราอยากให้กดปุ่มสองปุ่มแล้วขึ้นรูปเป็นสามมิติเลย จะได้ไม่ยุ่งยาก แล้วส่งมอบให้กรมศิลป์ต่อไปเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ไม่ใช่ติดอยู่ที่เรา”  รศ.ดร.นคร กล่าวทิ้งท้าย

 

Komchadluek online 10.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร